ทำไมลูกสะเบ้าเข่าอักเสบ ? พร้อมวิธีรักษาที่ควรรู้

ลูกสะเบ้าเข่าอักเสบ

อาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบเป็นหนึ่งในความผิดปกติของร่างกายที่สามารถส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และทำให้ไม่สามารถใช้งานร่างกายได้อย่างเต็มที่ นอกจากนี้ ด้วยไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไป อาจส่งผลให้แม้แต่ในกลุ่มคนหนุ่มสาว รวมถึงผู้สูงอายุเองต่างก็มีแนวโน้มสูง ที่จะเกิดอาการดังกล่าวขึ้นได้ บทความนี้จึงจะมาแนะนำให้รู้จักกับลูกสะบ้าเข่าอักเสบกันมากขึ้น พร้อมแนะนำวิธีการรักษาและข้อควรรู้ต่างๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น

ทำความรู้จัก “ลูกสะบ้าเข่า”

ทำความรู้จัก “ลูกสะบ้าเข่า”

ลูกสะบ้าเข่า คือ กระดูกขนาดเล็กชิ้นเดียวที่อยู่บริเวณด้านหน้าของหัวเข่า มีรูปร่างคล้ายทรงกลม และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3-4 เซนติเมตร ความหนา 1-2 เซนติเมตร ซึ่งอยู่ในส่วนเส้นเอ็นเข่า ทำหน้าที่เป็นจุดรองรับน้ำหนักที่เกิดขึ้นที่เข่า ช่วยเสริมกำลังในการเคลื่อนไหว เช่น การเหยียดข้อเข่า และช่วยสร้างความสมดุล ทำให้สามารถเคลื่อนไหวข้อเข่าได้อย่างราบรื่นรวมถึง นอกจากนี้ ลูกสะบ้าเข่ายังเป็นส่วนที่มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลาอีกด้วย โดยเฉพาะเมื่อต้องลุก นั่ง ยืน หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่ต้องอาศัยแรงเสริมจากส่วนข้อเข่า

ลูกสะบ้าเข่าอักเสบคืออะไร ทำไมถึงเกิดขึ้นได้

ลูกสะบ้าเข่าอักเสบคืออะไร ทำไมถึงเกิดขึ้นได้

ลูกสะบ้าเข่าอักเสบ คือ ความผิดปกติ หรือภาวะการบาดเจ็บที่เกิดกับบริเวณผิวข้อของลูกสะบ้า ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย โดยการทำความเข้าใจถึงสาเหตุ หรือที่มา จะช่วยทำให้สามารถรักษา และป้องกันได้อย่างตรงจุดมากขึ้น โดยปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะลูกสะบ้าเข่าอักเสบ มีดังนี้

ปัจจัยด้านสรีรวิทยา และกรรมพันธุ์

ปัจจัยด้านร่างกาย ที่มีผลมาจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม และปัจจัยด้านสรีรวิทยา สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะลูกสะบ้าเข่าอักเสบได้ เช่น ผู้ที่มีตำแหน่ง ลูกสะบ้า สูง หรือ ต่ำ กว่าปกติ  จะก่อให้เกิดปัญหาความไม่สมดุลในบริเวณข้อเข่า ทำให้บริเวณดังกล่าวอาจเกิดการเสียดสีระหว่างการเคลื่อนไหวได้ เป็นต้น

นอกจากนี้ ในกลุ่มเพศหญิงยังมีความเสี่ยงที่จะเกิดกระดูก หรือเส้นเอ็นบริเวณลูกสะบ้าเข่าอักเสบได้ง่ายกว่าเพศชาย  เนื่องจากปัจจัยด้านสรีระที่กระดูกเชิงกรานของเพศหญิงจะมีความกว้างมากกว่า ส่งผลให้กระดูกเข่าทำมุมฉากมากกว่า จึงเพิ่มโอกาสในการบาดเจ็บได้ง่ายกว่าเพศชาย

