การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย (EDX Study)เพื่อดูความผิดปกติของเส้นประสาท หรือกล้ามเนื้อ คืออะไร ?

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการตรวจดูความผิดปกติของเส้นประสาทหรือกล้ามเนื้อ เช่น ผู้มีปัญหาชา หรืออ่อนแรง จากเส้นประสาทส่วนปลายอักเสบ หรือถูกกดทับ รวมถึงผู้ที่มีแนวโน้มเสี่ยงมีปัญหาโรคของกล้ามเนื้อ เช่น กลุ่มโรคกล้ามเนื้ออักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง เป็นต้น

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย คืออะไร ?

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย หรือ Electrodiagnostic (EDX) คือ การตรวจเส้นประสาท และกล้ามเนื้อ ด้วยไฟฟ้าที่ปลอดภัย เพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคที่เกิดในเส้นประสาทหรือในกล้ามเนื้อ โดยการตรวจนั้นจะประกอบไปด้วยการตรวจเส้นประสาทสั่งการและการรับความรู้สึกด้วยไฟฟ้า และการใช้เข็มตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ

การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย มีกี่แบบ ?

1. การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยแบบ Nerve conduction studies เป็นการตรวจโดยการกระตุ้นเส้นประสาทด้วยไฟฟ้าและใช้ Surface electrode บันทึกการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าจากกล้ามเนื้อ (Motor Conduction Studies) และเส้นประสาทส่วนรับความรู้สึก (Sensory Conduction studies)

2. การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยแบบ Needle Electromyography คือ การใช้เข็มที่มีขนาดเล็กเพื่อตรวจวินิจฉัย โดยเลือกกล้ามเนื้อที่ต้องการตรวจโดยใช้เข็มทิ่มผ่านผิวหนังไปยังกล้ามเนื้อ เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงของกระแสไฟฟ้าภายในกล้ามเนื้อ

ประโยชน์ของการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย

  • เพื่อช่วยวินิจฉัยโรคของระบบประสาทส่วนปลาย เช่น ผู้ที่มีอาการมือชา หรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขน และขา
  • เพื่อช่วยบอกตำแหน่งความผิดปกติของเส้นประสาท และชนิดของเส้นประสาทที่มีความผิดปกติ
  • เพื่อตรวจหาตำแหน่ง และความรุนแรงของความผิดปกติในระบบประสาท และกล้ามเนื้อ
  • เพื่อใช้ในการติดตามผลการรักษา และการฟื้นตัวของโรค  เช่น โรคเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 อักเสบ ซึ่งส่งผลให้มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อใบหน้า

เตรียมตัวอย่างไร ? หากอยากตรวจไฟฟ้าวินิจฉัย

ก่อนเข้ารับการตรวจ : ควรติดต่อ หรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับการตรวจ การตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยไม่จำเป็นต้องงดน้ำ หรืองดอาหาร กรณีที่มีโรคประจำตัวแพทย์จะให้คำแนะนำในเรื่องงดทานยาบางชนิดก่อนการตรวจ

ขั้นตอนการตรวจ : จะเริ่มการตรวจร่างกายระบบทั่วไป ระบบเส้นประสาท กำลังกล้ามเนื้อ และการตรวจไฟฟ้าวินิจฉัยโดยใช้เครื่องมือพิเศษ ซึ่งขณะทำการตรวจด้วยไฟฟ้า  โดยใช้เวลาตรวจประมาณ 1-3 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิดและความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น

หลังเข้ารับการตรวจ : สามารถกลับบ้านได้ตามปกติ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล และจะทราบผลการตรวจหลังการตรวจ หากพบผลการตรวจที่มีความเสี่ยง สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรักษาได้

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อ หรือเส้นประสาท

โรคของเส้นประสาทส่วนปลาย (Peripheral Nerve Diseases) โดยระบบประสาทส่วนปลายคือระบบประสาทที่เชื่อมต่อจากสมอง และไขสันหลัง หรือระบบประสาทส่วนกลางไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย

ภาวะรากประสาทถูกกด (Nerve Root Compression) เช่นจากโรคหมอนกระดูกเคลื่อนทับรากประสาท (Herniated disc)

 

อาทิตย์, 01 ส.ค. 2021
แท็ก
กล้ามเนื้อ
ตรวจไฟฟ้า
กายภาพ
เส้นประสาท
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
  อาการปวดที่รบกวนชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อที่ต้องได้รับการดูแล อย่าปล่อยให้อาการเล็กน้อยกลายเป็นเรื่องใหญ่  ...
package เริ่มต้นที่ 1200* บาท
package สิ้นสุด 31/10/2024
บทความอื่นๆ
สลักเพชรจม ปวดสลักเพชร เกิดจากสาเหตุอะไร และรักษาได้อย่างไร
สลักเพชรจม ปวดสลักเพชร เกิดจากสาเหตุอะไร และรักษาได้อย่างไร
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ประโยชน์ และความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
ปวดสะบักหลัง
อาการปวดสะบักหลังคืออะไร มีวิธีแก้อย่างไรบ้าง
อันตรายหรือไม่ ! ขยับท่าไหนก็มีเสียงกระดูกลั่น
top line line