บาดเจ็บจากเล่นกีฬา รักษาอย่างตรงจุด กับแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์การกีฬา

บาดเจ็บจากเล่นกีฬา

อุบัติเหตุหรือการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา คือ อาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นระหว่างเล่นกีฬา ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับการเล่นกีฬาทุกประเภท โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องมีการปะทะกันอย่างรุนแรง ยิ่งเพิ่มโอกาสที่นักกีฬาจะบาดเจ็บได้ง่าย โดยเฉพาะการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล และรักบี้ ซึ่งเป็นประเภทกีฬาที่มักมีการปะทะรุนแรง แต่กีฬาที่ไม่มีการปะทะอย่าง วิ่ง หรือปั่นจักรยานก็สามารถเกิดการบาดเจ็บได้เช่น หรือแม้แต่ผู้ที่ไม่ใช่นักกีฬาก็สามารถเกิดอาการนี้ได้ บทความนี้ ได้รวบรวมข้อมูลที่ควรรู้เกี่ยวกับอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา พร้อมด้วยสาเหตุ และวิธีป้องกันมาให้อ่านกัน

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่พบได้บ่อย

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬานั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ มีตั้งแต่การบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง จนไปถึงการบาดเจ็บที่รุนแรง อย่างกระดูกหัก สำหรับอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่พบได้บ่อย มีดังนี้

การบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue Injuries)

การบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อน (Soft Tissue Injuries)

อาการบาดเจ็บของเนื้อเยื่ออ่อนถือเป็นอาการที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการกระแทก หรือปะทะของนักกีฬา ทำให้เกิดอาการฟกช้ำบริเวณที่ได้รับการกระแทก สำหรับอาการหลักๆ ที่พบได้จากลักษณะภายนอก คือ มีรอยเขียว บวมช้ำ รวมถึง ยังมีอาการอื่นๆ เช่น อาการปวด บวม แดง ร้อน โดยเฉพาะในช่วง 3-5 วันแรก ที่ร่างกายจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบอาจมีอาการปวดมาก 

การอักเสบหรือฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น (Muscle and Tendon Injuries)

การอักเสบหรือฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น (Muscle and Tendon Injuries)

อีกหนึ่งการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่พบได้บ่อย คือ การอักเสบหรือฉีกขาดของกล้ามเนื้อ และเส้นเอ็นยึดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บมีอาการปวด บวม โดยอาจพบปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวข้อต่อได้ลำบากร่วมด้วย หากเกิดในตำแหน่งของกล้ามเนื้อหรือเอ็นรอบข้อต่อนั้นๆ

ข้อต่อและเอ็นยึดข้อต่อบาดเจ็บ (Joint and Ligament Injuries)

ข้อต่อและเอ็นยึดข้อต่อบาดเจ็บเป็นการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาที่เกิดหลังการบาดเจ็บหรือปะทะที่ค่อนข้างรุนแรง หรือการบิดหมุนของข้อต่อ โดยเอ็นยึดข้อต่อเป็นเส้นเอ็นที่ให้ความมั่นคงภายในข้อต่อนั้นๆ หากเกิดอาการฉีกขาด จะทำให้มีการปวด บวม หรือมีข้อเคลื่อนหลุด 

ใบบางรายอาจมีความรู้สึกหลวมบริเวณข้อต่อที่ได้รับบาดเจ็บ หรือมีการหลุดซ้ำของข้อต่อได้ ทำให้เกิดความลำบากหรือมีข้อจำกัดในการใช้งานข้อต่อนั้นๆ

กระดูกหัก

กระดูกหักที่เกิดจากการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา อาจเกิดจากอุบัติเหตุทำให้เกิดการกระแทกหรือบิดที่รุนแรง หรืออาจเกิดจากการบาดเจ็บของกระดูกซ้ำๆ ด้วยแรงกระทำต่อกระดูก โดยกระดูกหักอาจพบได้  3 รูปแบบ คือ

  • กระดูกหักแบบเปิด (Open Fracture) เป็นรูปแบบของกระดูกหักที่กระดูกจะทิ่มชั้นผิวหนังออกมา ทำให้เกิดเป็นแผล ซึ่งรูปแบบการหักแบบนี้มีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อและภาวะแทรกซ้อนตามมาได้สูง
  • กระดูกหักแบบปิด (Closed Fracture) เป็นรูปแบบกระดูกหักที่จะไม่มีรอยแผล กระดูกไม่ทิ่มออกมานอกชั้นผิดหนัง จะพบอาการปวด บวม และจำกัดการเคลื่อนไหวของรยางค์ส่วนที่บาดเจ็บ
  • กระดูกหักจากแรงกระทำซ้ำๆ (Stress Fracture) เกิดจากการที่กระดูกที่ได้รับบาดเจ็บนั้น โดนแรงกระทำแบบเดิมอย่างซ้ำๆ เช่น การรับแรงกระแทกอยู่เรื่อยๆ ทำให้กระดูกส่วนนั้นหนาตัวขึ้น เกิดรอยร้าวในกระดูกและสามารถหักได้ มักพบบริเวณกระดูกหน้าแข้ง (Tibia), กระดูกเท้า (Metatarsal Bone), กระดูกส้นเท้า (Calcaneus), กระดูกเชิงกราน (Pelvis) หรือคอสะโพก (Femoral Neck)

