บทความ /

การรักษาหัวไหล่ที่ kdms ทางเลือกที่ใช่ของทุกอาการปวดไหล่

การรักษาหัวไหล่ที่ kdms ทางเลือกที่ใช่ของทุกอาการปวดไหล่
Key Takeaway
  • สาเหตุของอาการปวดไหล่
  • อาการปวดไหล่ของแต่ละตำแหน่ง
  • การดูแลตัวเองเบื้องต้นหากมีอาการปวดหัวไหล่
  • การตรวจวินิจฉัยการปวดหัวไหล่ที่  kdms Hospital
  • การรักษาหัวไหล่ที่ kdms Hospital จากทีมแพทย์ผู้ชำนาญการด้านกระดูกและข้อ

ปวดไหล่เป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นปวดไหล่ขวา หรือปวดไหล่ซ้าย หรือปวดหัวไหล่จากการทำงานหรือการใช้ร่างกายอย่างหนัก อาการเหล่านี้หากปล่อยไว้นาน อาจพัฒนาไปเป็นไหล่ติด หรือไหล่อักเสบ และโรคที่เกี่ยวกับไหล่อย่างอื่นได้ ฉะนั้นการรักษาหัวไหล่ที่ kdms Hospital จากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้ออย่างถูกต้องและรวดเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ และในบทความนี้จะเจาะลึกถึงการรักษาอาการปวดไหล่ในแบบฉบับของโรงพยาบาลเฉพาะทางกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข kdms Hospital

ก่อนอื่นเราต้องรู้ก่อนว่าการปวดไหล่สามารถนำไปสู่โรคอะไรได้บ้าง และมีอาการอย่างไร เพื่อที่จะเช็คตัวเองได้เบื้องต้น แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นถ้ารู้สึกเจ็บไหล่จนส่งผลกับการใช้ชีวิตประจำวันก็ควรพบแพทย์โดยด่วน อย่าลืมว่ายิ่งรักษาไวเท่าไหร่ ยิ่งปลอดภัยทำให้กลับไปใช้ชีวิตได้ปกติไวเท่านั้น

อาการปวดหัวไหล่ มีได้หลากหลายสาเหตุ ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งานไหล่มากเกินไป การยกของหนัก หรือแม้แต่จากอุบัติเหตุเล็กๆ ที่สะสมจนกลายเป็นอาการเรื้อรัง โดยสาเหตุที่พบบ่อย มีดังต่อไปนี้

ปวดไหล่แบบเกิดขึ้นเอง

ในส่วนของการปวดหัวไหล่แบบเกิดขึ้นเอง อาจเกิดได้หลายสาเหตุดังนี้

1. ไหล่ติด

เกิดจากเยื่อหุ้มข้อไหล่เกิดการอักเสบ หนาตัว และหดรัด ซึ่งทำให้มีอาการปวด ข้อไหล่ติด และเคลื่อนไหวได้น้อยลง

2. เอ็นหัวไหล่อักเสบ

เกิดจากการอักเสบของเส้นเอ็นรอบหัวไหล่ เมื่อเอ็นเหล่านี้เกิดการอักเสบ จะส่งผลให้เกิด อาการปวดหัวไหล่ โดยเฉพาะเมื่อมีการเคลื่อนไหวหรือใช้แรง เช่น การว่ายน้ำ หรือแม้แต่การยกแขนแตะผมก็อาจรู้สึกเจ็บได้ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้หลายคนคงจะมีคำถามว่า แล้วเอ็นหัวไหล่อักเสบกับไหล่อักเสบเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ต้องบอกว่ามีความต่างกันตรงที่ไหล่อักเสบเป็นคำที่ใช้เรียกอาการปวด และการอักเสบที่เกิดขึ้นบริเวณหัวไหล่ ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เอ็นอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ ข้ออักเสบ หรือการบาดเจ็บอื่นๆ ฉะนั้นไหล่อักเสบจึงเป็นคำที่ครอบคลุมอาการปวดไหล่ในวงกว้างนั่นเอง

3. ข้อไหล่เสื่อม

ภาวะที่กระดูกอ่อนในข้อไหล่สึกหรอหรือเสื่อมสภาพลง ทำให้เกิดการเสียดสีระหว่างกระดูก ส่งผลให้เกิดอาการปวดไหล่ เคลื่อนไหวลำบาก หรือมีเสียงดังขณะขยับข้อ โดยภาวะนี้มักเกิดขึ้น จากการเสื่อมตามอายุ หรืออาจเกิดจากการใช้งานไหล่หนักต่อเนื่องหรืออุบัติเหตุที่ทำให้ข้อไหล่บาดเจ็บมาก่อนหน้านี้ก็เป็นได้

