รู้ยัง? เมื่อกระดูกข้อมือหัก ควรรักษากับ “หมอเฉพาะทางมือ”

หากพูดถึงเรื่องกระดูกหักแล้ว กระดูกข้อมือหักถือว่าพบได้มากที่สุด นั่นเพราะเราใช้มือปกป้องตัวเองเมื่อพลัดตกหกล้ม จากการเล่นกีฬา หรืออุบัติเหตุต่างๆ ก็ได้ ทั้งนี้ ในความรู้สึกของคนส่วนใหญ่อาจมองว่าข้อมือหักเป็นเรื่องที่ไม่ร้ายแรงมากนัก เมื่อเทียบกับกระดูกส่วนอื่นๆ หัก แต่ในความเป็นจริงกระดูกข้อมือก็ถือเป็นอวัยวะสำคัญ ซึ่งควรต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างดี เพราะเราใช้มือและข้อมือในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันตลอดเวลา การรักษาให้ดีที่สุดจึงสำคัญไม่แพ้กับกระดูกส่วนอื่น เพื่อให้มือและข้อมือหายดี และกลับมาเคลื่อนไหวใช้งานได้อย่างปกติเหมือนเดิม

ทำไมการรักษากระดูกข้อมือหักจึงสำคัญมากกว่าที่คิด

กระดูกบริเวณข้อมือคนเรานั้น ประกอบไปด้วยกระดูกชิ้นเล็กๆ หลายชิ้น เส้นเอ็น และข้อต่อที่มาประกอบรวมกัน ซึ่งเมื่อเกิดอุบัติเหตุจนทำให้กระดูกข้อมือหัก แพทย์จะต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการรักษา โดยต้องให้ความสำคัญกับการจัดเรียงกระดูกเล็กๆ ให้กลับเข้าที่ให้ใกล้เคียงปกติมากที่สุด ไม่บิดเบี้ยวผิดรูป เพื่อให้มือของผู้ป่วยกลับมาหายดี เคลื่อนไหวใช้งานได้ปกติตามเดิม แต่หากปล่อยให้กระดูกข้อมือที่หักติดไปอย่างผิดรูป จะทำให้เจ็บเรื้อรัง แรงการใช้มือลดลงกว่าเดิม หรืออาจทำให้ข้อมือเสื่อมได้ ซึ่งการแก้ไขในภายหลังมักทำได้ยาก และผลการรักษาไม่ดีเท่าการรักษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรก

หัวใจสำคัญของการผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหัก

เพื่อให้การรักษากระดูกข้อมือหักมีประสิทธิภาพสูงสุดและผู้ป่วยกลับมาใช้งานมือได้ดีเหมือนปกติ แพทย์จะยึดหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้ต้องดามกระดูกข้อมือให้ตรง จัดเรียงชิ้นกระดูกข้อมือซึ่งมีขนาดเล็กที่แตกให้กลับเข้าที่ได้ใกล้เคียงเดิมให้มากที่สุด

1. ต้องดามกระดูกข้อมือให้ตรง จัดเรียงชิ้นกระดูกข้อมือซึ่งมีขนาดเล็กที่แตกให้กลับเข้าที่ได้ใกล้เคียงเดิมให้มากที่สุด

2. ต้องให้ความสำคัญกับเอ็นและข้อต่อบริเวณข้างเคียงด้วย โดยต้องรักษาซ่อมแซมเอ็นและข้อต่อรอบข้างที่ได้รับบาดเจ็บไปด้วย

3. ต้องตั้งเป้าหมายร่วมกันกับผู้ป่วยในการผ่าตัดรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยกลับไปขยับและใช้มือได้อย่างเป็นปกติรวดเร็วที่สุด ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ก็ด้วยต้องดามกระดูกข้อมือได้อย่างเหมาะสม ควบคู่ไปกับการทำงานร่วมมือกับนักกายภาพบำบัด ในการทำกายภาพหลังการผ่าตัดเพื่อลดบวม ลดอาการเจ็บปวด ให้สามารถกลับมาใช้งานมือได้เร็วขึ้น

ขั้นตอนในการผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหัก

การผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหัก เป็นการผ่าตัดที่ไม่เล็กไม่ใหญ่ ใช้เวลาในการผ่าตัดประมาณ 1 ชั่วโมง โดยผ่าตัดเปิดแผลเล็กๆ บริเวณข้อมือเพื่อทำการจัดเรียงกระดูกที่แตกหักให้เข้ารูปให้ได้มากที่สุด จากนั้นจะใช้แผ่นโลหะบางๆ ในการช่วยพยุงยึดกระดูกเอาไว้ เพื่อให้กระดูกที่แตกมีความแข็งแรง โดยส่วนใหญ่หลังผ่าตัด ผู้ป่วยจะสามารถขยับมือเบาๆ ได้เลยทันที ทั้งนี้ ในผู้ป่วยบางรายอาจมีกรณีที่ต้องรักษาซ่อมแซมเส้นเอ็นร่วมด้วย หรือหากมีการหักที่รุนแรงมากๆ ก็อาจขยับเคลื่อนไหวได้ช้ากว่าปกติ อาจต้องใส่เฝือกเพิ่มเติม แต่ก็สามารถทำกายภาพบำบัด ให้กลับมาหายดีใช้งานมือได้ตามปกติได้ในที่สุด

สรุป

กระดูกข้อมือถือเป็นอวัยวะที่สำคัญไม่แพ้ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ซึ่งเราทุกคนควรใส่ใจในการดูแลรักษา โดยหากเกิดอุบัติเหตุจนทำให้ข้อมือมีอาการบาดเจ็บขึ้น ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยตรวจเช็กดูว่ากระดูกข้อมือหักหรือไม่ เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงที ทั้งนี้ ในปัจจุบัน มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษากระดูกข้อมือโดยเฉพาะ ซึ่งมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผ่าตัดบริเวณนี้จะช่วยดูแลข้อมือของเราให้หายดีและปลอดภัยให้ได้มากที่สุด

จันทร์, 08 พ.ย. 2021
แท็ก
ผ่าตัดมือ
ข้อมือหัก
หมอมือ
กระดูกข้อมือ
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดคลายพังผืดที่กดทับเส้นประสาทที่ข้อมือผ่านการส่องกล้อง แผลเล็ก อยู่ในตำแหน่งข้อมือ ซึ่งไม่ขัดขวางการใช้งานของมือ ทำให้ฟื้นตัวกลับไปใช้งานได้เร็ว...
package 61,500* บาท
package สิ้นสุด 31/12/2024
การผ่าตัดคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือ เพื่อรักษาอาการเจ็บ นิ้วงอเหยียดสะดุดจากโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และเเขน...
package 18,500* บาท
package สิ้นสุด 31/12/2024
บทความอื่นๆ
อาการชาปลายนิ้วมือ สัญญาณอันตรายระบบประสาท ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ
อาการชาปลายนิ้วมือ สัญญาณอันตรายระบบประสาท ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
top line line