ปวดข้อเท้าอย่างไรคือข้อเท้าเสื่อม ดูแลแบบไหนให้เดินได้อย่างคล่องตัว
Key Takeaway
- รู้จักอาการปวดข้อเท้าทั่วไป
- ข้อเท้าเสื่อมมีสาเหตุมาจากอะไร
- อาการของโรคข้อเท้าเสื่อม
- แนวทางการรักษาโรคข้อเท้าเสื่อม
- รักษาอาการข้อเท้าเสื่อมที่ kdms Hospital ได้รับคำวินิจฉัยที่แม่นยำจากทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยอยู่ดีๆ ก็ปวดข้อเท้า หรือเจ็บข้อเท้าแล้วเกิดความสงสัยว่า อาการที่เป็นอยู่เป็นโรคอะไรกันแน่ อาการปวดข้อเท้าแบบไหนที่เข้าข่ายข้อเท้าเสื่อม และที่สำคัญที่สุด เราจะดูแลข้อเท้าอย่างไร เพื่อให้ยังคงเคลื่อนไหวได้อย่างคล่องตัว
Table of Contents
Toggleอาการปวดข้อเท้า เกิดจากอะไร
สำหรับอาการปวดข้อเท้าเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การใช้งานหนักเกินไป ไม่ว่าจะเป็นการเดินหรือวิ่งเป็นเวลานาน หรือในบางรายอาจจะข้อเท้าพลิกหรือกระดูกหัก และอาจเกิดจากโรคข้ออักเสบ ไม่ว่าจะเป็น เกาต์ หรือรูมาตอยด์ รวมถึงภาวะเอ็นหรือกระดูกเสื่อมตามอายุ
อาการปวดข้อเท้าทั่วไป
ในส่วนของอาการปวดข้อเท้าทั่วไป จะมีอาการปวดหลายรูปแบบ บางรายอาจรู้สึกปวดตื้อๆ หรือมีความรู้สึกเจ็บแปลบเมื่อลงน้ำหนัก เจ็บเท้าเวลาเดิน ในบางราย อาการปวดข้อเท้าอาจเกิดขึ้นตอนเช้าหลังตื่นนอน เมื่อลุกขึ้นยืน จะรู้สึกข้อฝืด ขยับลำบาก หรือมีอาการปวดมากขึ้นหลังจากเดินหรือออกกำลังกาย
เมื่อทราบถึงอาการปวดข้อเท้าแล้ว ต่อไปจะทำการเจาะลึกถึงโรคข้อเท้าเสื่อม ว่ามีความต่างออกไปจากอาการปวดข้อเท้าทั่วไปอย่างไร
5 สาเหตุหลักของโรคข้อเท้าเสื่อม
หากตอนนี้ใครมีอาการปวดข้อเท้าแต่ไม่แน่ใจว่าเข้าข่ายข้อเท้าเสื่อมหรือไม่ เช็คได้จาก 5 สาเหตุต่อไปนี้
1.ข้อเสื่อมตามอายุ
เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายที่ถูกใช้งานมานานย่อมเสื่อมไปตามกาลเวลา รวมถึงกระดูกอ่อนที่อยู่ระหว่างข้อก็เสื่อมสภาพลง ทำให้ข้อเสียดสีกันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการปวดและขยับข้อเท้าลำบาก
2.เกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า
สำหรับผู้ที่เคยข้อเท้าพลิก กระดูกหัก หรือเส้นเอ็นฉีกขาดมาก่อน มีภาวะข้อเท้าหลวม หรือเกิดการบาดเจ็บบริเวณข้อเท้าบ่อยครั้ง แม้จะเป็นการบาดเจ็บที่หายไปแล้ว ก็ส่งผลให้เกิดโรคข้อเท้าเสื่อมเร็วขึ้น
3.การใช้งานข้อเท้าหนักกว่าปกติ
หากเป็นคนที่ต้องเดิน ยืน หรือออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกสูง เช่น นักวิ่ง นักฟุตบอล หรือคนทำงานที่ต้องยืนทั้งวัน ก็มีโอกาสที่ข้อเท้าจะเสื่อมเร็วกว่าปกติ
4.เกิดจากพันธุกรรม หรือโรคประจำตัว