ใช้งานร่างกายหนักเกินไป

การใช้งานร่างกายหนักเกินไปเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ส่งผลให้ลูกสะบ้าเข่าอักเสบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับผู้ที่มีพฤติกรรมต่างๆ เช่น ใช้เข่าสำหรับลุกนั่ง ขึ้นลงบันได งอเข่า เหยียดเข่าบ่อยๆ เป็นระยะเวลานาน เพราะทำให้เกิดแรงกดขึ้นที่ผิวข้อ รวมถึง ผู้ที่ออกกำลังกายหนัก ยกของหนัก หรือใช้งานร่างกายหักโหมจนเกินไป อาจทำให้เกิดแรงเสียดสีบริเวณผิวกระดูกลูกสะบ้าและข้อเข่าได้ นอกจากนี้ การออกกำลังกายผิดท่า เช่น การยกเวจไม่ถูกวิธี หรือการทำกายบริหารผิดท่าก็สามารถทำให้ลูกสะบ้าอักเสบได้

กล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง

เพราะลูกสะบ้ามีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยอาศัยส่วนกล้ามเนื้อที่ช่วยในเรื่องการเคลื่อนที่ของกระดูกลูกสะบ้าเพื่อจัดร่างกายให้สมดุล และช่วยรองรับน้ำหนักบริเวณหัวเข่า ซึ่งลูกสะบ้าอยู่ในแนวขาจากสะโพกจนถึงข้อเท้า ดังนั้น หากกล้ามเนื้อต้นขา และสะโพก ไม่แข็งแรงหรือขาดความสมดุล อาจทำให้ลูกสะบ้าอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เกิดแรงกดและมีอาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบได้

บาดเจ็บร้ายแรง

นอกจากปัจจัยด้านร่างกายแล้ว การได้รับอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดการบาดเจ็บร้ายแรง ก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอาการสะบ้าอักเสบได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น กระดูกลูกสะบ้าถูกกระแทกโดยตรง ทำให้ผิวข้อบาดเจ็บได้ หรือในกรณีที่หกล้มผิดท่าหรือกระโดดผิดท่า ก็อาจทำให้ข้อเข่าบิดและเกิดแรงกระแทกขึ้น ทำให้มีอาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบ หรือบางร้ายอาจเกิดอาการกระดูกหัก หรือเคลื่อนหลุดได้

ผลข้างเคียงไม่พึ่งประสงค์จากการผ่าตัด

ภาวะลูกสะบ้าเข่าอักเสบที่เกิดจากผลข้างเคียงจากการผ่าตัด สามารถเกิดได้ในกรณีที่ผู้ป่วยเคยได้รับบาดเจ็บ จนกระดูกสะบ้าหัก หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเคยเข้ารับการผ่าตัดเอ็นไขว้หน้า (ACL Reconstruction) โดยใช้เส้นเอ็นลูกสะบ้าในการซ่อมแซม

แม้ลูกสะบ้าเข่าอักเสบที่เป็นผลข้างเคียงหลังการผ่าตัดจะไม่ใช่สาเหตุหลัก และไม่ได้เกิดกับผู้ป่วยทุกเคส  แต่ก็ถือเป็นอีกปัจจัยที่สามารถเพิ่มโอกาสเสี่ยงได้

อาการแบบไหนที่เรียกว่าลูกสะบ้าอักเสบ

เมื่อเข้าใจสาเหตุหรือต้นตอของอาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบกันไปแล้ว หลายคนอาจเกิดข้อสงสัยว่าตัวเองกำลังเข้าข่ายอาการลูกสะบ้าอักเสบหรือไม่ ซึ่งอาการที่เป็นสัญญาณเตือน ถึงความผิดปกติของร่างกาย มีดังนี้

  • เจ็บบริเวณหน้าเข่า ซึ่งอาจเกิดขึ้น เมื่องอเข่า ลุกนั่ง หรือขึ้นลงบันได ทั้งนี้ อาการเจ็บดังกล่าวอาจหาจุดเจ็บที่แน่ชัดไม่เจอ
  • มีอาการเจ็บ ปวด หรือบวม เมื่อเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเดินหรือวิ่ง
  • มีอาการเจ็บหรือปวดเป็นระยะเวลานาน และอาจทำให้ข้อเข่ามีเสียงได้ หากพบว่ามีอาการข้อเสื่อมร่วมด้วย

