สะบักจมคืออะไร รู้สาเหตุ รักษาสะบักจมให้ตรงจุด หยุดอาการปวดเรื้อรัง

สะบักจมคืออะไร รู้สาเหตุ รักษาสะบักจมให้ตรงจุด หยุดอาการปวดเรื้อรัง
Key Takeaway

  • สะบักจม หรือปวดสะบักและรอบสะบักจากกล้ามเนื้อ คืออาการปวดบริเวณรอบๆ สะบัก มีอาการปวดร้าวไปตำแหน่งต่างๆ ตามแต่กล้ามเนื้อที่เป็นจุดกดเจ็บเป็นหนึ่งในอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด หรือ Myofascial Pain Syndrome 
  • อาการสะบักจม ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดบริเวณโดยรอบสะบัก และมีอาการปวดร้าว อาจเกิดร่วมกับการเคลื่อนไหวติดขัดที่สะบัก หรือหัวไหล่ และอาจมีผลต่อการเคลื่อนที่ของชายโครงขณะหายใจร่วมด้วยได้เช่นกัน
  • อาการปวดสะบักและกล้ามเนื้อรอบสะบัก มีสาเหตุหลักๆ ได้แก่ สาเหตุอาการจากการใช้งาน กล้ามเนื้อรอบสะบักตึงตัวจากโรคอื่นๆ และการบาดเจ็บเฉียบพลัน

กระดูกสะบัก คือกระดูกชิ้นสามเหลี่ยม ที่อยู่บริเวณตำแหน่งซี่โครงด้านหลังส่วนบนทั้งสองข้าง โดยมีกล้ามเนื้อหลายๆ มัด มาเกาะอยู่บริเวณรอบๆ สะบัก ทำให้กล้ามเนื้อเหล่านี้เข้ามาช่วยในด้านการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักในหลากหลายทิศทาง และยังเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนไหวของข้อหัวไหล่ร่วมด้วย

ผู้ป่วยหลายคนมาด้วยอาการปวดสะบัก และรอบสะบักจากกล้ามเนื้อ หรือที่รู้จักกันในชื่อเรียก “สะบักจม” ซึ่งมักพบได้ในช่วงวัยกลางคน คนที่ทำงาน หรือกิจกรรมในท่าทางที่ไม่เหมาะสม มักมีอาการปวดสะบัก และปวดร้าวไปบริเวณอื่นของร่างกาย ต้องรีบรักษาก่อนจะเกิดอันตราย มาทำความรู้จักอาการสะบักจม สาเหตุ พร้อมแนวทางการรักษาสะบักจมได้ในบทความนี้

Table of Contents

ทำความรู้จักกับ สะบักจม

สะบักจม คือคำที่คนทั่วไปมักใช้เรียกอาการปวดสะบักแบบรวมๆ แต่ในทางการแพทย์ บางงานวิจัยได้ให้นิยามอาการสะบักจม ว่าเป็นอาการ “ปวดสะบักและรอบสะบักจากกล้ามเนื้อ” โดยกล้ามเนื้อดังกล่าวได้แก่  Levator Scapulae, Rhomboid, Trapezius, Serratus Anterior, Serratus Posterior Superior เป็นต้น กล้ามเนื้อเหล่านี้จะเกาะบริเวณสะบักไปยังส่วนบริเวณต่างๆ ทั้งกระดูกสันหลัง คอ อก และซี่โครง เมื่อมีอาการปวดในบริเวณข้างต้น รวมถึงอาการติดขัด เคลื่อนไหวลำบากในบริเวณสะบัก ผู้ป่วยจึงเรียกกันว่ามีอาการสะบักจมนั่นเอง

สะบักจมมีอาการอย่างไรบ้าง

สะบักจมมีอาการอย่างไรบ้าง

ปวดสะบักและรอบสะบักจากกล้ามเนื้อ หรืออาการสะบักจม ผู้ป่วยจะมาด้วยอาการปวดบริเวณโดยรอบสะบัก และอาจมีผลต่อการเคลื่อนไหวรอบสะบัก หัวไหล่ และการเคลื่อนที่ของชายโครงขณะหายใจร่วมด้วยได้เช่นกัน  นอกจากนี้ อาการสะบักจม หรืออาการปวดสะบักจากกล้ามเนื้อรอบสะบัก ยังเป็นหนึ่งในกลุ่มของอาการปวดของกล้ามเนื้อและพังผืด หรือ Myofascial Pain Syndrome ที่มีลักษณะเด่นคือ พบจุดกดเจ็บหรือ Trigger Point ของกล้ามเนื้อบริเวณสะบัก ร่วมกับอาการปวดร้าวไปยังบริเวณใกล้เคียงได้อีกด้วย

