มือชา ปลายนิ้วชา อาการบอกเหตุ และแนวทางการรักษาเส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับ

เวลาที่เราพูดถึงอาการ “มือชา” สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือการที่เส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy) หากนึกไม่ออกให้นึกถึงเวลาที่เรานั่งทับขาตัวเองนานๆ  เส้นประสาทก็จะถูกกดทับไปด้วย ทำให้มีอาการชา หรือเป็นเหน็บขึ้นที่บริเวณปลายขาปลายเท้า 

ซึ่งสาเหตุของมือชาที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับนั้น เกิดจากเส้นประสาทที่เดินทางมาที่มือจำเป็นต้องผ่านช่องแคบๆ ซึ่งบริเวณนี้เองเส้นประสาทมีความเสี่ยงที่จะถูกกดทับหรือโดนเบียดจากเพื่อนที่อยู่ข้างๆ เช่น เอ็น หรือ พังผืด 

โดยการกดทับนั้น เกิดได้จากการที่มีการขยับใช้งานส่วนนั้นซ้ำๆ บ่อยๆ หรืออยู่ในท่าเดิมนานๆ ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้ต่างเป็นกิจกรรมแสนธรรมดาในชีวิตประจำวัน เช่น เขียนหนังสือ ทำงานบ้าน ใช้คอมพิวเตอร์ ทำอาหาร นวดขนมปัง ทำสวน เป็นต้น

ระดับของอาการชามือมีตั้งแต่เล็กน้อย ไม่ได้รบกวนชีวิตเรามากนัก จนไปถึงชามือตลอดเวลา นอกจากอาการชา ยังมักพบว่ามีอาการปวดแปลบๆ หรือปวดตื้อๆ ซึ่งเป็นลักษณะอาการปวดจากเส้นประสาท (neuropathic pain) ร่วมด้วย 

อาการมือชา: กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มควรเฝ้าระวัง

กลุ่มคนที่ใช้งานมือในลักษณะเดิมๆ ซ้ำๆ มีการใช้แรงที่มืออย่างต่อเนื่อง หรืออยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน เช่น

  • กลุ่มแม่บ้านที่ใช้มือในการทำงานบ้านต่างๆ เป็นประจำ
  • กลุ่มคนที่ขับรถทางไกล หรือต้องขับเป็นเวลานาน
  • การเล่นกีฬาบางประเภทที่ต้องใช้มือจับอุปกรณ์ เช่น เทนนิส แบดมินตัน 
  • กลุ่มคนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ ซึ่งอาการมือชานับเป็นหนึ่งในกลุ่มอาการของออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) 

อ่านเพิ่มเติม: ปวดคอ บ่า ไหล่ กายภาพบำบัด และรักษาออฟฟิศซินโดรมอย่างไรเพื่อไม่ให้เรื้อรัง

อาการมือชา

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการมือชา 

มือชาที่พบบ่อยพอจะแบ่งออกตามสาเหตุเป็นสองกลุ่มใหญ่ๆ คือ อาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy) กับ อาการชาที่มีสาเหตุจากโรคทางกายร่วมอื่นๆ 

อาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy)

เกิดจากเส้นประสาทหลักของมือถูกกดทับในตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ทำให้บริเวณที่เส้นประสาทไปเลี้ยงนั้นเกิดอาการชาและปวด กลุ่มนี้สังเกตได้จากอาการชามือมักเป็นที่ด้านใดด้านหนึ่ง สาเหตุเกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดเบียดในตำแหน่งที่ชัดเจน 

เส้นประสาทหลักของมือมีอยู่ 3 เส้น ได้แก่

  • เส้นประสาทมีเดียน (Median Nerve)
  • เส้นประสาทอัลนาร์ (Ulnar Nerve) 
  • เส้นประสาทเรเดียล (Radial Nerve)  

โดยอาการมือชาที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากเส้นประสาทมีเดียนบริเวณข้อมือถูกกดทับ (carpal tunnel syndrome) ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่เลี้ยงฝ่ามือด้านนิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และครึ่งหนึ่งของนิ้วนาง

อาการชาที่เกิดจากเส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy

อาการชาที่มีสาเหตุจากโรคทางกายร่วม

นอกจากนี้ยังมีอาการชาที่เป็นสาเหตุจากโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน โรคไตเรื้อรัง ปลายประสาทอักเสบ หรือขาดวิตามินบีรุนแรง โดยในกลุ่มนี้มักมีอาการชาส่วนปลายทั้งมือและเท้า มีอาการชามือทั้งสองข้างเท่าๆ กัน ซึ่งแนะนำให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง

อาการมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ (compressive neuropathy)

