กล้ามเนื้อของคุณแข็งแรงแค่ไหน? ทดสอบด้วยตนเองง่ายๆ ในท่า Push Up

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นสิ่งสำคัญ ในคนทั่วไปการมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยให้กระดูกและข้อต่อต่างๆ แข็งแรงเคลื่อนไหวได้ดี ไม่เสี่ยงต่อการล้ม ไม่ปวดเมื่อย ทำกิจวัตรประจำวันได้เองไม่ต้องให้ผู้อื่นช่วยเหลือ รวมทั้งการมีมวลกล้ามเนื้อที่แข็งแรงจะช่วยให้ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้ดี ลดโอกาสเสี่ยงต่อโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน เป็นต้น

สำหรับนักกีฬาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเป็นตัวบ่งบอกถึง Performance ของนักกีฬา ยิ่งมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมาก ยิ่งช่วยเพิ่มความสามารถของกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับแรงต่อเวลา และทักษะที่ต้องเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว  ทำให้เล่นกีฬาได้ดียิ่งขึ้น

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) มีความสำคัญอย่างไร

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscle Strength) คือ ความสามารถในการทำงานของกลุ่มกล้ามเนื้อในการออกแรงสูงสุด โดยกล้ามเนื้อที่หดตัวเพียงครั้งเดียวโดยไม่จำกัดเวลา เช่น การยกน้ำหนัก เป็นความสามารถของกล้ามเนื้อ หรือกลุ่มกล้ามเนื้อที่ออกแรง เพื่อต้านกับแรงต้านทาน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะทำให้เกิดความตึงตัว เพื่อใช้แรงในการดึงหรือยกของต่างๆ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ จะช่วยทำให้ร่างกายเกิดความแข็งแรง เพื่อรักษาให้ร่างกายทรงตัวต้านกับแรงโน้มถ่วง เช่น การวิ่ง การออกกำลังกาย การเล่นกีฬาต่างๆ ที่ใช้การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อ เช่น การเคลื่อนไหวแขนและขา

การวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อด้วย Push up

การวัดความแข็งแรงสำหรับผู้ชาย

  • เริ่มต้นด้วยการนอนคว่ำ วางมือห่างกันประมาณหัวไหล่ เหยียดแขนทั้งสองข้างให้ตรงระนาบกับลำตัว หัวเข่ากว้างเท่ามือ ยกขาขึ้น ใช้นิ้วหัวแม่เท้าเป็นจุดหมุน และเหยียดหลังตรงตลอดการทดสอบ
  • หายใจเข้า ผ่อนแรง และย่อตัวลงมาจนหน้าอกเกือบถึงพื้น หน้าอกควรอยู่ระหว่างมือทั้งสองข้าง
  • หายใจออก ออกแรงดันลำตัว กลับมาสู่ตำแหน่งเดิม

การวัดความแข็งแรงสำหรับผู้หญิง

  • เริ่มต้นด้วยการวางมือห่างกันประมาณหัวไหล่ หัวเข่าทั้งสองข้างกว้างเท่ามือ สำหรับผู้หญิงสามารถปรับโดยให้ขาสองข้างชิดกันแล้ววางราบไปกับพื้นก็ได้ โดยให้เข่าเป็นจุดหมุนแทน ข้อเท้าเหยียดราบไปกับพื้น หลังเหยียดตรง
  • หายใจเข้า ผ่อนแรง และย่อตัวลงมาจนหน้าอกเกือบถึงพื้น หน้าอกควรอยู่ระหว่างมือทั้งสอง
  • หายใจออก ออกแรงดันลำตัว กลับมาสู่ตำแหน่งเดิม

การทดสอบจะมีการนับคะแนนจำนวนครั้งที่ทำได้ นับตั้งแต่ครั้งที่เริ่มทดสอบ จนถึงครั้งที่ผู้ทดสอบรู้สึกเริ่มฝืนแรง หรือไม่สามารถทดสอบต่อได้ สามารถลองทดสอบจำนวน 2 เซต แล้วเลือกคะแนนที่ดีที่สุด เพื่อมาดูผลการทดสอบได้เลย

ผลการทดสอบความแข็งแรงด้วย Push Up

หมายเหตุ : ตัวเลขในตารางแสดงจำนวนครั้งที่สามารถทำได้ โดยเริ่มจากการดูตามช่วงอายุ หลังจากนั้นดูจำนวนครั้งที่ตัวเองทำได้ ตัวแรกจะแสดงผลการทดสอบว่า  ความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ในระดับใด

ตัวอย่างเช่น คุณผู้ชาย อายุ 39 ปี ทดสอบได้ 25 ครั้ง จากการทดสอบมีความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออยู่ในระดับดีมาก (22-29 ครั้ง) เท่านี้เราก็สามารถรู้แล้วว่าความแข็งแรงของเราอยู่ในระดับใด เพื่อสามารถฟิตร่างกายได้ถูกต้อง

ข้อมูลอ้างอิง :

  • Baxter, Richard E., et al. “Improvement in sit-up performance associated with 2 different training regimens.” Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy 33.1 (2003): 40-47.
  • Bianco, Antonino, et al. “The sit up test to exhaustion as a test for muscular endurance evaluation.” Springerplus 4.1 (2015): 1-8.
  • ACSM’s Exercise Testing and Prescription 10th Edition ( 2016)
พุธ, 10 พ.ย. 2021
แท็ก
pushup
ทดสอบกล้ามเนื้อ
ทดสอบความแข็งแรง
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
บทความอื่นๆ
top line

Login