ในส่วนของพันธุกรรมที่เป็นพาหะ อาจไม่ได้เป็นทุกคน แต่ก็มีบางคนที่มีแนวโน้มทางพันธุกรรมที่ทำให้กระดูกอ่อนเสื่อมเร็วกว่าปกติ หรือมีโครงสร้างข้อเท้าที่ผิดปกติตั้งแต่กำเนิด เช่น เท้าแบน (Flat feet) หรือเท้าโก่ง (Cavus foot) ซึ่งส่งผลให้มีการกระจายน้ำหนักที่ไม่สมดุลและเพิ่มความเสี่ยงต่อข้อเท้าเสื่อม ภาวะที่มีข้ออักเสบเรื้อรังเดิม เช่น Rhuematoid ก็ทำให้ผิวกระดูกอ่อนข้อเสียหาย เกิดข้อเสื่อมได้เร็วกว่าคนทั่วไป
5.น้ำหนักตัวมาก
ถือเป็นอีกหนึ่งอีกสาเหตุสำคัญเช่นกัน เพราะคนที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากข้อเท้าต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ และอย่าลืมว่าทุกครั้งที่เดินก็จะมีแรงกดลงบนข้อเท้ามากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติหลายเท่า ทำให้กระดูกอ่อนสึกเร็วขึ้น
พอรู้ถึงสาเหตุแล้ว ต่อไปก็จะต้องสำรวจว่า อาการปวดเท้าที่คุณหรือคนใกล้ตัวที่เป็นอยู่ ต้องมีอาการอย่างไรจึงจะเข้าใกล้ภาวะโรคข้อเท้าเสื่อม
5 อาการที่บ่งบอกว่ากำลังเข้าสู่ภาวะโรคข้อเท้าเสื่อม
เมื่อกระดูกภายในข้อเสียดสีกันโดยตรง ส่งผลให้เกิดอาการปวด อักเสบ และการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ อาการจะค่อยๆ เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ปวดข้อเท้ารุนแรง
มีอาการปวดข้อเท้าเรื้อรัง ปวดมานาน และรู้สึกปวดตลอดเวลาแม้ในขณะที่พักข้อเท้า
2.ข้อเท้าแข็ง ขยับแล้วไม่รู้สึกคล่องตัว
หลังตื่นนอนหรือนั่งนานๆ อาจรู้สึกว่าข้อเท้าแข็ง ขยับไม่ได้คล่องเหมือนปกติ ต้องใช้เวลาสักพักในการขยับข้อเท้าให้คล่องตัว
3.อาการบวมรอบข้อเท้า
มีอาการบวมบริเวณข้อเท้า เนื่องจากการอักเสบของเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ อาจรู้สึกอุ่นหรือกดแล้วเจ็บบริเวณที่บวมได้
4.ท่าเดินเปลี่ยนไป
เมื่อมีอาการปวดและการเคลื่อนไหวทำได้จำกัด ผู้ที่มีอาการข้อเท้าเสื่อมมักจะเดินลงน้ำหนักที่เท้าน้อยลง เดินลากเท้า หรือเดินด้วยส้นเท้ามากกว่าปกติ
5.เกิดเสียงดังเมื่อขยับข้อเท้า
เกิดเสียงกรอบแกรบ (Crepitus) เมื่อเคลื่อนไหวข้อเท้า ซึ่งเสียงนี้เกิดจากพื้นผิวข้อที่ขรุขระเสียดสีกัน ผู้ที่มีอาการอาจรู้สึกถึงการสั่นสะเทือนในข้อเท้าเมื่อเกิดเสียงได้
นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital
การวินิจฉัยโรค
สำหรับการวินิจฉัยโรคข้อเท้าเสื่อมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ จะทำผ่านกระบวนต่างๆ ดังต่อไปนี้
1.ซักประวัติและตรวจร่างกาย
สอบถามอาการปวดข้อเท้า ความรุนแรง ระยะเวลาที่เป็น และปัจจัยที่ทำให้อาการแย่
2.เอกซเรย์ (X-ray)
ใช้ตรวจดูความเสียหายของกระดูก ช่องว่างระหว่างข้อ และการเสื่อมของกระดูกอ่อน
3.MRI หรือ CT Scan
ใช้ในกรณีที่ต้องการดูรายละเอียดของการบาดเจ็บเนื้อเยื่ออ่อน เอ็น หรือส่วนอื่นๆร่วมด้วย รวมถึงแนวกระดูกที่มีความผิดปกติไป
4.การตรวจเลือด
อาจใช้ช่วยแยกโรคข้ออักเสบที่เกิดจากโรคอื่น เช่น รูมาตอยด์หรือเกาต์ รวมถึงความน่าจะเป็นในโรคอื่นๆ
