ปวดหัวไหล่เรื้อรัง จากโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่ รู้ทันและดูแลอย่างถูกวิธี
- ทำความรู้จักกับโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่
- สาเหตุของการปวดไหล่เรื้อรัง
- จากปวดหัวไหล่เรื้อรังสู่โรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นไหล่
- วิธีรักษาอาการปวดไหล่ จากโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นไหล่
โรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่หรือ Calcific Tendinitis เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เกิดจากการสะสมของผลึกแคลเซียมในเส้นเอ็นรอบข้อไหล่ อาจส่งผลให้เกิดอาการปวดและการเคลื่อนไหวที่ติดขัดและอาจมีอาการปวดจนรบกวนชีวิตประจำวันและการนอนหลับของผู้ป่วย
โดยหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและถูกวิธี อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงขึ้นได้ การทำความเข้าใจสาเหตุ อาการ และแนวทางการรักษาจึงเป็นสิ่งสำคัญในการจัดการกับโรคนี้อย่างมีประสิทธิภาพ
บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการปวดไหล่ที่เกิดจากโรคดังกล่าวให้มากขึ้น ว่าเกิดได้จากสาเหตุอะไรบ้าง มีการวินิจฉัย และแนวทางการรักษาอย่างไรไปดูกัน
Table of Contents
Toggleสาเหตุของการปวดไหล่เรื้อรัง สู่ภาวะปวดไหล่จากโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่
การเกิดแคลเซียมเกาะเส้นเอ็น เกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน โดยหนึ่งในสาเหตุหลักคือการเปลี่ยนแปลงของเส้นเอ็นที่เกิดขึ้นตามอายุหรือจากการใช้งานซ้ำๆ ทำให้เซลล์ในเส้นเอ็นบางส่วนเสื่อมลง และมีการสะสมของแคลเซียมในบริเวณนั้น บางครั้งเกิดจากการไหลเวียนเลือดที่ลดลงในตำแหน่งที่เส้นเอ็นยึดเกาะกับกระดูก ทำให้ร่างกายเกิดการตอบสนองผิดปกติและสะสมแคลเซียมขึ้นมา แต่เมื่อร่างกายพยายามสลายแคลเซียมเหล่านี้ออก ก็อาจทำให้เกิดอาการปวดเฉียบพลันขึ้นมาได้ในช่วงนั้น
อาการที่พบบ่อยของโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นไหล่
สำหรับอาการที่มักจะพบบ่อยเกี่ยวกับโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นไหล่ มีดังต่อไปนี้
1. ปวดหัวไหล่
อาการปวดอาจเริ่มจากเล็กน้อยแล้วค่อยๆ รุนแรงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหวหรือยกแขน และอาการปวดมักมีความต่อเนื่องจนทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบายตัวตลอดวัน
2. การเคลื่อนไหวจำกัด
เมื่อลองยกแขนขึ้นหรือหมุนหัวไหล่อาจทำได้ยาก โดยเฉพาะในท่าที่ต้องยกแขนสูง เช่น การแต่งตัวหรือการยกของที่อยู่เหนือศีรษะ
3. ปวดหรือเจ็บไหล่ตอนกลางคืน
รู้สึกปวดโดยเฉพาะเมื่อนอนตะแคงข้างที่มีอาการ ผู้ป่วยอาจต้องเปลี่ยนท่านอนบ่อยครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงความเจ็บปวด
4. บวมและอักเสบ
อาจพบในกรณีที่มีการอักเสบรุนแรง เช่น การสัมผัสบริเวณหัวไหล่แล้วรู้สึกเจ็บหรือมีอาการร้อนร่วมด้วย
5. ปวดเฉียบพลัน
ในบางราย อาการปวดอาจเกิดขึ้นอย่างฉับพลัน ซึ่งเกิดจากการอักเสบกจากการสลายตัวของแคลเซียม
การวินิจฉัยโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นไหล่
หากผู้ป่วยมีอาการปวดหัวไหล่รุนแรง หรือมีอาการเรื้อรังที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน ควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยอย่างถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการประเมินอาการและหาสาเหตุ เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละราย ซึ่งขั้นตอนในการวินิจฉัยโดยทั่วไปประกอบด้วย