4. หินปูนเกาะเส้นเอ็นไหล่

ภาวะนี้เกิดจากการสะสมของแคลเซียมผิดปกติในเส้นเอ็นรอบหัวไหล่ อาจเกิดจากการไหลเวียนเลือดลดลงหรือกระบวนการซ่อมแซมของร่างกายที่ผิดปกติ ส่งผลให้เกิดการอักเสบและปวด โดยเฉพาะเมื่อเคลื่อนไหวหรือแม้แต่ขณะพัก อาการมักรุนแรงขึ้นตอนกลางคืนและอาจทำให้เคลื่อนไหวหัวไหล่ได้จำกัด

5. อาการปวดไหล่จากกล้ามเนื้อ อักเสบ

เกิดจากกล้ามเนื้อรอบๆหัวไหล่เกิดการอักเสบ อาจเกิดจากการบาดเจ็บ หรือ การใช้งานซ้ำๆ มักจะมีอาการปวดเวลาขยับไหล่ และมีจุดกดเจ็บค่อนข้างชัดเจน อาการมักหายได้เองหลังจากพักการใช้งาน หรือ รับประทานยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ สเตียรอยด์

6. กระดูกงอกทับเส้นเอ็นไหล่

ภาวะนี้เกิดจากการงอกของกระดูกส่วนเกินบริเวณข้อไหล่ กระดูกงอกสามารถเสียดสีหรือกดทับเส้นเอ็นรอบไหล่ ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อเคลื่อนไหว โดยเฉพาะการยกแขนขึ้นเหนือศรีษะ และอาจส่งผลให้พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลง หากปล่อยไว้นาน อาจนำไปสู่ภาวะเส้นเอ็นฉีกขาดได้

ปวดไหล่ตอนกลางคืน

อาการปวดไหล่ที่รุนแรงขึ้นในเวลากลางคืนอาจเกิดจากหลายปัจจัย เช่น การนอนตะแคงทับข้างที่ปวด การไม่ได้ขยับหัวไหล่เป็นเวลานาน หรือท่าทางการนอนที่ไม่เหมาะสม ซึ่งทำให้เกิดแรงกดบนข้อไหล่มากขึ้น นอกจากนี้ การอักเสบของเส้นเอ็นหรือภาวะไหล่ติดก็สามารถทำให้อาการปวดเด่นชัดขึ้นในช่วงกลางคืน ตำแหน่งของอาการปวดสามารถช่วยบอกถึงสาเหตุที่เป็นไปได้ เช่น ปวดด้านข้างจากเส้นเอ็นอักเสบ หรือปวดร้าวจากปัญหากระดูกต้นคอ

อุบัติเหตุทำให้เกิดการปวดไหล่

การปวดไหล่จากอุบัติเหตุ มี 3 สาเหตุหลักๆ ดังนี้

1. เล่นกีฬาทำให้เกิดการบาดเจ็บ

อาจเกิดจากการใช้งานข้อไหล่ซ้ำๆ หรือจากการเล่นกีฬาหนักเกินไป เช่น การขว้างลูกบอล การยกน้ำหนัก แบดมินตัน วอลเลย์บอล และกีฬาเหล่านี้เป็นกีฬาที่ต้องใช้หัวไหล่ในการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ซ้ำๆและรุนแรงเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่หัวไหล่ได้ง่าย

2. เกิดอุบัติเหตุทางจราจร

การชนหรือกระแทกอย่างแรงไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ หรือรถมอเตอร์ไซค์ทำให้เกิดการบาดเจ็บที่กระดูกไหล่ ข้อต่อ และเส้นเอ็น อาจพบกระดูกหัก ข้อเคลื่อน และเส้นเอ็นไหล่ฉีกขาดได้

3. เกิดการหกล้ม

ในกรณีที่ปวดไหล่จากการหกล้ม ส่วนมากเป็นการกระแทกที่หัวไหล่โดยตรง อาจส่งผลให้เกิดการฟกช้ำของกล้ามเนื้อ หรืออาจรุนแรงจนทำให้เส้นเอ็นไหล่ฉีกขาด ข้อไหล่เคลื่อน ข้อไหล่หลุด หมอนรองกระดูกหัวไหล่ขาด หรือ กระดูกหักได้