5.การเจาะน้ำในข้อ
ในบางกรณี อาจต้องตรวจน้ำไขข้อเพื่อหาการติดเชื้อหรือผลึกกรดยูริกที่บ่งบอกถึงโรคเกาต์ หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคข้อเท้าเสื่อม การรักษาจะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรง ตั้งแต่การใช้ยา กายภาพบำบัด ไปจนถึงการผ่าตัดในกรณีที่รุนแรง
แนวทางการรักษาโรคข้อเท้าเสื่อม
การรักษามีหลายวิธี ยิ่งรักษาได้ถูกจุด ยิ่งเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนไหว และชะลอความเสื่อมของข้อเท้า ซึ่งวิธีการรักษามีดังนี้
1.การรักษาแบบไม่ใช้ยา
- ใช้อุปกรณ์ช่วยพยุง– เลือกรองเท้าที่เหมาะสม มีการรองรับอุ้งเท้าที่ดีและมีส่วนรองรับส้นเท้า
– เลือกแผ่นรองในรองเท้า (Orthotic insoles) ที่ช่วยกระจายแรงกด
– ใช้อุปกรณ์พยุงข้อเท้า (Ankle brace) ช่วยเพิ่มความมั่นคงและลดการเคลื่อนไหวที่ทำให้เกิดอาการปวด
- กายภาพบำบัด
– เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบข้อเท้า – เพิ่มความยืดหยุ่นและช่วงการเคลื่อนไหวของข้อเท้า – ปรับปรุงการทรงตัวและการเดิน
- การประคบร้อน-เย็น
– การประคบเย็นช่วยลดการอักเสบและอาการปวดเฉียบพลัน
-การประคบร้อนช่วยคลายกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนเลือด เหมาะสำหรับอาการปวดเรื้อรัง
2.การรักษาด้วยยา
- ยาบรรเทาปวดและลดการอักเสบ
– ยาแก้ปวดพื้นฐาน เช่น พาราเซตามอล
– ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน นาโพรเซน ช่วยลดการอักเสบและอาการปวด
– ยาทาเฉพาะที่ประเภท NSAIDs หรือครีมที่มีส่วนผสมของแคปไซซิน
- การฉีดยา
– การฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์เข้าข้อเท้า ช่วยลดการอักเสบและอาการปวดได้ในระยะสั้นถึงระยะกลาง
– การฉีดสารหล่อลื่นข้อ (Hyaluronic acid) เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นและการหล่อลื่นในข้อเท้า
– การฉีด PRP (Platelet-Rich Plasma) เกล็ดเลือดเข้มข้นประกอบด้วย สารกระตุ้นการฟื้นฟู (Growth factor) ช่วยลดการเสื่อมสภาพของข้อ และลด
อาการปวดได้
3.การรักษาด้วยการผ่าตัด
- การผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopy)
– เพื่อทำความสะอาดข้อกำจัดเศษกระดูกอ่อนที่หลุดลอย หรือปรับแต่งพื้นผิวข้อที่เสียหาย
- การผ่าตัดยึดข้อ (Ankle Fusion)
– เชื่อมกระดูกข้อเท้าเข้าด้วยกัน ทำให้ไม่มีการเคลื่อนไหวและไม่เกิดอาการปวด แต่จะสูญเสียความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเท้า
- การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเท้าเทียม (Ankle Replacement)
– เปลี่ยนข้อเท้าที่เสื่อมด้วยข้อเทียม ช่วยให้ยังคงความสามารถในการเคลื่อนไหวข้อเท้าไว้ได้ แต่มีข้อจำกัดเรื่องอายุการใช้งาน
