รวมอาหารที่ห้ามกินสำหรับโรครูมาตอยด์ พร้อมวิธีดูแลตัวเองที่ถูกต้อง

รวมอาหารที่ห้ามกินสำหรับโรครูมาตอยด์ พร้อมวิธีดูแลตัวเองที่ถูกต้อง
Key Takeaway

  • การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ห้ามกินในกลุ่มผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ช่วยลดการอักเสบ บรรเทาอาการปวด และลดโอกาสเกิดโรคร่วมอื่นๆ ได้
  • อาหารที่ควรกินสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ได้แก่ ผักและผลไม้หลากสี ปลาที่มีโอเมกา 3 น้ำมันมะกอก ธัญพืชไม่ขัดสี ถั่ว และชาเขียว
  • อาหารที่ห้ามกินสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ได้แก่ อาหารแปรรูป ไขมันทรานส์ อาหารที่มีน้ำตาลสูง อาหารประเภทแป้ง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
  • รักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ kdms Hospital ที่นี่มีทีมแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง วินิจฉัยแม่นยำ มียารักษาโรคครบครัน ำร้อมปรับการรักษาให้เหมาะสมอย่างใกล้ชิด

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) คือภาวะที่ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานผิดปกติ ในลักษณะของการทำลายตัวเอง มักเริ่มจากบริเวณข้อเล็กๆ ภายในร่างกายเป็นหลัก ทำให้เกิดปวดข้อ ในลักษณะสมมาตร รวมถึงมีอาการฝืด ตึง หรือขัดตามข้อในช่วงเช้าได้ด้วย

สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรครูมาตอยด์ การดูแลตัวเองอย่างถูกวิธีนั้นถือว่าเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างมาก เนื่องจากการเลือกทานอาหารที่เหมาะสมช่วยลดโอกาสเกิดอาการปวดหรือบวมตามข้อ มาดูกันว่าโรครูมาตอยด์มีอาหารที่ห้ามกินคืออะไรบ้าง และอาหารที่ควรกินเพื่อบรรเทาอาการ พร้อมวิธีดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์อย่างถูกต้องตามคำแนะนำของคุณหมอได้ในบทความนี้

โรครูมาตอยด์ การเลือกกินสำคัญกว่าที่คิด

โรครูมาตอยด์ การเลือกกินสำคัญกว่าที่คิด

วิธีดูแลตัวเองในกลุ่มผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ผ่านการเลือกรับประทานอาหาร แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนช่วยให้หายขาดจากโรคได้ แต่การเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ห้ามกินในกลุ่มผู้ป่วยโรครูมาตอยด์นั้นสามารถลดการอักเสบ และบรรเทาอาหารปวดลงได้ หากเราสามารถลดการอักเสบที่เกิดขึ้นได้ โอกาสที่จะเกิดโรคร่วมอื่นๆ ก็จะมีน้อยลงด้วยเช่นกัน

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

อาหารที่ควรกินสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

อาหารที่ควรกินสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ 

มาเริ่มต้นวิธีดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ง่ายๆ ผ่านการเลือกอาหารที่มีประโยชน์เพื่อลดผลกระทบจากโรค โดยแพทย์แนะนำให้มองหาอาหารที่มีโอเมกา 3 และกลุ่มอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง โดยมีอาหารที่ควรเลือกกิน ดังนี้

1. ผักและผลไม้หลากสี

แพทย์แนะนำให้เลือกกินผักและผลไม้หลากสี โดยเฉพาะกลุ่มที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เพราะมีส่วนช่วยในการลดและยับยั้งการอักเสบตามร่างกายและข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีผักและผลไม้หลากสีที่แนะนำ ได้แก่ เบอร์รี บรอกโคลี ส้ม แอปเปิ้ลแดง แอปเปิ้ลเขียว เป็นต้น