อาการปวดไหล่ของแต่ละตำแหน่งบอกอะไรบ้าง

ตำแหน่งที่เกิดอาการปวดสามารถช่วยบ่งบอกถึงสาเหตุของปัญหาได้ โดยอาการปวดด้านหน้าอาจเกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นอักเสบหรือข้อไหล่เสื่อม ปวดด้านบนมักเกิดจากปัญหาข้อต่อกระดูกไหปลาร้า ปวดด้านข้างมักเกี่ยวข้องกับเส้นเอ็นไหล่ และปวดด้านหลังอาจเกิดจากกล้ามเนื้อสะบักหรือกระดูกต้นคอ การสังเกตตำแหน่งของอาการปวดช่วยให้วินิจฉัยและรักษาได้อย่างตรงจุดมากขึ้น

การดูแลตัวเองเบื้องต้นเมื่อมีอาการปวดไหล่

หากมีอาการปวดไหล่ ควรดูแลตัวเองโดยการประคบร้อน-เย็นเพื่อลดอาการอักเสบ ยืดกล้ามเนื้อหัวไหล่อย่างเหมาะสม หลีกเลี่ยงการยกของหนัก และพักผ่อนให้เพียงพอ หากอาการยังไม่ดีขึ้นหรือรบกวนการใช้ชีวิต ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

5 สัญญาณอันตรายจากอาการเจ็บไหล่ที่ควรพบแพทย์เฉพาะทาง

5 สัญญาณอันตรายจากอาการเจ็บไหล่ที่ควรพบแพทย์เฉพาะทาง

หากมีอาการปวดไหล่ที่รุนแรงหรือเรื้อรัง ควรสังเกตสัญญาณอันตรายที่อาจบ่งบอกถึงภาวะรุนแรง เช่น

  • อาการปวดเกิน 1-2 สัปดาห์และไม่ดีขึ้น
  • เคลื่อนไหวหัวไหล่ลำบาก หรือรู้สึกข้อไหล่ติดขัด
  • ปวดร้าวจากหัวไหล่ไปยังแขน หรือมีอาการชาตามแขน
  • มีอาการบวม แดง หรือร้อนบริเวณหัวไหล่
  • เคยมีประวัติไหล่หลุดหรือได้รับบาดเจ็บรุนแรงมาก่อน

หากมีอาการเหล่านี้ ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นในระยะยาว

การวินิจฉัยโรคจากอาการปวดไหล่ที่ kdms Hospital

การรักษาหัวไหล่ที่ kdms Hospital นั้น ก่อนเริ่มการรักษา แพทย์จะซักประวัติเพื่อหาสาเหตุของอาการปวดไหล่ว่าเกิดจากภาวะเสื่อม การบาดเจ็บ หรืออุบัติเหตุ จากนั้นจะทำการตรวจร่างกาย เช่น หาจุดกดเจ็บ ทดสอบการเคลื่อนไหวข้อไหล่ และตรวจความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

หากจำเป็นต้องตรวจเพิ่มเติม แพทย์อาจส่งเอกซเรย์เพื่อตรวจหาภาวะข้อเสื่อม กระดูกงอก ข้อเคลื่อน หรือหินปูนเกาะเส้นเอ็นไหล่ ในกรณีสงสัยภาวะเส้นเอ็นฉีกขาดหรือหมอนรองกระดูกข้อไหล่เสียหาย อาจมีการส่งตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยแม่นยำยิ่งขึ้น

เมื่อทราบสาเหตุของอาการแล้ว ทีมแพทย์เฉพาะทางของ kdmsHospital จะเลือกแนวทางการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่

แนวทางการรักษาหัวไหล่ที่ kdms Hospital

ที่ kdms Hospital มีแนวทางการรักษาอาการปวดไหล่ทั้งแบบไม่ผ่าตัด และผ่าตัด โดยทีมแพทย์เฉพาะทางจะทำการวินิจฉัยและพิจารณาแนวทางการรักษาที่เหมาะสม โดยปกติจะเริ่มต้นจากวิธี ไม่ผ่าตัด ก่อน เช่น การใช้ยา กายภาพบำบัด หรือการฉีดยาเพื่อลดการอักเสบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและสาเหตุของโรค หากรักษาด้วยวิธีไม่ผ่าตัดแล้วยังไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาทางเลือกการผ่าตัด เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างตรงจุดและฟื้นฟูการทำงานของข้อไหล่ให้กลับมาเป็นปกติ

