บทความ /

ดูแลกระดูก และข้ออย่างไร? ให้ดีต่อใจ ในทุก Generation

หากเปรียบร่างกายคือรถยนต์ กระดูกก็เปรียบเสมือนเครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนรถไปยังเป้าหมายที่เราต้องการ เมื่อเราใช้งานรถไประยะหนึ่ง สิ่งที่ควรทำอยู่เป็นประจำคือการตรวจเช็กสภาพรถ เพื่อตรวจสอบว่ามีชิ้นส่วนไหนของรถที่เกิดความเสียหายหรือหมดอายุการใช้งาน เพื่อทำการปรับเปลี่ยนและซ่อมแซมได้อย่างทันท่วงที

กระดูกของเราก็เช่นกัน การหมั่นดูแลรักษาและตรวจเช็กสภาพอยู่เสมอ โดยไม่จำเป็นต้องรอให้เข้าสู่วัยสูงอายุ เพื่อเช็กดูว่ากระดูกและข้อบริเวณส่วนไหนของร่างกายที่เกิดการผิดปกติ และในปัจจุบันมิใช่เพียงแค่วัยสูงอายุเท่านั้น วัยรุ่นหรือวัยหนุ่มสาวหลายๆท่าน ประสบพบเจอกับปัญหาในเรื่องของกระดูก ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดหลังเรื้อรัง ออฟฟิศซินโดรม หรืออุบัติเหตุที่ส่งผลโดยตรงต่อกระดูก ซึ่งสาเหตุเหล่านั้นล้วนมาจากการใช้งานอย่างหนักและสะสมมาเป็นเวลาหลายปี การตรวจเช็กกระดูกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม

การดูแลรักษากระดูกในช่วงวัยเด็ก

วัยเด็ก คือ วัยแห่งความสดใส เป็นวัยแห่งการเรียนรู้และจดจำ ในส่วนของการเจริญเติบโตทางด้านร่างกาย เป็นช่วงวัยที่อวัยวะในร่างกายส่วนต่างๆ พัฒนาอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในส่วนของกระดูกและกล้ามเนื้อ วัยเด็กเป็นวัยที่ใช้กล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหวอย่างเต็มที่ เด็กที่มีกระดูกแข็งแรงจึงเปรียบเสมือนการมีรากฐานของร่างกายที่มั่นคงและส่งผลดีในอนาคต

นอกจากนี้การดูแลเสริมสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อในวัยเด็กสามารถทำได้หลายวิธี โดยเฉพาะวิธีที่ง่ายที่สุดคือ การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และอุดมไปด้วยแคลเซียม วิตามินดี ที่มาจากอาหารประเภท นม โยเกิร์ต ผลไม้ ชีส เนื้อปลา ฯลฯ ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง

แคลเซียมคือแร่ธาตุที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน พบได้ในผลิตภัณฑ์ที่ประกอบไปด้วย นม ถั่ว เมล็ดพืชบางชนิด และผักใบเขียว ใน 2 – 3 มื้อของแต่ละวัน

การรับประทานวิตามินดี

อีกหนึ่งทางเลือกสำหรับเด็กที่แพ้อาหาร การวิตามินโดยตรงจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ปกครอง โดยเฉพาะวิตามินดี 3 ที่ช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียม และมีความสำคัญอย่างมากในวัยเด็ก

การส่งเสริมให้เด็ก ๆ ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายเป็นกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อได้อย่างดีที่สุด สามารถทำกิจกรรมง่าย ๆ หรือกิจกรรมที่รับน้ำหนัก (Weight – Bearing Activities) ไม่ว่าจะเป็นการเดิน วิ่ง กระโดด และกิจกรรมที่ส่งผลดีต่อกระดูกและกล้ามเนื้อโดยตรง

การดูแลรักษากระดูกในช่วงวัยรุ่น

วัยรุ่น เป็นช่วงวัยที่ร่างกายเจริญเติบโตมากที่สุด โดยเฉพาะกระดูกและกล้ามเนื้อ เป็นช่วงวัยที่ควรบำรุงและเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับกระดูกมากที่สุด เพราะเป็นช่วงวัยที่กระดูกมีการเจริญเติบโตมากกว่าช่วงวัยอื่นๆ ในช่วงของวัยรุ่นการดูแลและเสริมสร้างความแข็งแรงไม่ต่างจากวัยเด็กมากนัก โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียม และวิตามินดี ความแตกต่างที่เพิ่มเข้ามาในช่วงของวัยรุ่นคือ การเลือกรับประทานอาหารได้เองโดยที่ไม่มีผู้ปกครองมาคอยกำหนด หรือแบ่งสัดส่วนที่ควรรับประทานในแต่ละมื้อและในแต่ละวัน เหตุนี้เองที่ทำให้ช่วงของวัยรุ่น เป็นอีกช่วงวัยที่เผลอทำลายกระดูกด้วยการรับประทานอาหารหรือพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อกระดูกโดยตรง ดังนั้นสิ่งที่ควรปฏิบัติมากที่สุดในช่วงวัยรุ่นคือ

หลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อกระดูกโดยตรง

เช่น นั่งหรืออยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน การบริโภคคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มอัดลม การรับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของโซเดียมสูง รวมถึงการใช้บุหรี่และแอลกอฮอล์ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้ล้วนทำลายกระดูก และส่งผลเสียมายังช่วงวัยที่มากขึ้นในอนาคต

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

ในช่วงวัยรุ่นการออกกำลังกายเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรทำมากที่สุด เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างเต็มที่

เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์

โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียม และแคลเซียมที่ร่างกายต้องการคือ 800 – 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน นอกจากนี้ควรทานอาหารที่มีวิตามินดี ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของอาหารโดยตรงหรืออาหารเสริม

ตรวจเช็กสุขภาพกระดูกทันทีที่เริ่มรู้สึกถึงอาการผิดปกติ

โดยเฉพาะผู้ที่ประวัติทางพันธุ์กรรมของโรคกระดูกหลังคด ซึ่งพบได้มากในช่วงของวัยรุ่น

การดูแลรักษากระดูกในช่วงวัยกลางคน

เมื่อมาถึงวัยกลางคน หรือ วัยทำงาน เป็นช่วงวัยที่ผ่านการใช้ร่างกายมาอย่างหนัก และมักประสบกับอาการปวดหลัง ปวดข้อ หรือปวดเมื่อยตามร่างกายในส่วนต่างๆ อาการเหล่านี้เกิดจากพฤติกรรมและการดำรงชีวิตในแต่ละวัน หากพบอาการที่ส่งผลต่อการดำรงชีวิตหรือมีอาการปวด อาการชา ร่วมด้วย ควรพบแพทย์และผู้เชี่ยวชาญทันที เพื่อวินิจฉัยโรคและรับการรักษาได้อย่างถูกต้อง

เมื่อมีอาการบาดเจ็บกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อเกิดขึ้น ทางเลือกที่ดีที่สุดคือ การตรวจเช็กร่างกายในบริเวณที่บาดเจ็บ เพื่อรับการรักษาและทำกายภาพบำบัดโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทางกระดูกโดยตรง เพื่อทำการวินิจฉัยและหาแนวทางในการรักษาร่วมกับผู้ป่วยได้อย่าง ปลอดภัย และตรงจุด หลังได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แล้ว การรักษามีหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยการไม่ผ่าตัด การผ่าตัดแบบแผลเล็กบาดเจ็บน้อย ผ่าตัดแบบส่องกล้อง และการทำกายภาพบำบัด ซึ่งขึ้นอยู่จากอาการเจ็บป่วยและปัจจัยอื่นๆ

การดูแลรักษากระดูกในช่วงวัยสูงอายุ

เมื่อเดินทางมาสู่วัยสูงอายุ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การชะลออาการเจ็บป่วยและการรับการรักษาอย่างถูกวิธี เพื่อให้หายและบรรเทาอาการเจ็บปวด นอกจากนี้การดูแลสุขภาพร่างกายของตนเองเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ว่าการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย เช่นเดียวกับช่วงวัยอื่นๆ แต่ช่วงวัยสูงอายุมีข้อระมัดระวังมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการรับประทานอาหารที่ย่อยง่าย และมีไขมันน้อย จำกัดปริมาณรสชาติของอาหาร ไม่เค็ม ไม่หวาน หรือเปรี้ยวจนเกินไป และการออกกำลังกาย ควรออกกำลังกายที่ไม่หักโหมหรือใช้แรงมากเกินไป

และโรคทางกระดูกที่พบมากในกลุ่มวัยสูงอายุคือ โรคกระดูกข้อเข่าเสื่อม ซึ่งเกิดจากการเสื่อมตามอายุ และการใช้งาน วิธีการดูแลและตรวจเช็กสภาพของกระดูกข้อเข่าผ่าน “KDMS – The Best Solution” คือการให้ความสำคัญกับการรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ผ่านการวินิจฉัยและการวิเคราะห์ของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะในสาขาต่าง ๆ โดยตรง เพื่อการรักษาที่ดีสุด

ตัวอย่างการรักษา มีทั้งรูปแบบการผ่าตัด และ การรักษาโดยไม่ผ่าตัด เช่น การฉีดน้ำเข้าข้อเข่าเทียม การฉีดพลาสม่าเกล็ดเลือด (PRP) การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ข้อสะโพกเทียม พร้อมกับการทำกายภาพบำบัดควบคู่ไปด้วย ซึ่งวิธีการรักษาจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์และปัจจัยของอาการบาดเจ็บร่วม

ที่โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข หรือ kdms hospital เรามุ่งเน้นรักษา ซ่อมเเซม เสริมสร้างเกี่ยวกับกระดูกและข้อ โดยมีแพทย์เฉพาะทางใน 6 สาขาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อเข่าและข้อสะโพก กระดูกสันหลัง เวชศาสตร์การกีฬา มือและเเขน เท้าและข้อเท้า หัวไหล่ พร้อมกับการฟื้นฟูและกายภาพบำบัด ให้ทุกวัย ทุก Generation กลับมาใช้ชีวิตได้อย่างที่ต้องการ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม

พุธ, 27 ต.ค. 2021
แท็ก
ดูแลกระดูก
รักษากระดูก
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
บทความอื่นๆ
top line

Login