14 เรื่องกระดูกที่คุณอาจยังไม่เคยรู้

Table of Contents

1. ร่างกายคนเรามีกระดูกทั้งหมดกี่ชิ้น

ในวัยแรกเกิด คนเรามีกระดูกถึง 300 ชิ้น แต่เมื่อโตขึ้นบางชิ้นจะเชื่อมต่อกันเป็นชิ้นใหญ่จนเหลือเพียง 206 ชิ้น ซึ่งกระดูกประกอบไปด้วยแคลเซียมกับฟอสฟอรัสเสียเป็นส่วนใหญ่

เราจึงควรบำรุงกระดูกด้วยอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์ทำจากนม อาหารจำพวกผักบางชนิด เช่น บรอกโคลี ใบคะน้า ใบตำลึง และผักกระเฉด

ควบคู่กับการออกกำลังกายกล้ามเนื้อส่วนที่แบกรับน้ำหนักแกนกระดูกด้วยการเดิน วิ่ง หรือยืนยกน้ำหนักเบาๆ เป็นต้น

2. กระดูกส่วนไหนมักหักง่ายที่สุด

อุบัติเหตุอันดับหนึ่งในวัยเด็กที่ทำกระดูกหัก ได้แก่ กระดูกข้อศอก และกระดูกปลายแขน

ส่วนวัยผู้ใหญ่มักเกิดบ่อยกับกระดูกไหปลาร้า กระดูกข้อมือ กระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง

สำหรับผู้สูงอายุซึ่งมีภาวะโรคกระดูกพรุน จะพบว่ากระดูกสะโพก และกระดูกสันหลัง มีโอกาสหักยุบได้บ่อยที่สุด

หากส่วนสูงลดลงมากกว่า 3 เซนติเมตร ถือเป็นสัญญาณว่าคุณอาจกำลังสูญเสียมวลกระดูกสันหลังเนื่องจากโรคกระดูกพรุน

3. กระดูกหักจะหายเป็นปกติภายในกี่วัน

เนื้อกระดูกมีลักษณะคล้ายๆ ฟองน้ำทำให้เลือดสามารถไหลเวียน ลำเลียงเซลล์และแคลเซียมมาเสริมสร้างเนื้อกระดูกใหม่ขึ้นมา เพื่อเชื่อมต่อกระดูกส่วนที่หักสมานกลับมาแข็งแรงตามเดิม

ซึ่งระยะเวลาซ่อมแซมนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของกระดูก เช่น กระดูกนิ้วมือ นิ้วเท้า ข้อมือ ข้อเท้า ใช้เวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ กระดูกแขนใช้เวลา 8-12 สัปดาห์ ส่วนกระดูกต้นขา และกระดูกหน้าแข้ง ซึ่งเป็นกระดูกขนาดใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 16-24 สัปดาห์ กว่าจะหายสนิท

4. วัยรุ่นจะหยุดสูงเมื่อไหร่

เด็กผู้หญิงที่อายุ 13-15 ปี หลังจากเริ่มมีประจำเดือน และเด็กผู้ชายอายุ 15-18 ปี

5. กระดูกที่สั้นที่สุดและยาวที่สุดอยู่ที่ส่วนไหน

กระดูกโกลน (Stapes) ในหูชั้นกลาง มีขนาดสั้นที่สุด เพียง 3 มิลลิเมตร

กระดูกต้นขา มีความยาวมากที่สุด โดยเฉลี่ย 48 เซนติเมตร

6. อวัยวะส่วนไหนประกอบไปด้วยกระดูกมากชิ้นที่สุด

มือประกอบไปด้วยกระดูกถึงข้างละ 27 ชิ้น มีข้อต่อในมือถึง 27 ข้อ กล้ามเนื้อ 34 มัด และเส้นเอ็นเล็กๆ อีกกว่า 100 เส้น

7. กระดูกที่แข็งแกร่งที่สุดในร่างกายคือส่วนใด

กระดูกต้นขา (Femur) นอกจากเป็นกระดูกที่ใหญ่และหนาที่สุดแล้ว ยังเป็นกระดูกที่มีความแข็งแรงที่สุดในร่างกายมนุษย์อีกด้วย กระดูกต้นขาสามารถรับน้ำหนักได้มากถึง 30 เท่าของน้ำหนักตัว