2. ปลาที่มีโอเมก้า 3

ปลาที่มีโอเมก้า 3 เป็นอีกหนึ่งอาหารที่มองข้ามไปไม่ได้เลยสำหรับผู้ที่มองหาวิธีดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ผ่านการเลือกกิน เพราะไขมันโอเมกา 3 ในปลามีสารต้านอนุมูลอิสระสูง มีฤทธิ์ยับยั้งการอักเสบได้ดี โดยปลาที่มีโอเมก้า 3 ที่แนะนำ ได้แก่ แซลมอน ทูน่า ปลากะพงแดง ปลาทู เป็นต้น

3. น้ำมันมะกอก

สำหรับน้ำมันที่ใช้ประกอบอาหารในกลุ่มผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ควรใช้น้ำมันมะกอกเป็นหลัก เพราะไม่มีไขมันโอเมก้า 6 ที่กระตุ้นการอักเสบของโรครูมาตอยด์ได้ อย่างไรก็ตาม ควรบริโภคน้ำมันมะกอกในปริมาณที่เหมาะสม เพราะการกินมากไปก็อาจทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นได้เช่นกัน

4. ธัญพืชไม่ขัดสี

วิธีดูแลตัวเองในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ควรเลือกกินธัญพืชไม่ขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ เป็นอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง พร้อมฤทธิ์ต้านการอักเสบ ลดโอกาสเกิดการอักเสบจากตัวโรคได้ พร้อมยังมีส่วนช่วยบรรเทาอาการปวดในกลุ่มผู้ป่วยได้

5. ถั่ว

อาหารประเภทถั่ว เมล็ดพืช อัลมอนต์ เมล็ดแฟลกซ์ เป็นอาหารที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ มีส่วนช่วยลดการอักเสบตามร่างกายได้ และถั่วยังมีโปรตีนที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบข้อต่อให้แข็งแรง ช่วยบรรเทาอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

6. ชาเขียว

ชาเขียวอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบและชะลอการทำลายกระดูกอ่อนที่เกิดจากตัวโรครูมาตอยด์ได้

อาหารที่ห้ามกินสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

อาหารที่ห้ามกินสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

อาหารที่ห้ามกินสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ส่วนมากแพทย์จะแนะนำให้หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโอเมก้า 6 สูง เพราะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้ ควรลดอาหารประเภทโซเดียมและเกลือ รวมทั้งอาหารที่ทำให้น้ำหนักเกินเป็นหลัก โดยมีรายละเอียดดังนี้

1. อาหารแปรรูป

อาหารที่ผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ อาหารแปรรูป เช่น  บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ของหมัก ของดอง เนื้อแดง เนื้อแปรรูป ไส้กรอก เบคอน แฮม เป็นต้น เพราะอาหารเหล่านี้มีเกลือและโซเดียมสูง ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำเพื่อเจือจางส่วนผสมเหล่านี้ เมื่อร่างกายขาดน้ำ ก็จะทำให้บริเวณที่มีอาการรู้สึกปวดมากขึ้น และยังส่งผลให้ข้อบวมมากขึ้นด้วยเช่นกัน

2. ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัวสูง

ไขมันทรานส์ ไขมันอิ่มตัวสูง เช่น อาหารทอด อาหารจานด่วน อาหารขยะ เนยเทียม ขนมกรุบกรอบ เป็นต้น อาหารเหล่านี้ก็เป็นสิ่งที่ห้ามกินในผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เพราะมีฤทธิ์กระตุ้นการอักเสบ และยังเพิ่มการสะสมไขมันในร่างกาย เพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดข้ออักเสบและกระตุ้นการอักเสบตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้

3. อาหารที่มีน้ำตาลสูง 

อาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำอัดลม ขนมหวาน ชานมไข่มุก รวมถึงของหวานที่ทำให้อ้วนต่างๆ นอกจากจะทำให้น้ำหนักเพิ่มมากขึ้นแล้ว น้ำตาลยังไปกระตุ้นการอักเสบ และมีสาร AGEs เยอะ ซึ่งสารตัวนี้เป็นสาเหตุให้เกิดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ทำให้อาการของโรครูมาตอยด์กำเริบได้ด้วย 