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

ที่ kdmsHospital การรักษาอาการปวดไหล่แบบไม่ผ่าตัดแบ่งออกเป็น 3 แนวทางหลัก ได้แก่

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

  • แนะนำให้ลดการใช้งานหัวไหล่ที่ก่อให้เกิดอาการ เช่น หลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือยกแขนสูงเกินศีรษะ
  • หากเป็นภาวะข้อไหล่ติด ควรฝึกขยับข้อไหล่อย่างเหมาะสม เพื่อลดความฝืดและป้องกันอาการรุนแรงขึ้น
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกงอกทับเส้นเอ็นไหล่ ควรลดกิจกรรมที่ทำให้เกิดแรงกดทับบริเวณข้อไหล่ เลี่ยงการยกแขนสูงในระยะแรก เพราะอาจทำให้อาการปวดมากขึ้น

2. การใช้ยาเพื่อลดอาการปวด

  • ใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เพื่อลดอาการอักเสบและปวด
  • ในบางกรณีอาจพิจารณาการฉีดยาเพื่อลดอาการอักเสบในข้อไหล่ตามดุลพินิจของแพทย์

3. กายภาพบำบัด

  • การทำกายภาพบำบัด เช่น อัลตราซาวด์ คลื่นกระแทก (Shockwave Therapy) หรือฝังเข็ม เพื่อช่วยลดอาการปวดและเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อไหล่
  • การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ และป้องกันภาวะข้อไหล่ติด

หากอาการไม่ดีขึ้นด้วยวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัด แพทย์อาจพิจารณาทางเลือก การรักษาแบบผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้งานหัวไหล่ได้ตามปกติเร็วที่สุด

การรักษาแบบผ่าตัด

หากการรักษาแบบไม่ผ่าตัดไม่ได้ผล kdms Hospital มีแนวทางการรักษาโดยการผ่าตัดส่องกล้อง และผ่าตัดแบบเปิด ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมกับอาการของผู้ป่วย

  • ผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) เป็นเทคนิคผ่าตัดที่ใช้กล้องขนาดเล็กและอุปกรณ์พิเศษผ่านแผลขนาดเล็ก ทำให้บาดเจ็บน้อย ฟื้นตัวเร็ว ลดภาวะแทรกซ้อน ใช้รักษาภาวะข้อไหล่ติด เอ็นไหล่ฉีกขาด กระดูกงอกทับเส้นเอ็น หินปูนเกาะเส้นเอ็น และภาวะไหล่หลุดซ้ำ ช่วยแก้ไขความผิดปกติในข้อไหล่ได้อย่างแม่นยำ
  • ผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) เหมาะสำหรับกรณีที่มีความเสียหายรุนแรง เช่น ข้อไหล่เสื่อมที่ต้องเปลี่ยนข้อไหล่เทียม, เอ็นไหล่ขาดเรื้อรังที่ซ่อมไม่ได้ และกระดูกหักที่ต้องจัดให้เข้าที่และยึดตรึงด้วยโลหะดามกระดูก

การรักษาหัวไหล่ที่ kdms Hospital มีทีมแพทย์เฉพาะทางด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่ พร้อมเทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น MRI การส่องกล้องข้อไหล่ และ การทำกายภาพบำบัดเฉพาะทาง ที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ ลดระยะเวลาพักฟื้น และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างรวดเร็วที่สุด

รักษาหัวไหล่ที่ kdms Hospital ดีอย่างไร

kdms Hospital ให้การดูแลอาการปวดและบาดเจ็บที่หัวไหล่โดยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ วินิจฉัยสาเหตุของอาการได้อย่างแม่นยำด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เช่น MRI การส่องกล้องข้อไหล่ และอุปกรณ์กายภาพบำบัดเฉพาะทาง

แนวทางการรักษาที่ kdms Hospital จะพิจารณาการรักษาแบบไม่ผ่าตัดก่อน เช่น การใช้ยา กายภาพบำบัด หรือฉีดยาเพื่อลดการอักเสบ หากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจแนะนำ การผ่าตัดส่องกล้อง ซึ่งเป็นเทคนิคที่ช่วยลดการบาดเจ็บ ฟื้นตัวเร็ว และลดภาวะแทรกซ้อน

สำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะข้อไหล่เสื่อมรุนแรง ซึ่งไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ kdms Hospital มีทางเลือก ผ่าตัดเปลี่ยนข้อไหล่เทียม ทั้งแบบปกติและแบบกลับด้าน (Reverse Shoulder Arthroplasty) ซึ่งช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาใช้หัวไหล่ได้ดีขึ้น ลดอาการปวด และปรับปรุงคุณภาพชีวิตในระยะยาว