ส่องสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

ส่องสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬานั้นมีด้วยกันหลากหลายรูปแบบ ตั้งแต่อาการฟกช้ำ มีรอยเขียว และบวมแดง ซึ่งสามารถหายได้เองในเวลาสั้นๆ ไปจนถึงอาการกระดูกหักที่เรียกได้ว่าเป็นอาการที่มีความรุนแรง ในส่วนนี้จะชวนทุกคนมาดูสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬากันว่ามีอะไรบ้าง

เกิดอุบัติเหตุระหว่างการเล่น

สาเหตุแรกเกิดจากอุบัติเหตุระหว่างการเล่นกีฬา อาจจะเป็นจังหวะที่เอี้ยวตัว หรือบิดตัวหลบฝั่งตรงข้าม ในกีฬาฟุตบอล หรือบาสเกตบอล ทำให้เกิดการบิดหมุนผิดปกติของข้อต่อ หรือเกิดการฉีกขาดของกล้ามเนื้อและเอ็น นอกจากนี้ ยังสามารถเกิดขึ้นจากการปะทะกันจนทำให้เกิดอาการบาดเจ็บขึ้น

มีการใช้งาน หรือการบาดเจ็บเล็กน้อยของส่วนเดิมซ้ำๆ

อีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา คือ มีการใช้งานกล้ามเนื้อส่วนเดิมซ้ำๆ โดยไม่ได้พัก สามารถทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบ และฉีกขาดได้ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ หรือกระดูกเอง หากใช้งานบ่อยๆ ร่วมกับการบาดเจ็บซ้ำๆ ก็จะส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บได้ ดังตัวอย่างของกระดูกหักจากแรงกระทำซ้ำๆ (Stress Fracture) ที่ได้กล่าวไปข้างต้น

สัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณควรพบแพทย์ด่วน!

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬานั้นทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณอวัยวะได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น รวมถึงกระดูก อาการที่บ่งบอกว่าท่านควรปรึกษาแพทย์ ได้แก่

  • มีอาการปวด บวม แดง ร้อน ที่สงสัยว่าจะมีการอักเสบหรือติดเชื้อได้
  • บาดเจ็บรุนแรง สงสัยกระดูกหัก ข้อเคลื่อน หรือการฉีกขาดของเนื้อเยื่อต่างๆ
  • เดินหรือเคลื่อนไหวได้ลำบาก จำกัดการใช้งานในการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งบ่งถึงความรุนแรงที่มากของอวัยวะที่บาดเจ็บนั้นๆ
  • รู้สึกข้อติด ไม่สามารถเหยียด-งอข้อต่อได้อย่างเต็มที่

แนวทางการรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

สำหรับการรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาสามารถรักษาได้ทั้งการใช้ยา การทำกายภาพบำบัด หรือการผ่าตัดในกรณีที่มีข้อบ่งชี้ ซึ่งรูปแบบการรักษาต่างๆ เหล่านี้ จำเป็นต้องอาศัยแพทย์จะทำการตรวจและประเมินอาการ หลังจากนั้นจะเลือกรูปแบบการรักษาที่เหมาะกับผู้ป่วยมากที่สุด ซึ่งแนวทางในการรักษา มีดังนี้

รักษาด้วยการไม่ผ่าตัด

รักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา

สำหรับการรักษาอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเบื้องต้นนั้น หากเป็นการบาดเจ็บที่ไม่รุนแรง จะแนะนำให้ใช้หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น RICE ซึ่งย่อมาจากคำภาษาอังกฤษ 4 คำดังนี้

  • Rest เมื่อเกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา หรือเกิดการบาดเจ็บเฉียบพลันระหว่างที่เล่นกีฬา ให้หยุด พักการใช้งานส่วนที่บาดเจ็บ โดยเฉพาะในช่วง 72 ชั่วโมงแรก
  • Ice หลังจากพักแล้ว ให้เริ่มประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมและปวด ในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก และสิ่งที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการประคบร้อนโดยเด็ดขาดในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก  เพราะอาจทำให้ปวดหรือบวมมากขึ้น
  • Compression การใช้แรงกดในที่นี่ไม่ได้หมายถึงการบีบนวดหรือกด แต่ให้ใช้ผ้าพัน หรือรัดตำแหน่งที่บาดเจ็บไว้เพื่อลดความบวม (Bandaging, Splinting)
  • Elevation ยกรยางค์หรือส่วนของร่างกายที่เกิดการบาดเจ็บให้อยู่ในที่สูงกว่าระดับหัวใจ เพื่อเป็นการลดอาการบวม โดยเฉพาะในช่วง 24-48 ชั่วโมงแรก

สำหรับรูปแบบการรักษาที่ไม่ใช่การผ่าตัด แพทย์อาจให้ยาบรรเทาอาการปวด ควบคู่ไปกับยาคลายกล้ามเนื้อ บางครั้งอาจฉีดยา เพื่อลดอาการปวดเฉพาะจุด รวมทั้งอาจมีการยืด (stretching) กล้ามเนื้อบริเวณที่บาดเจ็บ หรือฝึกบริหารเพื่อสร้างกล้ามเนื้อร่วมด้วย

รักษาด้วยการผ่าตัด

รักษาด้วยการผ่าตัด

การรักษาอาการบาดเจ็บจาการเล่นกีฬาด้วยการผ่าตัดขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่กับว่า อาการบาดเจ็บมีความรุนแรงมากขนาดไหน หากอาการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นมีผลกับการใช้งาน ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว หรือเป็นการบาดเจ็บฉีกขาดของส่วนที่สำคัญและมีความรุนแรง อาจจำเป็นต้องอาศัยการรักษาด้วยการผ่าตัด เพื่อทำให้อาการนั้นดีขึ้น สำหรับการรักษาด้วยการผ่าตัดของการบาดเจ็บในแต่ละส่วนนั้นจะขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ทางการแพทย์

เลือกใช้การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาด้วยเวชศาสตร์การกีฬา

เลือกใช้การป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาด้วยเวชศาสตร์การกีฬา

เวชศาสตร์การกีฬา เป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการป้องกัน ส่งเสริม  รักษา และฟื้นฟูร่างกายของนักกีฬาหรือผู้ที่เล่นกีฬา โดยการป้องกันการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬานั้นจะต้องมีการเตรียมความพร้อมทางด้านร่างกาย ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ รวมถึง ต้องมีการดูแลสภาพจิตใจให้พร้อม มีการนอนหลับที่เพียงพอ และมีสมาธิจดจ่ออยู่เสมอ ซึ่งทางโรงพยาบาล kdms มีศูนย์ความชำนาญด้านการให้การรักษาเกี่ยวกับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ ที่ช่วยฟื้นฟูและเสริมสร้างกล้ามเนื้อ นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้อีกด้วย โดยสามารถเลือกโปรแกรมได้ตามสัดส่วนที่ต้องการส่งเสริม สำหรับเวชศาสตร์การกีฬานั้นมีประโยชน์ในหลายๆ ด้าน ดังนี้

  • เพิ่มความแข็งแรงของสมรรถภาพร่างกาย
  • ฟื้นฟูอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • สามารถป้องกันอาการบาดเจ็บที่อาจเกิดจากการเล่นกีฬาได้

การบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาเกิดขึ้นด้วยกันหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็น อาการบาดเจ็บเล็กๆ น้อยๆ อย่างแผลถลอก ฟกช้ำ ไปจนถึงการบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น รวมไปถึง การบาดเจ็บที่ข้อต่อและกระดูก ซึ่งวิธีการรักษาก็จะแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับอาการของโรค ที่สำคัญอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาสามารถป้องกันได้ด้วยเวชศาสตร์การกีฬา ซึ่งเป็นศาสตร์ที่ช่วยป้องกัน ส่งเสริม และรักษา ฟื้นฟู สภาพร่างกายของนักกีฬา รวมถึง ผู้ที่ต้องการออกกำลังกายทั่วไป ก็สามารถปรึกษาได้ เพื่อทำให้เราสามารถเล่นกีฬาที่เรารักได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด 

บทความโดย : นพ.อดินันท์ อภิวัฒน์การุญ ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่

จันทร์, 17 ต.ค. 2022
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
ผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าจากอาการบาดเจ็บ เช่น เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด (ACL Injury) หรือโรคเกี่ยวกับข้อเข่าอื่นๆ โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่...
package 245,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ เพื่อรักษาอาการเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear), ข้อไหล่เสื่อม หรือโรคเกี่ยวกับข้อไหล่อื่นๆ โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่...
package 275,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
บทความอื่นๆ
เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบคืออะไร? อาการบาดเจ็บที่คนชอบออกกำลังกายควรรู้ไว้
เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบคือ? คนออกกำลังกายควรรู้
ข้อเท้าหักต้องรักษาอย่างไร ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
ข้อเท้าหักต้องรักษาอย่างไร ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
กล้ามเนื้อฉีกขาด
อาการกล้ามเนื้อฉีกขาด พร้อมแนวทางการรักษาและวิธีฟื้นฟู
กล้ามเนื้ออักเสบ รักษา
ตอบทุกข้อสงสัย! ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาอย่างไร?
top line

Login