8. กระดูกชิ้นไหนไม่มีข้อต่อเชื่อมกับกระดูกชิ้นอื่นในร่างกายเลย

กระดูกไฮออยด์ (Hyoid bone) เป็นกระดูกที่อยู่ในคอ มีรูปร่างคล้ายเกือกม้า ไว้ใช้ค้ำยันโคนลิ้นที่ช่วยในการออกเสียง ส่วนกะโหลกศีรษะมีข้อต่อแต่ขยับไม่ได้

9. กระดูกของผู้หญิงแตกต่างจากผู้ชายเป็นพิเศษที่ส่วนไหน

กระดูกเชิงกราน เนื่องจากจะมีรอยต่อที่สามารถเคลื่อนได้ อุ้งเชิงกรานจะผายออกกว้างตามขนาดท้องยามตั้งครรภ์เพื่อปกป้องและอุ้มท้องทารก เมื่อแม่คลอดบุตรกระดูกก็จะเคลื่อนกลับสู่สรีระเดิม

10. ซี่โครงมนุษย์มีทั้งหมดกี่คู่

ส่วนมากจะมี 12 คู่ แต่มีคนเพียง 1% ที่มีซี่โครง 13 คู่

11. กระดูกใหม่ไฉไลกว่าเก่าในทุกๆ กี่ปี

ทุกๆ 7 ปี ร่างกายจะค่อยๆ เสริมสร้างกระดูกใหม่ที่แข็งแรง และยืดหยุ่นกว่าขึ้นมาทดแทนกระดูกดั้งเดิมด้วยโปรตีน และแร่ธาตุที่สะสมขึ้นใหม่

12. หากอยู่ในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงบนอวกาศจะทำให้เราสูงขึ้นกี่เปอร์เซ็นต์

สูงขึ้น 3%

13. กระดูกกระตุ้นการสร้างฮอร์โมนอะไรที่ส่งผลต่ออารมณ์ได้

กระดูกมีส่วนเพิ่มระดับฮอร์โมนความเครียดจากสัญชาตญาณ ‘สู้’ หรือ ‘หนี’ เมื่อตกอยู่ในภาวะเสี่ยงอันตราย

14. มนุษย์ต่อสู้กับโรคกระดูกงอกมาตั้งแต่ยุคหินจริงหรือไม่

ในปี ค.ศ. 2013 นักโบราณคดีค้นพบร่างดึกดำบรรพ์ของมนุษย์นีแอนเดอร์ธัล ที่เท้าเป็นโรคกระดูกงอก นั่นก็แปลว่าโรคนี้มีมาตั้งแต่ 120,000-130,000 ปีก่อนแล้ว

SOURCES:

Six fun facts about the human skeleton

https://theconversation.com/six-fun-facts-about-the-human-skeleton-123711

11 Surprising Facts About the Skeletal System

https://www.livescience.com/44137-skeletal-system-surprising-facts.html

13 Strange and Interesting Facts About Your Bones

Plus ways to keep bones healthy and strong

https://health.clevelandclinic.org/13-strange-interesting-facts-bones-infographic/

15 Fun Facts About the Skeletal System

https://www.healthline.com/health/fun-facts-about-the-skeletal-system#5.-The-smallest-bone-in-the-body-is-in-your-ear

Top 25 Fun Facts About The Skeletal System

https://www.bioexplorer.net/skeletal-system-fun-facts.html/

ผู้เรียบเรียง: พิมพ์สุดา วรพงศ์พิเชษฐ

พฤหัส, 01 ก.ค. 2021
แท็ก
กระดูก
ข้อ
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
บทความอื่นๆ
สะบักจมคืออะไร รู้สาเหตุ รักษาสะบักจมให้ตรงจุด หยุดอาการปวดเรื้อรัง
สะบักจมคืออะไร รู้สาเหตุ รักษาสะบักจมให้ตรงจุด หยุดอาการปวดเรื้อรัง
อาการปวดสะบักร้าวลงแขน เกิดขึ้นได้อย่างไร ปล่อยไว้อันตรายหรือไม่
อาการปวดสะบักร้าวลงแขน เกิดขึ้นได้อย่างไร ปล่อยไว้อันตรายหรือไม่
กระดูกสันหลังยุบ จากโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
กระดูกสันหลังยุบ จากโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
กระดูกสันหลังเคลื่อนมีวิธีรักษาอย่างไรบ้างให้หายดี
top line line