ที่ kdms Hospital เราให้การรักษาแบบองค์รวม ตั้งแต่การวินิจฉัย การฟื้นฟู ไปจนถึงการป้องกันอาการกลับมาเป็นซ้ำ เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้อย่างปกติและป้องกันความเจ็บปวดในระยะยาว

สรุป

อาการปวดหัวไหล่ ไม่ว่าจะเกิดจากภาวะไหล่ติด เอ็นหัวไหล่อักเสบ หรือการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ล้วนสามารถรักษาได้ หากได้รับการดูแลจากแพทย์เฉพาะทางอย่างใกล้ชิด สิ่งสำคัญคือไม่ควรปล่อยให้อาการเล็ก ๆ ลุกลามจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

kdms Hospital ให้บริการดูแลสุขภาพข้อไหล่อย่างครบวงจร ตั้งแต่วินิจฉัย รักษา ไปจนถึงการฟื้นฟู โดยทีมแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์สูง พร้อมเทคโนโลยีทันสมัย เช่น MRI การผ่าตัดส่องกล้อง และการทำกายภาพบำบัดเฉพาะทาง เพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วและกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข

คำถามที่พบบ่อย

Q: ปวดไหล่เกิดจากอะไรได้บ้าง

อาการปวดไหล่สามารถเกิดจากหลายสาเหตุ ได้แก่

  • การอักเสบของเส้นเอ็นและถุงน้ำรอบข้อไหล่ เช่น เอ็นหัวไหล่อักเสบ หรือถุงน้ำรอบข้อไหล่อักเสบ
  • ภาวะข้อไหล่ติด ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวของข้อไหล่ลดลงและปวดมากขึ้น
  • ภาวะข้อไหล่เสื่อม จากการใช้งานเป็นเวลานานหรือการเสื่อมตามอายุ
  • กระดูกงอกทับเส้นเอ็นไหล่ ทำให้เกิดแรงกดและเสียดสี จนนำไปสู่อาการปวดเรื้อรัง
  • อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บ เช่น ไหล่หลุด เอ็นไหล่ฉีกขาด หรือกระดูกหัก

หากมีอาการปวดไหล่ต่อเนื่อง หรือขยับข้อไหล่ลำบาก ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

อาการปวดไหล่ขวาและปวดไหล่ซ้ายอาจเกิดจากสาเหตุที่คล้ายกัน แต่ในบางกรณี อาจมีความแตกต่างกันในเรื่องของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

  • ปวดไหล่ขวา(สำหรับผู้ที่ถนัดขวา): มักเกี่ยวข้องกับการใช้งานหนัก เช่น การยกของ การทำงานที่ต้องใช้แขนขวาซ้ำ ๆ หรือการเล่นกีฬาที่ใช้แขนขวาเป็นหลัก
  • ปวดไหล่ซ้าย: นอกจากปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อและข้อต่อแล้ว อาการปวดไหล่ซ้ายอาจเกี่ยวข้องกับภาวะทางหัวใจ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ซึ่งมักมีอาการปวดร้าวไปที่แขน คอ หรือกรามร่วมด้วย

หากมีอาการปวดไหล่ซ้ายร่วมกับแน่นหน้าอก หายใจลำบาก หรือเวียนศีรษะ ควรรีบพบแพทย์ทันทีเพื่อตรวจวินิจฉัยว่ามีภาวะเกี่ยวกับหัวใจหรือไม่

หากอาการปวดไหล่ไม่รุนแรง สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ดังต่อไปนี้

  • ประคบร้อนหรือเย็น: ใช้ความเย็นในช่วง 48 ชั่วโมงแรกเพื่อลดการอักเสบ จากนั้นใช้ความร้อนเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อคลายตัว
  • พักการใช้งานหัวไหล่: หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หรือทำกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดแย่ลง
  • รับประทานยาแก้ปวด: เช่น พาราเซตามอล หรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs)
  • ยืดและบริหารข้อไหล่เบา ๆ: หลีกเลี่ยงการขยับข้อไหล่แบบรุนแรง แต่ควรฝึกยืดกล้ามเนื้อเพื่อป้องกันข้อไหล่ติด

หากอาการปวดไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 สัปดาห์ หรือรุนแรงขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาที่เหมาะสม