สาเหตุของอาการสะบักจม

สาเหตุของอาการสะบักจม

อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า อาการสะบักจม หรือปวดสะบักและรอบสะบักจากกล้ามเนื้อ เป็นหนึ่งในอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืด หรือ Myofascial Pain Syndrome ซึ่งมีสมมติฐานที่ใช้อธิบาลกลไกของโรค โดยสันนิษฐานว่าเกิดจากกล้ามเนื้อเกร็ง ที่มาจากกล้ามเนื้อหดเกร็งตัวเป็นระยะเวลานาน ทำให้เลือดและพลังงานที่ไปหล่อเลี้ยงบริเวณกล้ามเนื้อจุดนั้นไม่เพียงพอ กล้ามเนื้อจึงยิ่งเกร็งมากขึ้นเพราะไม่มีพลังงานมาช่วยในการคลายตัว เกิดอาการเกร็งสะสมตรงกล้ามเนื้อ เป็นจุดกดเจ็บหรือ Trigger Point โดยแบ่งประเภทของสาเหตุได้ ดังนี้

สาเหตุอาการจากการใช้งาน

สาเหตุอาการจากการใช้งาน เป็นอาการบาดเจ็บซ้ำซากจากการใช้งานซ้ำๆ หรือ Overuse ที่เกี่ยวเนื่องจากการใช้งานกล้ามเนื้อในท่าทางเดิมๆ ในระยะเวลายาวนาน เช่น การใช้งานหน้าหน้าจอคอม นั่งไหล่ห่อ คอยื่น ยักไหล่พิมพ์งานตลอดเวลา เป็นต้น

ท่าทางเหล่านี้ส่งผลให้กล้ามเนื้อบริเวณสะบักมีอาการตึงตัว เมื่อสะสมเป็นเวลานาน นอกจากจะทำให้กล้ามเนื้อด้านหลังตึงแล้ว ยังทำให้กล้ามเนื้อบริเวณสะบักอ่อนแรงลงไป กล้ามเนื้อก็จะยิ่งตึงมากขึ้นได้อีกด้วย

สาเหตุอาการจากกล้ามเนื้อรอบสะบักตึงตัวจากโรคอื่นๆ

กล้ามเนื้อรอบสะบักตึงตัวเนื่องมาจากโรคอื่นๆ เช่น ในกลุ่มคนไข้ที่มีอาการหมอนรองกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท หรือแม้กระทั่งโรคเส้นเอ็นหัวไหล่ ที่ทำให้เกิดอาการปวด โดยอาการปวดจะกระตุ้นให้กล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ตึงตัว ซึ่งรวมถึงกล้ามเนื้อรอบสะบักด้วย ส่งผลให้เกิดอาการปวดบริเวณรอบสะบัก แบบเดียวกับอาการสะบักจมขึ้นมาได้เช่นกัน

สาเหตุอาการจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน

การบาดเจ็บเฉียบพลัน เช่น การเอี้ยวตัวผิดท่า ยกของหนักผิดท่า ทำให้กล้ามเนื้อมีอาการเกร็งเฉียบพลัน เกิดอาการปวดบริเวณกล้ามเนื้อบริเวณรอบสะบัก

การตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยกลุ่มอาการสะบักจม

อาการปวดสะบักและกล้ามเนื้อรอบสะบัก หรือสะบักจม  มีอาการปวดร้าวคล้ายกับโรคอื่นๆ เช่น โรคเกี่ยวกับข้อหัวไหล่ กระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท  การวินิจฉัยจึงมุ่งเน้นไปที่ความแม่นยำในการระบุตัวโรคเพื่อการรักษาอย่างแม่นยำ โดยการวินิจฉัยอาการสะบักจม เพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี มีดังนี้