อาการมือชาจากเส้นประสาทถูกกดทับ สามารถแบ่งออกเป็นระยะของอาการที่แตกต่างไป

  • ระยะแรก
    • มีอาการมือชาบางช่วง อาจรู้สึกยิบๆ ปลายนิ้วมือ ฝ่ามือ หรือบริเวณที่เส้นประสาทถูกกดทับ
    • มีอาการมือชาตอนกลางคืน ช่วงเช้ามืด หรือช่วงตื่นนอน 
    • มีอาการมือชาเฉพาะในขณะที่ใช้มือทำกิจกรรมบางชนิดๆ ซึ่งไม่ได้รบกวนชีวิตประจำวันมากนัก 
  • ระยะกลาง
    • อาการชามักเกิดขึ้น แม้ว่าจะไม่ได้ใช้มือทำกิจกรรมใดๆ 
    • หยิบจับสิ่งของแล้วไม่มีแรง เนื่องจากความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อที่เส้นประสาทไปเลี้ยง
    • นอกจากอาการชา อาจจะมีอาการปวดร่วมด้วย ลักษณะเหมือนโดนไฟช๊อต ปวดลึกๆ ปวดบีบๆ ในบริเวณที่ชา 
  • ระยะท้าย
    • มีอาการมือชาหรือปวดตลอดเวลา 
    • มีกล้ามเนื้อฝ่อลีบ เนื่องจากไม่มีเส้นประสาทไปเลี้ยง ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะยากต่อการรักษามากขึ้น

แนวทางการรักษาอาการมือชา

วิธีการรักษาอาการมือชาจากการที่เส้นประสาทบริเวณข้อมือถูกกดทับนั้น จำเป็นต้องอาศัยหลายวิธีร่วมกัน

  • หากมีอาการในระยะแรกๆ ควรพักการใช้งาน หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้มือซ้ำๆ หรือนานๆ ทานยาลดการอักเสบ
  • สวมอุปกรณ์ช่วยพยุงข้อ เพื่อให้เส้นประสาทได้พักการใช้งาน และทำกายภาพบำบัดร่วมด้วย
  • หากอาการไม่ดีขึ้นหรือมีอาการชา หรือปวดบ่อยจนรบกวนชีวิตประจำวัน อาจจะพิจารณารักษาด้วยการฉีดยาสเตียรอยด์เฉพาะที่
  • พิจารณาผ่าตัด ในรายที่อาการยังไม่ดีขึ้น และรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน

อ่านเพิ่มเติม: การผ่าตัด รักษาอาการมือชา ที่มีสาเหตุจากเส้นประสาทถูกกดทับ 

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง เพื่อให้เส้นประสาทได้พักการใช้งาน

 

การป้องกันและความเตรียมพร้อมก่อนเกิดอาการมือชา

จริงๆ แล้วอาการมือชาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จากการใช้งานข้อมือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ได้ผลแน่นอนจึงเป็นไปได้ยาก แต่กระนั้นการเตรียมพร้อมก่อนเกิดอาการมือชาก็ยังเป็นสิ่งที่ควรทำ

  • หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
  • ระหว่างการใช้งาน ในกรณีที่พิมพ์คอมพิวเตอร์ พยายามให้ข้อมืออยู่ในท่าตรง เพื่อไม่ให้ข้อมือต้องทำงานหนักขึ้น 
  • วางตำแหน่งให้มือสูงกว่าข้อมือเล็กน้อย แขนควรวางอยู่ข้างลำตัว ในท่าที่สบายๆ ไม่เกร็ง
  • หากจำเป็นต้องใช้งานมือข้างใดข้างหนึ่งในการทำงาน ควรฝึกให้มืออีกข้างใช้งานแทนกันได้ เพื่อไม่ให้ข้อมือข้างใดข้างหนึ่งทำงานหนักเกินไป
  • การใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง จะช่วยให้ข้อมืออยู่ในท่าทางที่ถูกต้องระดับหนึ่ง
  • จัดสรรเวลาการทำงาน เพื่อให้ข้อมือได้มีเวลาพัก
  • ดูแลสุขภาพทั่วไป ไม่ให้น้ำหนักตัวเกินพอดี เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพอื่นที่อาจส่งผลต่ออาการมือชา เช่น เบาหวาน ข้ออักเสบ
  • ยืดเหยียด และออกกำลังกายข้อมือ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็น

ท่ายืดเหยียดที่ทำได้เองที่บ้าน

  • นวดเบาๆ 3-5 นาที บริเวณเส้นประสาทข้อมือ และกล้ามเนื้อ เพื่อยืดคลาย
การออกกำลังกายข้อมือเพื่อป้องกันอาการมือชาด้วยการนวดเบาๆที่ข้อมือ
  • ยืดเหยียด ผ่อนคลายข้อมือด้วยการดึงมือไปด้านบน และลงด้านล่าง ทำค้างไว้ราว 15-20 วินาที
การออกกำลังกายข้อมือเพื่อป้องกันอาการมือชาด้วยการยืดเหยียดข้อมือ
  • ออกกำลังกายยืดข้อมือ ด้วยการยกดัมเบลขนาดตามความเหมาะสมของแต่ละคน ยกขึ้นและลง เพื่อให้กล้ามเนื้อบริเวณข้อมือแข็งแรงขึ้น
การออกกำลังกายข้อมือเพื่อป้องกันอาการมือชาด้วยการยกดัมเบล
  • ทั้งนี้การยืดเหยียดและออกกำลังกายข้อมือควรทำตามกำลังของแต่ละคน เพราะหากทำผิดท่า หรือหักโหมเกินไปอาจส่งผลเสียต่อข้อมือมากกว่าข้อดี แนะนำว่าควรปรึกษาทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู และทีมนักกายภาพบำบัดร่วมด้วย

