รักษาโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาทอย่างไร? ให้ “ตรงจุด ปลอดภัย และหายขาด”
อาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ขาชา หรือขาอ่อนแรง คืออาการของโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มวัยทำงาน หากมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นจะส่งผลต่อ ระบบการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระ
ในปัจจุบันแนวทางการรักษาของผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เริ่มมีอาการของโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาทเริ่มต้นการรักษาด้วยวิธีการแบบไม่ผ่าตัด คือการรับประทานยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ หรือยาลดอาการปวดเส้นประสาท รวมถึงการทำกายภาพบำบัด ซึ่งวิธีการรักษาดังกล่าวผู้ป่วยบางรายอาจะไม่ตอบสนองต่อการรักษา ทำให้มีอาการที่รุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถทำกิจกรรมและเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องอาศัยการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการให้หายขาด และลดโอกาสเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นอีกครั้ง
บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการรักษาในรูปแบบของการผ่าตัดเปรียบเทียบกับวิธีการรักษารูปแบบอื่นในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ป่วยมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจและเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์มากที่สุด ซึ่งในแต่ละวิธีมีข้อดี ข้อควรระวัง และความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน
หนึ่งในทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกสันหลังของโรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีสุข รศ.นพ.กู้พงษ์ ศิริบำรุงวงศ์ จะมาอธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับการวิธีรักษาโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาททั้งหมด 3 วิธี ได้แก่ การฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง การรักษาโดยวิธีการเลเซอร์ และการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย
Table of Contents
Toggleวิธีการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง (Epidural Steroid Injection)
การฉีดสเตียรอยด์ หรือที่หลาย ๆ ท่านรู้จักกันดีคือ ยากลุ่มต้านการอักเสบ (Steroid) เข้าไปยังบริเวณเส้นประสาทไขสันหลังที่ถูกกดทับ เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นประสาทเพื่อช่วยลดอาการปวดร้าวและอาการชาจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับ
ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษา
- ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเฉพาะเพียงอย่างเดียวไม่มีอาการอ่อนแรงหรืออาการผิดปกติทางระบบขับถ่าย
- ผู้ป่วยที่ต้องการเลี่ยงการผ่าตัด
- ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวค่อนข้างเยอะ
ขั้นตอนและวิธีการรักษาด้วยวิธีการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง มีดังนี้
- ทำการ X – Ray เพื่อระบุตำแหน่งเข็มในขั้นตอนของการฉีดสเตียรอยด์เข้าที่บริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง
- นอนพักเพื่อดูอาการหลังจากการฉีดสเตียรอยด์เป็นเวลา 30 นาที เมื่อไม่มีอาการผิดปกติสามารถกลับบ้านได้
- อาการปวดร้าวลงขาจะค่อยๆลดลงหลังจากการฉีดสเตียรอยด์ประมาณ 3 – 5 วัน
ข้อดีของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง
- การฉีดสเตียรอยด์เข้าโพรงสันหลังนั้นช่วยให้สามารถวินิจฉัยรอยโรคที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเช่น ในกรณีที่พบหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทหลายระดับแต่ก่อให้เกิดอาการเพียงแค่ระดับเดียว การฉีดยาจะช่วยในการระบุระดับที่ก่อให้เกิดอาการและรักษาการไปในคราวเดียวกัน
- สามารถลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะสั้นและสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น (improve activities of daily living)
- อาจใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเยอะมากทำให้เสี่ยงสูงถ้าต้องได้รับการผ่าตัด
ข้อควรระวังของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง
- ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรือ พบความผิดปรกติทางระบบขับถ่าย
- ออกฤทธิ์ในระยะสั้นในระยะเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน
วิธีการเลเซอร์ในโรคทางกระดูกสันหลัง (Laser in Spine surgery)
เลเซอร์ (Laser) ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation เป็นแสงที่ปล่อยออกมาและสามารถส่งผลกับเนื้อเยื่อของร่างกายแตกต่างกันไป ทำให้มีคุณสมบัติและการใช้งานที่หลากหลาย
ในส่วนของการนำเลเซอร์เข้ามาใช้ในกระบวนการรักษาทางแพทย์พบมากในปัจจุบันและเป็นวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ โดยเฉพาะการรักษาในรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรักษาแบบ Laser Spine Surgery Minimally Invasive Spine Surgery และ Artificial Disk Replacement
โดยเฉพาะการรักษาในรูปแบบของ “Laser Spine Surgery” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบถึงกระบวนการรักษา ซึ่งมีทั้งข้อดี ข้อเสีย และภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยวิธีเลเซอร์
ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษา
- การรักษาด้วยเลเซอร์ส่วนมากมักใช้กับการผ่าตัดหมอนรองกระดูก (Laser Discectomy)
ขั้นตอนการและวิธีการรักษาด้วยวิธีการเลเซอร์ในโรคทางกระดูกสันหลัง มีดังนี้
- ต่อส่วนของเลเซอร์เข้ากับกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) เพื่อเข้ามาจี้ (ablation) หมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนเข้ามากดทับเส้นประสาท โดยใช้หลักการการส่งผ่านความร้อนเข้ามายังหมอนรองกระดูกเพื่อให้หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนทับเส้นประสาทเกิดการหดตัว
ข้อดีของการเลเซอร์ในโรคทางกระดูกสันหลัง
- ใช้ในกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและเคลื่อนกดทับเส้นประสาทแบบเล็กน้อย
ข้อควรระวังการเลเซอร์ในโรคทางกระดูกสันหลัง
- มีอัตราการผ่าตัดซ้ำสูงเมื่อเทียบกับการผ่าตัดปกติ
- การใช้เลเซอร์ในการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังยังมีงานวิจัยและข้อมูลสนับสนุนไม่มากและหากเปรียบเทียบงานวิจัยจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า (Prospective Cohort Study)พบว่าการรักษาโดยการผ่าตัด ได้ผลดีกว่าเลเซอร์ในเรื่องลดอาการปวดร้าวลงขาและการผ่าตัดซ้ำ
- ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมามาก
วิธีการรักษาโดยใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดโรคทางกระดูกสันหลัง ยังมีไม่มากและตัวอย่างการรักษามีน้อยมากเมื่อเทียบกับการรักษาวิธีอื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งได้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และโอกาสที่จะกลับมาเกิดซ้ำน้อยกว่า รักษาได้เฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนเล็กน้อยเท่านั้น
ดังนั้น วิธีการรักษาด้วยเลเซอร์ในโรคทางกระดูกจึงไม่ใช่วิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน หากผู้ป่วยต้องการรักษาโดยวิธีนี้ควรศึกษาเพิ่มเติมหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง
วิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย
วิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย เป็นวิธีการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Spine Surgery ซึ่งเป็นแนวทางในการรักษาแบบใหม่ ที่ทำให้การบาดเจ็บลดลงกว่าเทคนิคการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการรักษา ซึ่งการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Spine Surgery มีหลายวิธีการในการรักษา โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือการผ่าตัดแบบไม่ใส่เหล็กและไม่เชื่อมข้อ (Non – Fusion) และการผ่าตัดแบบใส่เหล็กเชื่อมต่อข้อ (Fusion)
การผ่าตัดแบบไม่ใส่เหล็กและไม่เชื่อมข้อ (Non – Fusion)
การผ่าตัดแบบไม่ใส่เหล็กและไม่เชื่อมข้อ คือ การผ่าตัดส่องกล้องขยายโพรงไขสันหลังและการผ่าตัดส่องกล้องนำหมอนรองกระดูกที่ทับเส้นประสาทออก การผ่าตัดแบบไม่ใส่เหล็กและไม่เชื่อมข้อ (Non – Fusion) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขา และไม่พบความไม่มั่นคงของข้อกระดูกสันหลัง
ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษา
- ผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อนผู้ป่วยที่เป็นหมอนรองกระดูกสันหลังเคลื่อน
- ผู้ป่วยที่มีโพรงไขสันหลังตีบเป็นหลัก
ซึ่งปัจจุบันจากการงานวิจัยทางคลินิกให้ผลไปทางเดียวกันว่าการรักษาและการผ่าตัดในกลุ่มนี้ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดหลังและร้าวลงขาดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดในแง่ของระยะเวลาการผ่าตัดที่น้อยกว่า ผู้ป่วยเสียเลือดน้อยกว่า และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่สั้นกว่า แต่ในระยะยาวสามารถให้ผลการรักษาที่เทียบเท่ากัน
การผ่าตัดแบบใส่เหล็กเชื่อมต่อข้อ (Fusion)
การผ่าตัดกระดูกสันหลังบริเวณเอวผ่านผิวหนัง (Minimally Invasive Surgery : MIS TLIF) โดยการผ่าตัดเจาะรูด้านหลัง และทำการสอดอุปกรณ์เข้าไปยังกระดูกสันหลังและเชื่อมกระดูกสันหลัง โดยใส่อุปกรณ์แทนหมอนรองกระดูกสันหลัง หลังจากที่ผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก
ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษา
- ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังไม่มั่นคง
- ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อน
- ผู้ป่วยที่มีโพรงไขสันหลังตีบแคบและข้อเสื่อมมาก
ข้อดีการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย
- ขนาดแผลลดลง
- ลดการเลาะกล้ามเนื้อและเอ็นออกจากกระดูกสันหลัง ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บปวดจากการผ่าตัดลดลง
- ลดการเสียเลือด
- ลดการติดเชื้อ
- ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น
ข้อควรระวังการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย
วิธีการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อยเป็นอีกวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาให้หายขาดและลดโอกาสที่จะเกิดโรคซ้ำ มีการฟื้นตัวได้เร็ว สำหรับวิธีการรักษานี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการรักษา
Reference
รศ.นพ.กู้พงษ์ ศิริบำรุงวงศ์,แนวทางการรักษาโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์