1. ซักประวัติและตรวจร่างกาย
แพทย์จะสอบถามข้อมูลเบื้องต้น เช่น ลักษณะของอาการปวด ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการ กิจกรรมที่ทำก่อนเริ่มเจ็บ รวมถึงตรวจคลำบริเวณหัวไหล่เพื่อดูการเคลื่อนไหว ความเจ็บ และความผิดปกติอื่นๆ ที่อาจเกี่ยวข้อง
2. การเอกซเรย์ (X-ray)
เป็นการตรวจเพิ่มเติมที่ช่วยให้เห็นภาพรวมของข้อไหล่ รวมถึงการตรวจหาหินปูนที่เกาะอยู่ในเส้นเอ็นหรือรอบข้อ หากมีหินปูนสะสม จะสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนบนฟิล์ม X-ray อีกทั้งยังช่วยประเมินว่ามีกระดูกหักหรือความผิดปกติอื่นร่วมด้วยหรือไม่
3. การตรวจ MRI (Magnetic Resonance Imaging)
ในกรณีที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม แพทย์อาจพิจารณาใช้ MRI ซึ่งเป็นการตรวจโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยให้เห็นรายละเอียดขนาดก้อนและตำแหน่องของแคลเซียม กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น และข้อไหล่ได้ชัดเจนขึ้น โดยเฉพาะถ้าสงสัยว่ามีการฉีกขาดของเส้นเอ็น หรือมีภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่ไม่สามารถเห็นได้จากการเอกซเรย์
วิธีรักษาอาการปวดไหล่จากโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็น (Calcific Tendinitis)
การรักษาโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็น สามารถแบ่งออกเป็น 2 แนวทางหลัก คือ การรักษาแบบไม่ผ่าตัด และ การรักษาแบบผ่าตัด ซึ่งแพทย์จะพิจารณาวิธีที่เหมาะสมตามอาการ ความรุนแรง และสภาพร่างกายของผู้ป่วยแต่ละราย
การรักษาแบบไม่ผ่าตัด
- การใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและอักเสบ
ในระยะที่มีอาการปวด แพทย์มักให้ยาลดปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) หรือยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยลดอาการปวดตึงและอักเสบในเส้นเอ็น นอกจากนี้อาจใช้ยานวดร่วมด้วยเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อ และลดอาการตึงรอบหัวไหล่ - การทำกายภาพบำบัด
เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยให้ข้อไหล่กลับมาเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะในระยะที่อาการเริ่มลดลง การทำกายภาพ เช่น การใช้คลื่นอัลตราซาวด์ การดัดข้อต่อเบาๆ หรือการออกกำลังเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ - การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Extracorporeal Shock Wave Therapy: ECSW)
เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายดูดซึมหรือสลายหินปูนที่สะสมอยู่ โดยใช้คลื่นกระแทกพลังงานสูงยิงเข้าไปยังบริเวณที่มีหินปูนเกาะในเส้นเอ็น ในบางรายสามารถทำให้หินปูนแตกออกและถูกดูดซึมกลับได้ตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ตอบสนองต่อการใช้ยาและกายภาพบำบัด และยังไม่ต้องการผ่าตัด ทั้งนี้ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันในแต่ละราย
การรักษาแบบผ่าตัด
หากรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วยังไม่ดีขึ้น หรือพบว่าหินปูนมีขนาดใหญ่ กดเบียดหรือทำลายเส้นเอ็น แพทย์อาจแนะนำให้รักษาด้วยการผ่าตัด
การผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery)
เป็นการผ่าตัดแผลเล็กโดยใช้กล้องเข้าไปในข้อไหล่ เพื่อล้างเอาหินปูนที่สะสมออกอย่างแม่นยำ พร้อมทั้งตรวจดูความเสียหายของเส้นเอ็นรอบๆ หากพบว่ามีการฉีกขาด ก็สามารถซ่อมแซมไปพร้อมกันได้ด้วย ข้อดีของการผ่าตัดแบบนี้คือแผลเล็ก ฟื้นตัวเร็ว และลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อน
โรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นไหล่ รักษาที่ kdms Hospital ดีอย่างไร
หากรู้สึกว่ามีอาการปวดหัวไหล่จากการสะสมของผลึกแคลเซียม (Calcific Tendinitis) การเข้ารับการดูแลจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรงพยาบาลที่มีความพร้อม ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ซึ่ง kdms Hospital เป็นหนึ่งในทางเลือกที่โดดเด่นด้วยเหตุผลดังนี้
- ดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางด้านข้อและกระดูก
ทีมแพทย์ของ kdms มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเฉพาะในด้านโรคข้อ กล้ามเนื้อ และรูมาติก รวมถึงมีประสบการณ์ในการรักษาอาการปวดไหล่จากหินปูนโดยตรง - วินิจฉัยแม่นยำด้วยเทคโนโลยีทันสมัย
ที่นี่มีการวินิจฉัยด้วยระบบ X-ray และ MRI ที่ช่วยให้เห็นรายละเอียดของหินปูนและความเสียหายของเส้นเอ็นได้อย่างชัดเจน เพื่อให้วางแผนการรักษาได้ตรงจุด - มีทางเลือกการรักษาที่หลากหลาย ครอบคลุม
ไม่ว่าจะเป็นการใช้ยา กายภาพบำบัด การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (ECSW) หรือแม้แต่การผ่าตัดส่องกล้อง ทีมแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับแต่ละรายอย่างรอบคอบ - การดูแลอย่างต่อเนื่องและใกล้ชิด
ผู้ป่วยจะได้รับการติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ ปรับแผนการรักษาให้เหมาะกับการฟื้นตัวในแต่ละช่วง พร้อมให้คำแนะนำในการกลับไปใช้งานหัวไหล่อย่างมั่นใจ - การดูแลแบบองค์รวม (Multidisciplinary Care)
มีการประสานงานระหว่างแพทย์เฉพาะทาง เช่น ศัลยแพทย์กระดูก แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และแพทย์รูมาติสซึ่ม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรอบด้าน ทั้งเรื่องการรักษาและการฟื้นฟูสมรรถภาพ
สรุป
หากคุณมีอาการปวดไหล่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน จนเริ่มกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน อย่าละเลย เพราะอาจเป็นสัญญาณของ โรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่ (Calcific Tendinitis) ซึ่งเกิดจากการสะสมของแคลเซียมในเส้นเอ็นรอบหัวไหล่ โดยมักเกี่ยวข้องกับการเสื่อมของเส้นเอ็นหรือการอักเสบเรื้อรังที่จุดเกาะของกล้ามเนื้อ
การรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ตั้งแต่การใช้ยาและกายภาพบำบัด ไปจนถึงการรักษาด้วยคลื่นกระแทก หรือในบางกรณีอาจต้องผ่าตัดส่องกล้อง ดังนั้น การพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ การดูแลหัวไหล่อย่างเหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันอาการเรื้อรังได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยทั่วไปโรคนี้ไม่อันตรายถึงชีวิต แต่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้มาก หากปล่อยทิ้งไว้นานโดยไม่รักษา อาจทำให้ปวดเรื้อรัง ยกแขนลำบาก หรือเสี่ยงเกิดภาวะข้อไหล่ติด (frozen shoulder) ได้ การพบแพทย์ตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้รักษาได้ตรงจุดและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้
ในบางกรณีโรคนี้สามารถหายเองได้ โดยเฉพาะเมื่อร่างกายค่อยๆ ดูดซึมผลึกแคลเซียมกลับไป อย่างไรก็ตาม ระหว่างกระบวนการนี้ ผู้ป่วยมักมีอาการปวดมากจนรบกวนการใช้ชีวิต และอาจต้องได้รับการรักษาเพื่อบรรเทาอาการ หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีผลึกขนาดใหญ่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสม
บทความโดย นพ.พงษ์เทพ ณ นคร ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่
ปรึกษาอาการก่อนนัดพบแพทย์