การรักษาหัวไหล่ที่ kdms Hospital มีแนวทางการรักษาด้วยการดูแลแบบครบวงจรโดยทีมแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ พร้อมเทคโนโลยีทันสมัยที่ช่วยให้การวินิจฉัยและรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

1. วินิจฉัยแม่นยำ

ด้วยทีมแพทย์เฉพาะทาง และมีเครื่องมือช่วยตรวจ เช่น X-ray Digital MRI ทำให้สามารถระบุสาเหตุของอาการปวดไหล่ได้อย่างละเอียด รวดเร็ว

2. รักษาแบบไม่ผ่าตัดเป็นทางเลือกแรก

เน้นการใช้ยา กายภาพบำบัด และการฉีดยาลดอักเสบก่อนพิจารณาการผ่าตัด

3. การผ่าตัดโดยแพทย์เฉพาะทาง

มีทีมแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่ พร้อมเทคนิค ผ่าตัดส่องกล้องที่ช่วยให้ฟื้นตัวเร็ว

4. เทคนิคการผ่าตัดที่ทันสมัย

  • ผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery) – แผลเล็ก ลดการบาดเจ็บ ฟื้นตัวเร็ว เหมาะกับภาวะข้อไหล่ติด เอ็นไหล่ฉีกขาด กระดูกงอกทับเส้นเอ็น และไหล่หลุดซ้ำ
  • ผ่าตัดแบบเปิด (Open Surgery) – สำหรับกรณีกระดูกหักที่ต้องจัดให้เข้าที่
  • เปลี่ยนข้อไหล่เทียม (Shoulder Replacement Surgery) – เหมาะสำหรับเอ็นไหล่ขาดชนิดเย็บซ่อมไม่ได้ หรือข้อไหล่เสื่อมขั้นรุนแรงที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต

5. โปรแกรมกายภาพบำบัดเฉพาะบุคคล

ออกแบบการฟื้นฟูให้เหมาะกับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อลดโอกาสกลับมาเป็นซ้ำ และช่วยให้กลับมาใช้งานไหล่ได้ตามปกติเร็วขึ้น

ที่ kdmsHospital เรามุ่งเน้นการรักษาที่แม่นยำและมีมาตรฐานสูง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีที่สุด และสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้อย่างมีคุณภาพในระยะยาว

วิดีโอที่เกี่ยวข้อง

Play Video

ปรึกษาอาการก่อนนัดพบแพทย์

พุธ, 19 มี.ค. 2025
แท็ก
ปวดไหล่ขวา
ปวดไหล่ วิธีแก้
ปวดหัวไหล่
ปวดไหล่ซ้าย
เอ็นหัวไหล่อักเสบ
ไหล่อักเสบ
ไหล่ติด
ปวดไหล่
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
  อาการปวดที่รบกวนชีวิตประจำวัน อาจจะเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพกระดูกและข้อที่ต้องได้รับการดูแล อย่าปล่อยให้อาการเล็กน้อยกลายเป็นเรื่องใหญ่  ...
package เริ่มต้นที่ 1800* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2025
ผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าจากอาการบาดเจ็บ เช่น เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด (ACL Injury) หรือโรคเกี่ยวกับข้อเข่าอื่นๆ โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่...
package 245,000* บาท
ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ เพื่อรักษาอาการเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear), ข้อไหล่เสื่อม หรือโรคเกี่ยวกับข้อไหล่อื่นๆ โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่...
package 275,000* บาท
บทความอื่นๆ
ปวดหัวไหล่เรื้้อรัง จากโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่ รู้ทันและดูแลอย่างถูกวิธี
ปวดหัวไหล่เรื้อรัง จากโรคหินปูนเกาะเส้นเอ็นหัวไหล่ รู้ทันและดูแลอย่างถูกวิธี
การรักษาหัวไหล่ที่ kdms ทางเลือกที่ใช่ของทุกอาการปวดไหล่
การรักษาหัวไหล่ที่ kdms ทางเลือกที่ใช่ของทุกอาการปวดไหล่
ข้อไหล่ติด อาการที่ใครก็เป็นได้ และรักษาหายได้ด้วยการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธี
ข้อไหล่ติด อาการที่ใครก็เป็นได้ และรักษาหายได้ด้วยการปฏิบัติตัวที่ถูกวิธี
เอ็นหมุนหัวไหล่อักเสบ
ทำความรู้จักกับเอ็นหมุนหัวไหล่อักเสบ พร้อมแนวทางการรักษา
top line line