ทั้งนี้ อาการของลูกสะบ้าเข่าอักเสบจะมีความคล้ายคลึงกับอาการของโรคข้อเข่าเสื่อม แต่จุดแตกต่างกัน คือ ลูกสะบ้าเข่าอักเสบมักจะมีอาการปวดเวลาลุกนั่ง หรืองอเข่า โดยจะไม่มีอาการปวดเวลาเดินลงน้ำหนัก ข้อติดในช่วงเช้า และปัญหาขาผิดรูปร่าง เหมือนกับเข่าเสื่อม

อย่างไรก็ตาม หากผู้ป่วยได้ทำการรักษาด้วยการปฐมพยาบาลในเบื้องต้น แต่อาการยังไม่ดีขึ้น ให้พบแพทย์เพื่อปรึกษาและหาแนวทางการรักษาที่มีประสิทธิภาพตามลำดับขั้นตอนต่อไป

วิธีการรักษาอาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบ

หลายคนที่เป็นกังวลว่ามีอาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบจะรักษาได้ไหม ในความเป็นจริงแล้วผู้ป่วยสามารถรักษาอาการดังกล่าวได้โดยขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องและแม่นยำเพื่อที่จะให้ผู้ป่วยอาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบสามารถฟื้นฟูร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพและกลับมามีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์โดยเร็ว พร้อมกลับมาใช้ชีวิตตามปกติดังเดิม ซึ่งหลักๆ จะมีแนวทางการรักษาด้วยวิธีต่างๆ เหล่านี้

การปฐมพยาบาลในเบื้องต้น

การปฐมพยาบาลในเบื้องต้น

หากผู้ป่วยมีอาการเจ็บหรือปวดที่ลูกสะบ้าไม่มาก สามารถปฐมพยาบาล หรือบรรเทาอาการป่วยได้ด้วยตัวเอง โดยการใช้อุปกรณ์หรือวิธีดังนี้

  • การประคบเย็น: หาอุปกรณ์ง่ายๆ ที่มีในบ้าน เช่น ถุงเย็นหรือผ้าเย็น เพื่อนำไปชุบน้ำสะอาด จากนั้นบิดหมาดๆ ก่อนนำไปแช่ไว้ในตู้เย็นประมาณ 15-30 นาที แล้วจึงนำมาประคบบริเวณที่ปวดบวมหรือรู้สึกเจ็บ
  • การรับประทานยาบรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ: ผู้ที่มีอาการปวดสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล ซึ่งเป็นยาสามัญประจำบ้าน หรือยาเเก้ปวด ลดการอักเสบ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทุกครั้งที่รับประทานยาจะต้องอ่านฉลาก เพื่อดูวิธีใช้งานให้เรียบร้อยและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง: เนื่องจากอาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบเกิดจากการเคลื่อนไหวบริเวณข้อเข่าในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น ลุกนั่ง ยกของหนัก หรือออกกำลังกายหนักเกินไป ดังนั้น การลดหรือหลีกเลี่ยงพฤติกรรมต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยลดโอกาสบาดเจ็บที่เกิดขึ้นได้

การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัด

การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีการรักษาและฟื้นฟูให้ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะสะบ้าเข่าอักเสบหรือเอ็นสะบ้าอักเสบสามารถกลับมาใช้งานร่างกายได้ตามเดิม โดยขั้นตอนนี้จะอาศัยความร่วมมือระหว่างแพทย์ นักทำกายภาพ และผู้ป่วยเพื่อออกแบบโปรแกรมการรักษาที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะใช้วิธีเหล่านี้

  • ธาราบำบัด: เป็นการใช้น้ำในการรักษา โดยจะให้ผู้ป่วยจะเคลื่อนไหวร่างกายในน้ำ ตามโปรแกรมที่ทีมแพทย์ได้วางแผนไว้ เพื่อให้น้ำช่วยพยุงร่างกาย และลดแรงกดที่เกิดกับข้อเข่า
  • เครื่องมือกายภาพบำบัด: นำคลื่นอัลตราซาวนด์ที่มีความถี่สูง หรือเครื่องเลเซอร์มาใช้ในการรักษา เพื่อลดการอักเสบ อาการปวด บวม และฟื้นฟูเนื้อเยื่อ
  • โปรแกรมฟื้นฟูกล้ามเนื้อ: เลือกออกท่ากายบริหารเพื่อลดอาการปวดตามขั้นตอนที่ถูกต้องโดยนักกายภาพบำบัด