  • การซักประวัติผู้ป่วย สอบถามเกี่ยวกับลักษณะอาการปวด เช่น ปวดบริเวณใด มีอาการปวดร้าวไปยังส่วนอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ ทำอะไรแล้วปวดมากขึ้นหรือลดลง มีอาการชา หรืออ่อนแรงร่วมด้วยไหม เพื่อจำแนกโรคออกจากกลุ่มโรคที่มีอาการปวดสะบักคล้ายกัน เช่น โรคที่เกิดจากหมอนรองกระดูก โรคที่เกิดจากข้อเส้นเอ็นเอ็นหัวไหล่ เป็นต้น
  • การตรวจร่างกาย  เพื่อดูการเคลื่อนไหวของสะบักว่าขัด หรือมีการจำกัดการเคลื่อนไหวหรือไม่ การเคลื่อนไหวของข้อต่อหัวไหล่ ต้นคอ ว่าสามารถเคลื่อนไหวได้ปกติหรือไม่ รวมถึงการตรวจโดยการคลำหาจุดกดเจ็บหรือ Trigger Points บริเวณกล้ามเนื้อรอบสะบัก ร่วมกับการตรวจกำลังกล้ามเนื้อ และการรับความรู้สึกร่วมด้วย เพื่อแยกออกจากกลุ่มโรคเส้นประสาทบริเวณต้นคอ
  • การใช้เครื่องมือทางการแพทย์ ทำในกรณีที่แพทย์สงสัยว่าอาจมีโรคอื่นร่วมด้วย โดยแพทย์จะส่งตรวจX-Ray หรือทำ MRI บริเวณกระดูกคอ หรือหัวไหล่ เพื่อให้การวินิจฉัยที่แม่นยำมากยิ่งขึ้น

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

การรักษา อาการปวดสะบักและกล้ามเนื้อรอบสะบัก สะบักจมทำได้อย่างไร

 การรักษา อาการปวดสะบักและกล้ามเนื้อรอบสะบัก สะบักจมทำได้อย่างไร

การรักษาอาการปวดสะบักและรอบสะบักจากกล้ามเนื้อ หรือสะบักจม แพทย์จะรักษาแบบเป็นลำดับขั้นไป โดยเริ่มต้นได้จากการรักษาแบบประคับประคอง โดยการลดอาการปวดให้กับคนไข้ที่มาพร้อมกับอาการปวดมาก พร้อมปรับแก้พฤติกรรมการใช้งานเพื่อแก้ต้นเหตุของปัญหา แล้วเสริมสร้างการออกกำลังกายเพื่อความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ ดังนี้

การลดอาการปวด 

ในระยะเริ่มต้น หากคนไข้รู้สึกว่ามีอาการปวดหรือตึงบริเวณสะบัก ก็สามารถดูแลตนเองก่อนได้ ด้วยการประคบอุ่น 15-20 นาที แล้วยืดหยุ่นกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ สะบัก รวมถึงกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ แต่หากดูแลตัวเองแล้วอาการไม่ดีขึ้น แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อระบุตัวโรคให้ชัดเจน พร้อมเข้ารับการรักษา ด้วยการใช้ยา และใช้เครื่องมือกายภาพที่เหมาะสม 

ท่าออกกำลังกายเพื่อยึดกล้ามเนื้อ

ท่าออกกำลังกายเพื่อยึดกล้ามเนื้อ

ท่าออกกำลังกายเพื่อยึดกล้ามเนื้อ ท่าออกกำลังกายเพื่อยึดกล้ามเนื้อ

ท่าออกกำลังกายเพื่อยึดกล้ามเนื้อ

ท่าออกกำลังกายเพื่อยึดกล้ามเนื้อ

การกินยาลดอาการปวด 

เมื่อผู้ป่วยเข้ามาพบแพทย์ หลังจากระบุตัวโรคให้ชัดเจนแล้ว แพทย์จะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและคลายกล้ามเนื้อ เช่น ยาลดการอักเสบ ยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น