โดยสรุป อาการมือชาไม่ใช่โรค แต่เรียกว่าเป็นกลุ่มอาการ เนื่องจากอาการของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หรือมีอาการหลายอย่างรวมกัน เช่น บางคนมือชาน้อยแต่ปวดเยอะ บางคนปวดเยอะแต่ชาน้อย หรือบางคนมีอาการกล้ามเนื้อมือลีบลง ใช้งานได้ไม่ถนัด 

ด้วยความที่อาการแต่ละคนไม่เหมือนกัน และอาการเหล่านี้อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้ด้วย จึงควรได้รับการวินิจฉัยที่ละเอียดถี่ถ้วน การได้ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญออร์โธปิดิกส์ด้านมือและข้อมือโดยตรง จะช่วยให้เข้าใจรายละเอียดของกลุ่มอาการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ พร้อมวางแผนการรักษาร่วมไปทีมแพทย์ในส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้คนไข้สามารถกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติโดยไม่ต้องกังวลกับอาการชาและปวดอีกต่อไป

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

Q&A

Q: คนกลุ่มใดบ้าง ที่มีโอกาสเกิดอาการมือชา ปลายนิ้วชา

กลุ่มคนที่ใช้งานมือในลักษณะเดิมๆ ซ้ำๆ มีการใช้แรงที่มืออย่างต่อเนื่อง หรืออยู่ในท่าทางเดิมเป็นเวลานาน เช่น
1. กลุ่มแม่บ้านที่ใช้มือในการทำงานบ้านต่างๆ เป็นประจำ
2. กลุ่มคนที่ขับรถทางไกล หรือต้องขับเป็นเวลานาน
3. การเล่นกีฬาบางประเภทที่ต้องใช้มือจับอุปกรณ์ เช่น เทนนิส แบดมินตัน 
4. กลุ่มคนทำงานหน้าคอมพิวเตอร์

Q: วิธีการป้องกันก่อนเกิดอาการมือชา ปลายนิ้วชา มีอะไรบ้าง

จริงๆ แล้วอาการมือชาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ จากการใช้งานข้อมือติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะฉะนั้นการป้องกันที่ได้ผลแน่นอนจึงเป็นไปได้ยาก แต่กระนั้นการเตรียมพร้อมก่อนเกิดอาการมือชาก็ยังเป็นสิ่งที่ควรทำ
1. หลีกเลี่ยงการใช้ข้อมือทำงานหนักติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน
2. ระหว่างการใช้งาน ในกรณีที่พิมพ์คอมพิวเตอร์ พยายามให้ข้อมืออยู่ในท่าตรง เพื่อไม่ให้ข้อมือต้องทำงานหนักขึ้น 
3. วางตำแหน่งให้มือสูงกว่าข้อมือเล็กน้อย แขนควรวางอยู่ข้างลำตัว ในท่าที่สบายๆ ไม่เกร็ง
4. หากจำเป็นต้องใช้งานมือข้างใดข้างหนึ่งในการทำงาน ควรฝึกให้มืออีกข้างใช้งานแทนกันได้ เพื่อไม่ให้ข้อมือข้างใดข้างหนึ่งทำงานหนักเกินไป
5. ยืดเหยียด และออกกำลังกายข้อมือ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ลดอาการบาดเจ็บของเส้นเอ็น

อังคาร, 15 มิ.ย. 2021
แท็ก
มือชา
นิ้วชา

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดคลายพังผืดที่กดทับเส้นประสาทที่ข้อมือผ่านการส่องกล้อง แผลเล็ก อยู่ในตำแหน่งข้อมือ ซึ่งไม่ขัดขวางการใช้งานของมือ ทำให้ฟื้นตัวกลับไปใช้งานได้เร็ว...
package 61,500* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
การผ่าตัดคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือ เพื่อรักษาอาการเจ็บ นิ้วงอเหยียดสะดุดจากโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และเเขน...
package 18,500* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
บทความอื่นๆ
ปวดข้อศอกรักษาให้หายได้ อย่าปล่อยไว้จนเรื้อรัง
“ปวดข้อศอก” รักษาให้หายได้ อย่าปล่อยไว้จนเรื้อรัง
พังผืดทับเส้นประสาท
พังผืดทับเส้นประสาท โรคฮิตของคนใช้งานมือมากเกินไป ที่รักษาได้
“นิ้วล็อก” โรคยอดฮิต รักษาผิด เสี่ยงบาดเจ็บเพิ่ม
เจ็บข้อมือเรื้อรังไม่หาย ตรวจแบบส่องกล้องช่วยได้
top line

Login