การผ่าตัด

การผ่าตัด

โดยทั่วไปอาการลูกสะบ้าเข่าอักเสบจะไม่ใช้การผ่าตัดในการรักษา แต่หากผู้ป่วยมีภาวะหรือการบาดเจ็บอย่างอื่น เช่น กระดูกสะบ้าเกิดการแตกหรือหักร่วมด้วย อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมกระดูกที่แตกหัก ให้กลับมาสมานและฟื้นตัวโดยเร็ว รวมถึง ป้องความเสี่ยงที่เกิดขึ้นตามมา เช่น อาการเสื่อมของข้อหรืออักเสบเรื้อรัง

จะเกิดอะไรขึ้นหากปล่อยให้ลูกสะบ้าเข่าอักเสบเรื้อรัง

อาการปวดสะบ้าเข่าอักเสบหากปล่อยไว้นานเกินไป ไม่เพียงแต่จะก่อให้เกิดความอักเสบที่เพิ่มมากขึ้น แต่ยังทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือผลเสียร้ายแรงอื่นๆ ตามมาอีกด้วย เช่น

  • โรคเข่าเสื่อมหรือผิวสะบ้าเสื่อม: เนื่องจากลูกสะบ้าเข่าได้รับความเสียหาย ซึ่งจะก่อให้เกิดกันสึกกร่อนของผิวข้อ ส่งผลให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม หรือผิวสะบ้าเสื่อมตามมาได้
  • ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดในส่วนอื่นได้: ลูกสะบ้าเป็นส่วนสำคัญที่ทำงานร่วมกับอวัยวะอื่นๆ ของร่างกาย รวมไปถึงหัวเข่า สะโพก ข้อเท้า และส่วนอื่นๆ จึงทำให้มีโอกาสสูงที่อาการบาดเจ็บจะลามไปยังอวัยวะใกล้เคียงได้
  • ไม่สามารถกลับมาใช้งานข้อเข่าได้ดีเหมือนก่อน: เมื่อปล่อยให้ลูกสะบ้าอักเสบเรื้อรัง จึงเป็นเรื่องยากหากจะทำให้ร่างกายสามารถกลับมาใช้งานได้เต็มสมรรถนะ

ลูกสะบ้าเข่าอักเสบเป็นอาการเจ็บหรือปวดที่เกิดขึ้นบริเวณกระดูกลูกสะบ้า ส่งผลให้ไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทั้งการเดิน ลุก นั่ง หรือทำกิจกรรมต่างๆ ดังนั้น หากผู้ป่วยสงสัยว่าตนเองมีอาการลูกสะบ้าอักเสบ ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยทันที เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและหาวิธีการรักษาด้วยวิธีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การรับประทานยา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมควบคู่ไปกับกายภาพบำบัด หรือแม้แต่การผ่าตัด เพื่อให้ร่างกายกลับมาหายดีเป็นปกติ และสามารถใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข

บทความโดย : นพ. นวพันธ์ วอกลาง ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่

ศุกร์, 30 ก.ย. 2022
แท็ก
ลูกสะบ้าเข่าอักเสบ
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
ผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าจากอาการบาดเจ็บ เช่น เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด (ACL Injury) หรือโรคเกี่ยวกับข้อเข่าอื่นๆ โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่...
package 245,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ เพื่อรักษาอาการเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear), ข้อไหล่เสื่อม หรือโรคเกี่ยวกับข้อไหล่อื่นๆ โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่...
package 275,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
บทความอื่นๆ
เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบคืออะไร? อาการบาดเจ็บที่คนชอบออกกำลังกายควรรู้ไว้
เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบคือ? คนออกกำลังกายควรรู้
ข้อเท้าหักต้องรักษาอย่างไร ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
ข้อเท้าหักต้องรักษาอย่างไร ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
กล้ามเนื้อฉีกขาด
อาการกล้ามเนื้อฉีกขาด พร้อมแนวทางการรักษาและวิธีฟื้นฟู
กล้ามเนื้ออักเสบ รักษา
ตอบทุกข้อสงสัย! ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาอย่างไร?
top line

Login