4. อาหารประเภทแป้ง

อาหารประเภทแป้ง เช่น ขนมปังพาสต้า พิซซ่า และอาหารที่มีกลูเตนสูง ก็เป็นอีกหนึ่งอาหารที่ห้ามกินสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ เนื่องจากอาหารกลุ่มนี้กระตุ้นการอักเสบตามและส่งผลต่อการกำเริบของโรคได้ นอกจากนี้น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลโดยตรงกับข้อที่ปวดอยู่แล้ว ให้รู้สึกปวดมากขึ้นไปอีกจากที่ต้องรับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นตามมา

5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เชิงว่าเป็นอาหารที่ห้ามกินของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์เสียทีเดียว แต่แอลกอฮอล์สามารถส่งผลต่อสุขภาพในด้านอื่นๆ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อโรครูมาตอยด์โดยอ้อมได้ จึงจัดเป็นอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง

วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

วิธีดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยโรครูมาตอยด์

วิธีดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ทำได้ตามคำแนะนำของแพทย์ ดังนี้

  • ต้องติดตามการรักษาตามนัดหมออย่างสม่ำเสมอ
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์อย่างเคร่งครัด
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่กระตุ้นการอักเสบ ตามอาหารที่ห้ามกินของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ข้างต้น
  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ 
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 
  • ระมัดระวังการติดเชื้อ ควรล้างมือบ่อยๆ

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รักษาที่ kdms Hospital ดีอย่างไร

นอกจากวิธีดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ และอาหารที่ห้ามกินของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ที่ควรรู้แล้ว ผู้ป่วยควรเข้ารับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ในโรงพยาบาลที่มีคุณภาพด้วยเช่นกัน แนะนำให้มาที่ kdms Hospital ที่นี่มีจุดเด่นดังนี้

  • ที่นี่มีทีมแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง โดยเฉพาะโรคข้อและ Rheumatism ที่มากประสบการณ์
  • มีการวินิจฉัยแม่นยำ รวดเร็ว ทั้งการตรวจเลือดอย่างละเอียด ถ่ายภาพรังสีขั้นสูง ทั้งการทำ MRI และ X-Ray ที่ทำให้วินิจฉัยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้ตั้งแต่ระยะแรก
  • มียารักษาสำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ครบครัน
  • มีการติดตามผล และปรับแผนการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้อย่างใกล้ชิด
  • มีการดูแลแบบองค์รวม ประสานงานกับแพทย์โรคต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรครูมาตอยด์ได้ เช่น แพทย์ศัลยกรรมกระดูก แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู เป็นต้น

สรุป

ผู้ป่วยโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ เพื่อลดโอกาสเกิดการอักเสบตามข้อ และลดอาการปวดจากตัวโรค โดยเน้นเลือกกินอาหารที่มีโอเมก้า 3 รวมถึงกลุ่มอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ห้ามกินของผู้ป่วยโรครูมาตอยด์ ไม่ว่าจะเป็น เกลือ โซเดียม ไขมันทรานส์ น้ำตาล และอาหารที่ทำให้น้ำหนักเกินอื่นๆ รวมทั้งหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาได้อีกด้วย

บทความโดย พญ.อักษิกา สาลิง แพทย์เฉพาะทางด้านอายุรศาสตร์โรคข้อและรูมาติสซั่ม

จันทร์, 06 ม.ค. 2025
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
บทความอื่นๆ
รวมอาหารที่ห้ามกินสำหรับโรครูมาตอยด์ พร้อมวิธีดูแลตัวเองที่ถูกต้อง
รวมอาหารที่ห้ามกินสำหรับโรครูมาตอยด์ พร้อมวิธีดูแลตัวเองที่ถูกต้อง
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการผิดปกติตามข้อต่อ พร้อมแนวทางรักษา
โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาการผิดปกติตามข้อต่อ พร้อมแนวทางรักษา
top line line