รักษาข้อเท้าเสื่อมที่ kdms Hospital ดีอย่างไร
ข้อเท้าถือเป็นอีกหนึ่งอวัยวะสำคัญที่พาให้ชีวิตขับเคลื่อนได้อย่างอิสระ ฉะนั้นการดูแลรักษากับบุคลากรทางการแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อ รวมถึงกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังมีเครื่องมือที่ล้ำสมัยช่วยให้การรักษาแม่นยำ ที่สำคัญช่วยให้ทุกความเคลื่อนไหวเป็นไปได้
นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital
ดูแลตัวเองยังไงให้ห่างไกลจากโรคข้อเสื่อม
- ให้ข้อเท้าได้พักเมื่อมีอาการปวดมาก
- การยกข้อเท้าให้สูง ช่วยลดอาการบวมโดยเฉพาะหลังการใช้งานมาก
- ปรับสภาพแวดล้อม จัดบ้านให้ปลอดภัย ช่วยลดความเสี่ยงต่อการล้มหรือการบาดเจ็บซ้ำ
การรักษาที่ได้ผลดีที่สุด มักเป็นการผสมผสานวิธีการต่างๆ เข้าด้วยกัน และปรับให้เหมาะกับสภาพร่างกาย ระดับความรุนแรงของโรค และวิถีชีวิตของผู้ป่วยแต่ละราย สิ่งสำคัญที่ต้องตระหนักอยู่เสมอคือควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อการกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติโเดยเร็วที่สุด
สรุป
หากรู้สึกปวดข้อเท้า หรือเจ็บข้อเท้าเป็นเวลาควรสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด อย่าคิดว่าเป็นเรื่องเล็ก เพราะหากมีอาการเจ็บหรือปวดมากกว่าเดิมอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ฉะนั้นยิ่งรู้สึกผิดปกติกับอาการที่ปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ให้รีบพบแพทย์ทันที
คำถามที่พบบ่อย
โรคข้อเท้าเสื่อมมักจะเกิดกับผู้สูงอายุใช่หรือไม่
ไม่เสมอไป ข้อเท้าเสื่อมตามอายุ คิดเป็นแค่ประมาณ10% ของผู้ป่วยข้อเท้าเสื่อมทั้งหมด แท้จริงแล้ว ยังมีกลุ่มผู้ป่วยเสี่ยงอื่นๆ เช่น เคยได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเท้า ทั้งเอ็นบาดเจ็บหรือกระดูกหัก จะมีโอกาสเกิดข้อเสื่อมได้สูงกว่ามาก รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคข้ออักเสบเดิม เช่น รูมาตอยด์ เป็นต้น
หากเป็นโรคข้อเท้าเสื่อมแล้วเข้ารับการผ่าตัดจะกลับมาเดินได้ปกติไหม
สามารถกลับมาเดินได้ปกติ ซึ่งการผ่าตัดหลักๆ จะมีทั้งในระยะเริ่มต้นรักษาด้วยการผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopy) ล้างข้อต่อกระตุ้นการสร้างกระดูกอ่อนส่วนที่บาดเจ็บได้ ส่วนระยะปลายมีการรักษาทั้งการเชื่อมข้อและเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งทั้งสองวิธีผู้ป่วยจะสามารถกลับไปเดินได้ ทั้งนี้การผ่าตัดแต่ละแบบต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดยเเพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อน จะดีกับตัวผู้ป่วยมากที่สุด
บทความโดย: นพ.สิทธา เจือกิจกำจร ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านเท้าและข้อเท้า