ปวด คอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง เสริมความแข็งแรงหลังด้วย Neurac Technique
ปวด คอ บ่า ไหล่ เรื้อรัง หรือโรคออฟฟิศซินโดรม สามารถรักษาให้หายได้ในระยะยาวด้วยการรักษาแบบ Active Rehabilitation วันนี้โรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข kdms จะมาแนะนำเครื่องมือกายภาพบำบัดที่ช่วยในการเพิ่มความเเข็งแรงมาฝากทุกท่านกันค่ะ
Table of Contents
ทำความรู้จักกับ Neurac Technique
Neurac Technique (Red Cord) เป็นการออกกำลังกายรูปแบบหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความแข็งแรงให้แก่กล้ามเนื้อ โดยการใช้สลิง สร้างความสนุกและท้าทายในการเล่น นอกจากสร้างความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อแล้ว การออกกำลังกายโดยใช้สลิง Neurac Technique ยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้แก่
- ช่วยเพิ่มมุมการเคลื่อนไหว
- สามารถให้การออกกำลังกายได้ทั้งแบบที่ส่วนปลายคือมือหรือเท้ามีอิสระ (Open kinetic chain exercise) และแบบจำกัดการเคลื่อนไหวของส่วนปลาย (Closed kinetic chain exercise)
- ช่วยเพิ่มการรับรู้ของข้อต่อต่างๆ และการฝึกการทรงตัว
- เพิ่มความทนทานของข้อต่อ และกล้ามเนื้อรอบๆ ขณะฝึก
- ช่วยลดปวด ทำให้กล้ามเนื้อได้ผ่อนคลาย และไม่กระตุ้นการปวดเพิ่มเติมโดยเฉพาะในระบบสลิงแบบ Neurac Technique
- มีงานวิจัยที่รองรับว่าสามารถกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อได้มากกว่าการออกกำลังกายท่าเดียวกันที่ทำบนพื้น โดยเฉพาะในระบบสลิงแบบ Neurac Technique และสามารถกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อเฉพาะส่วนได้
ข้อดีของการใช้ Neurac Technique
ข้อดีของการออกกำลังกายแบบสลิง Neurac Technique คือ สามารถเริ่มการฝึกการออกกำลังกายได้ตั้งแต่ในช่วงเริ่มต้นที่อาจจะยังมีอาการปวดหลงเหลืออยู่บ้าง เพราะด้วยระบบของสลิงแบบ Neurac technique นี้ จะช่วยพยุงกล้ามเนื้อให้สามารถผ่อนคลายได้ระดับหนึ่งในขณะที่เราฝึกออกกำลังกายในท่าต่างๆ ทำให้ไม่กระตุ้นอาการปวดเพิ่มเติม
อย่างไรก็ตามการออกกำลังกายประเภทนี้จะต้องได้รับการแนะนำจากผู้ที่มีความเชี่ยวชาญเท่านั้นเพื่อให้สามารถทำได้ถูกต้อง
ใครบ้างที่ควรรักษาด้วย Neurac Technique
- ผู้ที่มีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังทั้งบริเวณคอ บ่า ไหล่ หลังส่วนล่าง สะโพก
- ผู้ที่ต้องการสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว
- นักกีฬาที่มีอาการบาดเจ็บ
- ผู้ที่สูญเสียการทรงตัว เคลื่อนไหวได้ไม่คล่อง
- ผู้ที่มีท่าทางไม่ดี จากการทำงานซ้ำๆ เช่น พนักงาน Office เป็นต้น
การออกกำลังกายประเภทนี้จะช่วยให้กล้ามเนื้อสามารถกลับมาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น อย่างไรก็ตามเราจะต้องออกแรงฝึกด้วยตัวเราเองหรือ Active Rehabilitation เท่านั้น จึงจะเกิดประสิทธิภาพได้สูงสุด
บทความโดย พญ. วิภาวี ฉินเจนประดิษฐ์ เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู