“การเดินให้ช้าลง” ช่วยป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ

เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงวัยมักเผชิญกับความเสื่อมถอยของสมรรถภาพต่างๆ ในร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นผิวหนังหย่อนคล้อย การทำงานของระบบต่างๆ เริ่มลดลง รวมถึงปัญหาใหญ่อย่างกระดูกและข้อ หรือปัญหาการเดิน โดยเฉพาะผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เริ่มมีความเสื่อมถอยของกระดูกและข้อ และเริ่มพบความผิดปกติซึ่งเป็นปัญหาส่วนใหญ่ของวัยที่เพิ่มมากขึ้น

องค์การอนามัยโลกระบุว่า ผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปจะมีแนวโน้มหกล้ม ร้อยละ 28-35 ต่อปี และจะเพิ่มเป็นร้อยละ 32-42 เมื่อก้าวเข้าสู่อายุ 70 ปีเป็นต้นไป ความเสี่ยงของการหกล้มจะยิ่งมากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือมีโรคประจำตัว เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือผู้สูงวัยมีปัญหาเรื่องการทรงตัว ดังนั้นผู้สูงวัยควรเดินให้ช้าลง และระมัดระวังการเดิน เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้น

ความเสี่ยงจากการเดินของผู้สูงอายุที่ต้องเผชิญ

ภาวะหกล้ม เกิดจากการสูญเสียการทรงตัวขณะเดิน หรือวิ่ง เนื่องจากความแข็งแรงของกล้ามเนื้อลดลง และการทรงตัวไม่ดีทำให้ผู้สูงวัยเกิดการหกล้ม และเกิดอันตรายต่อร่างกาย

ภาวะการทรงตัวไม่ดี (balance) หรือการสูญเสียการทรงตัว อาจจะเกิดจากอาการเวียนศีรษะ, ผู้สูงวัยที่มีปัญหากระดูกและข้อเสื่อม, กล้ามเนื้ออ่อนแรง, ระบบประสาทรับสัมผัสเสื่อม, โรคทางสมองที่ส่งผลต่อการทรงตัว และอีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญของการหกล้มในผู้สูงอายุคือ การใช้ยาหลายๆ ตัวที่มีผลข้างเคียงทำให้วิงเวียน ง่วง และรบกวนการทรงตัว เป็นต้น

อาการเดินเซ ที่เกิดจากข้ออักเสบ (Arthritis) อาการปวด หรืออาการชาบริเวณข้อเข่า เท้า หรือระบบประสาท เวสติบิวลาที่ไม่สมดุล หรือ จากความกลัวการล้ม (fear of falling)

ภาวะการเริ่มเดินล้มเหลว (Isolated gait ignition) คือภาวะที่มีอาการไม่สามารถเริ่มต้นก้าวเดินได้ และไม่สามารถเดินได้ต่อเนื่อง (Sustain Locomotion) การเริ่มต้น และการหมุนตัวเริ่มทำได้ช้าลง เวลาเดินต้องหยุดบ่อย (Start-and-turn hesitation) ก้าวเท้าไม่ออก สับเท้าเดินอยู่กับที่ ซึ่งภาวะนี้พบได้ในบ่อยในหลายโรคของผู้สูงอายุ เช่น ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ หรือโรคพาร์กินสัน เป็นต้น

ปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงจากการเดินของผู้สูงอายุ

ปัจจัยที่ส่งผลทำให้เกิดความเสี่ยง หรืออันตรายขณะเดินในผู้สูงวัย เกิดได้ทั้งจากปัจจัยภายในร่างกาย เช่น สุขภาพกาย ความเสื่อมถอยของร่างกาย และโรคประจำตัวที่ส่งผลต่อการเดิน ส่วนปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น สภาพแวดล้อมต่างๆ เป็นต้น

ปัญหาสายตา เมื่ออายุมากขึ้น ผู้สูงวัยเริ่มมีปัญหาทางสายตา ดวงตาเริ่มมองเห็นไม่ชัดเจน บางครั้งทำให้คาดคะเนระยะทางได้ไม่ถูกต้อง หรือโรคต้อที่ทำให้มองเห็นไม่ชัด จึงเกิดการหกล้ม หรือเกิดอันตรายต่าง ๆ

ปัญหากระดูกและข้อ เกิดการเปลี่ยนแปลงข้อต่อ และเอ็นที่อ่อนแอลง ส่งผลต่อการทรงตัวที่ไม่มั่นคง หรือมีอาการเท้าชา

ปัญหาจากโรคประจำตัว ผู้สูงวัยบางรายที่มีโรคประจำตัว ส่งผลต่อปัญหาการเดิน หรือการหกล้มได้ เช่น โรคทางเดินปัสสาวะ ทำให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาปัสสาวะบ่อยหรือกลั้นไม่อยู่ ต้องรีบเร่งเดินเข้าห้องน้ำ และทำให้เกิดการหกล้มบ่อยครั้ง  เป็นต้นโรคผิดปกติของกล้ามเนื้อและเส้นประสาท (Neuromuscular diseases) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease) สมองส่วนหน้าฝ่อจากความเสื่อม (Frontal lobe atrophy) และภาวะกล้ามเนื้อส่วนขาอ่อนแรง

ปัญหาจากการเดินเร็ว และจังหวะก้าวยาว ทำให้เสียการทรงตัวขณะก้าวเดิน เกิดอาการเดินเซได้  ทำให้หกล้ม หรือเกิดอุบัติเหตุได้

ปัญหาที่เกิดจากปัจจัยภายนอก หรือสภาพแวดล้อม พื้นทางเดิน หรือสิ่งแวดล้อมไม่ปลอดภัย เช่น พื้นเปียก ลื่น ขรุขระ ของในบ้านวางเกะกะ ห้องน้ำไม่มีราวเกาะ หรือบันไดแคบและชัน เป็นต้น

การเดินให้ช้าลง ช่วยป้องกันความเสี่ยงจากการอุบัติเหตุ

การเดินอย่างระมัดระวัง หรือการเดินให้ช้าลง (Changes in Gait) เป็นตัวช่วยสำคัญในการป้องกันความเสี่ยงหรืออันตรายให้แก่ผู้สูงวัยได้ ดังนี้

การก้าวเท้าให้สั้นลง ขณะเดินผู้สูงวัยควรก้าวเท้าให้สั้นลง หรืออยู่ในระยะที่พอดี ไม่ควรรีบก้าวเท้า หรือมีจังหวะก้าวเท้าที่ยาวจนเกินไป อาจจะทำให้เสียการทรงตัว และหกล้มได้

การเดินด้วยส้นเท้า ขณะเดินค่อยๆ ยกปลายเท้าขึ้น จนยืนด้วยส้นเท้า และค่อยๆ ลดปลายเท้าลง

การออกกำลังกายด้วยวิธีการเดินช้า ช่วยสร้างเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และเพิ่มความสามารถในการทรงตัว เช่น เดินอย่างต่อเนื่องวันละ 30 นาที อย่างน้อย 4-5 วันต่อสัปดาห์ หรือแบ่งเป็นช่วง ช่วงละ 10-15 นาที แล้วค่อย ๆ เพิ่มระยะเวลาให้ยาวขึ้น

ราคา….ค่าล้มหรืออุบัติเหตุจากการเดิน

ในต่างประเทศ พบว่า ค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้สูงอายุที่หกล้ม สูงถึงแสนกว่าบาทต่อคน ต่อครั้ง หากรวมค่าใช้จ่ายทางอ้อมที่เกิดขึ้น เช่น รายได้ที่ครอบครัวต้องเสียไป เมื่อต้องออกจากงานมาดูแล หรือรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นหากต้องจ้างคนดูแล โดยประมาณการว่าอาจสูงถึง 1,200,000 บาท ต่อคน ต่อปี

จะดีกว่าไหม หากผู้สูงวัยได้มีการดูแลป้องกันตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การได้รับข้อมูลวิธีการดูแลตนเองอย่างถูกต้อง การใช้อุปกรณ์ช่วยเดิน การตรวจประเมินการทรงตัวสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อประเมินความเสี่ยงในการหกล้มสำหรับผู้สูงอายุ และความเสี่ยงของการเกิดโรคกระดูกและข้อต่าง ๆ จากแพทย์เฉพาะทางและผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ

หากท่านมีปัญหาการทรงตัว หรือเกิดอาการเกี่ยวกับโรคกระดูกและข้อ สามารถเข้ารับการปรึกษาได้ทีโรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีมีสุข

พุธ, 04 ส.ค. 2021
แท็ก
หกล้ม
ผู้สูงวัย
ผู้สูงอายุ
Balance
การเดิน
ทรงตัวไม่ดี
เดินเซ
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
บทความอื่นๆ
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ประโยชน์ และความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ประโยชน์ และความสำคัญที่ไม่ควรมองข้าม
อันตรายหรือไม่ ! ขยับท่าไหนก็มีเสียงกระดูกลั่น
ทำไมต้องกายภาพบำบัดหลังผ่าตัดกระดูกและข้อ ?
เคลื่อนไหวลำบาก ออกกำลังได้จำกัด ให้ “ธาราบำบัด” ช่วยฟื้นฟู
top line

Login