ทำไมพอแก่ตัวแล้วเราถึงเตี้ยลง? พร้อม 3 วิธีการป้องกัน

รู้ไหมว่า!? แค่คุณแก่ขึ้นจนถึงวัย 40 ปี ความสูงก็มักจะลดลง โดยเฉลี่ย 1 เซนติเมตร ในทุกๆ 10 ปี เนื่องจากร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงของกระดูก กล้ามเนื้อ และข้อต่อส่วนต่างๆ อยู่ตลอดเวลา และเมื่อถึงวัย 70 ปี ความสูงจะลดลงรวดเร็วมาก ซึ่งสาเหตุสำคัญมักเกิดจากการยุบตัวของกระดูกสันหลัง อันเนื่องมาจากภาวะกระดูกพรุน

ในบางรายอาจไม่มีอาการปวดหรือผิดสังเกตแต่อย่างใด แม้ว่ากระดูกจะยุบตัวลงแล้วก็ตาม ถ้าเป็นขั้นร้ายแรงก็อาจมีอาการปวดบริเวณจุดที่กระดูกยุบตัวได้ ซึ่งอาจไปกดทับเส้นประสาท ซึ่งส่งผลให้มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจนถึงขั้นอัมพฤตได้

ดังนั้น อย่าปล่อยให้สายเกินไป หากพบว่าตนเองเตี้ยลงมากกว่า 4 เซนติเมตร เมื่อเทียบกับตอนยังหนุ่มสาว หรือลดลงเรื่อยๆ ทุกปี ก็ควรจะไปพบแพทย์เพื่อตรวจดูว่ามีปัญหากระดูกพรุนหรือไม่

คุณหมอ KDMS ยังฝาก 3 วิธีป้องกันภาวะกระดูกพรุนไว้เนิ่นๆ ตั้งแต่ยังหนุ่มสาว ดังต่อไปนี้ค่ะ

1. ดื่มนมและผลิตภัณฑ์จากนมเป็นประจำ สำหรับผู้สูงอายุแนะนำว่าให้เลือกดื่มนมพร่องมันเนย และรับประทานอาหารที่มีวิตามินดีสูงเสริมบ้าง เช่น ปลาทะเล และไข่แดง เป็นต้น

2.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  เช่น การเดิน วิ่ง คาดิโอ แอโรบิก และกีฬาประเภทต่างๆ ที่ได้ขยับตัวและออกแรงส่งผ่านน้ำหนักไปยังแกนกระดูก

3. ฝึกการทรงตัว โดยเลือกกิจกรรม ท่าออกกำลังกาย หรือกีฬาประเภทที่ได้เคลื่อนไหวถ่ายโอนน้ำหนักตัว เช่น เต้น ลีลาศ โยคะ พิลาทิส ไอซ์สเก็ต เซิร์ฟสเก็ต และเซิร์ฟบอร์ด เป็นต้น เพื่อลดความเสี่ยงกระดูกเปราะและแตกหักง่ายเมื่อสูงวัย

ใครเข้าสู่วัย 30 ปี ก็ควรเริ่มทะนุถนอมและบำรุงกระดูกของคุณเอาไว้ให้ดี ดีกว่ามารู้ตัวอีกทีก็ป่วยเป็นโรคกระดูกพรุน ที่แค่คุณสะดุดหรือลื่นล้มกระดูกกระเดี้ยวก็หักได้ง่ายๆ

ผู้เรียบเรียง: พิมพ์สุดา วรพงศ์พิเชษฐ

ศุกร์, 09 ก.ค. 2021
แท็ก
ความสูง
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
บทความอื่นๆ
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ประโยชน์ และความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ประโยชน์ และความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
อันตรายหรือไม่ ! ขยับท่าไหนก็มีเสียงกระดูกลั่น
ทำไมต้องกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดกระดูกและข้อ ?
เคลื่อนไหวลำบาก ออกกำลังได้จำกัด ให้ “ธาราบำบัด” ช่วยฟื้นฟู
top line

Login