การรักษาด้วยเครื่องมือทางการแพทย์ 

การใช้เครื่องอัลตราซาวนด์ เพื่อใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ลดการอักเสบ เพิ่มการคลายตัวของกล้ามเนื้อ ช่วยให้เลือดไหลเวียนมายังบริเวณกล้ามเนื้อได้ดียิ่งขึ้น หรือการทำ Shock Wave หรือคลื่นกระแทก เพื่อกระตุ้นการปล่อยสารอักเสบ (Substance P)  พร้อมกระตุ้นการฟื้นตัวบริเวณเนื้อเยื่อที่มีอาการอักเสบอยู่

การฝังเข็มแบบตะวันตก 

หากพบจุดกดเจ็บ หรือ Trigger Points สามารถรักษาด้วยการฝังเข็มแบบตะวันตกที่เรียกว่า Dry Needling ได้ด้วยเช่นกัน เป็นการสะกิดปมกล้ามเนื้อเพื่อให้คลายตัว เพิ่มการไหลเวียนเลือดให้เข้าไปในบริเวณที่ตึงเหนือกล้ามเนื้อ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 

หลังจากเข้ารับการรักษาแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดโอกาสเกิดการอักเสบอีก เช่น ปรับเปลี่ยนท่าทางการนั่งทำงาน ปรับเปลี่ยนโต๊ะทำงานให้เหมาะสมกับสรีระ และแนะนำให้เปลี่ยนท่าทางขณะทำงานทุก 30 นาทีถึง 1 ชม เพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อเกร็งค้างนานจนเกินไป

การออกกำลังการสร้างความแข็งแรง และความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อรอบสะบัก 

เมื่อรักษาอาการปวดจนดีขึ้นแล้ว ควรเริ่มออกกำลังกายกล้ามเนื้อให้มีความแข็งแรงมากขึ้น เพื่อให้สามารถทำกิจวัตรประจำวันในท่าทางที่ถูกต้อง ลดอาการตึงของกล้ามเนื้อ ไม่ให้กลับมามีอาการปวดซ้ำ

หลังรักษาอาการสะบักจม มีโอกาสกลับมาเป็นอีกไหม

อาการปวดสะบักและรอบสะบักจากกล้ามเนื้อ หรือสะบักจม หากสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อ ก็อาจรักษาให้หายขาดได้ด้วยวิธีการรักษาที่ได้กล่าวไปข้างต้น แต่ในกรณีที่มีสาเหตุอื่นที่แฝงอยู่ ทำให้การรักษาอาการเหล่านี้ไม่หายขาด เช่น มีโรคหมอนรองกระดูก กระดูกสันหลังเสื่อมกดทับเส้นประสาท โรคเกี่ยวกับข้อเส้นเอ็นหัวไหล่ ก็จำเป็นต้องรักษาโรคเหล่านี้ก่อนแล้วจึงรักษาอาการสะบักจมให้หายขาดได้

อย่างไรก็ตาม อาการสะบักจมก็ยังกลับมาเป็นซ้ำได้เช่นกัน หากผู้ป่วยยังไม่ปรับพฤติกรรม เช่นการนั่งไม่ถูกท่า นั่งท่าเดิมนานๆ รวมถึงการยกของผิดท่า เป็นต้น

อาการสะบักจมป้องกันได้อย่างไรบ้าง

ในแง่ของการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์จะแนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อย่างในคนที่ปวดสะบักและรอบสะบักจากกล้ามเนื้อ ส่วนมากมีสาเหตุมาจากออฟฟิศซินโดรม นั่งทำงานออฟฟิศนานๆ จึงควรปรับโต๊ะทำงาน และระดับหน้าจอให้อยู่ในระดับสายตา คีย์บอร์ดอยู่ในระดับข้อศอกพอดี และหลีกเลี่ยงการนั่งไหล่ห่อคอยื่น และควรเปลี่ยนท่านั่งทุก 30 นาที ร่วมกับการยืดเหยียดกล้ามเนื้อรอบสะบักร่วมด้วย

นอกจากนี้ ควรออกกำลังกายเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ สะบัก เช่นบริเวณ Rhomboid, Lower Trapezius Infraspinatus เป็นต้น  เพื่อให้รักษาสุขภาพกล้ามเนื้อที่ดี ป้องกันการกลับมามีอาการปวดรอบสะบัก 

สะบักจมรักษาที่ไหนดี kdms Hospital พร้อมดูแลเต็มที่โดยแพทย์เฉพาะทาง

สะบักจมรักษาที่ไหนดี? ที่โรงพยาบาล kdms Hospital มีทีมรักษาที่ครบถ้วน ครอบคลุมในแง่ของการวินิจฉัยอาการปวดสะบัก หรือสะบักจมได้อย่างแม่นยำ พร้อมทั้งมีทีมแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู ทีมแพทย์ศัลยกรรมกระดูก และทีมนักกายภาพบำบัดมากความสามารถ นอกจากนี้ หากรักษาแล้วสงสัยว่ามีอาการจากโรคอื่นร่วมด้วย ก็สามารถส่งตรวจด้วยเครื่องมือที่ทันสมัยอย่างเครื่อง MRI และ X-Ray ได้อย่างทันที

อีกทั้ง โรงพยาบาล kdms Hospital ยังมีเครื่องมือทางการแพทย์เพื่อลดอาการปวดอย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องอัลตราซาวนด์ Shock Wave เลเซอร์ และฝังเข็ม ที่พร้อมให้บริการได้แบบครบ จบในที่เดียว

นอกจากลดอาการปวดแล้ว ที่นี่ยังมุ่งเน้นไปที่การป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำด้วยการปรับพฤติกรรม แนะนำการออกกำลังกาย มีเครื่องตรวจการออกกำลังกายที่ทันสมัยอย่าง Red Cord Exercise และการแนะนำท่าออกกำลังกายที่สามารถนำไปปรับใช้ที่บ้านได้ ป้องกันโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

สรุป

อาการสะบักจม คือชื่อเรียกของอาการปวดบริเวณรอบๆ สะบักจากกล้ามเนื้อ ทำให้มีอาการปวดร้าวไปตำแหน่งต่างๆ มีจุดกดเจ็บ และมีการติดขัดในการเคลื่อนไหวสะบักหรือข้อไหล่ และในบางราย อาจมีปวดร้าวบริเวณชายโครงเคลื่อนที่ขณะหายใจร่วมด้วย เป็นหนึ่งในอาการปวดกล้ามเนื้อและพังผืดหรือ Myofascial Pain Syndrome มีสาเหตุหลักๆ ได้แก่ สาเหตุอาการจากการใช้งาน กล้ามเนื้อรอบสะบักตึงตัวจากโรคอื่นๆ และการบาดเจ็บเฉียบพลัน

มารักษาสะบักจมที่โรงพยาบาล kdms Hospital มีทีมรักษาที่ครบถ้วน ครอบคลุมในแง่ของการวินิจฉัยอาการปวดสะบักจมได้อย่างแม่นยำ พร้อมทีมแพทย์และเครื่องมือที่ครบครัน รักษาให้หายพร้อมแนะนำแนวทางไม่ให้กลับมาเป็นอีก
บทความโดย พญ.อักษราภัค พนมพรพานิช แพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

อังคาร, 08 ต.ค. 2024
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
  อาการปวดที่รบกวนชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อที่ต้องได้รับการดูแล อย่าปล่อยให้อาการเล็กน้อยกลายเป็นเรื่องใหญ่  ...
package เริ่มต้นที่ 1200* บาท
package สิ้นสุด 31/10/2024
บทความอื่นๆ
สะบักจมคืออะไร รู้สาเหตุ รักษาสะบักจมให้ตรงจุด หยุดอาการปวดเรื้อรัง
สะบักจมคืออะไร รู้สาเหตุ รักษาสะบักจมให้ตรงจุด หยุดอาการปวดเรื้อรัง
อาการปวดสะบักร้าวลงแขน เกิดขึ้นได้อย่างไร ปล่อยไว้อันตรายหรือไม่
อาการปวดสะบักร้าวลงแขน เกิดขึ้นได้อย่างไร ปล่อยไว้อันตรายหรือไม่
กระดูกสันหลังยุบ จากโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
กระดูกสันหลังยุบ จากโรคกระดูกพรุนในผู้สูงอายุ
กระดูกสันหลังเคลื่อนมีวิธีรักษาอย่างไรบ้างให้หายดี
top line line