กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
กระดูกต้นแขน คือ กระดูกที่อยู่บริเวณหัวไหล่ ไปจนถึงข้อศอก พบว่ากระดูกต้นแขนหักบ่อยประมาณ 5-10% ของเคสกระดูกหักทั้งหมด มีลักษณะการหักคล้ายกับกระดูกแขนหักทั่วไป คือ บริเวณตำแหน่งต้น ตำแหน่งกลาง และตำแหน่งปลาย โดยมีสาเหตุมาจากการถูกกระแทกบริเวณต้นแขนโดยตรง และการล้มโดยเอาบริเวณข้อศอก หรือหัวไหล่ลงรับน้ำหนัก
กระดูกต้นแขนหัก (Humerus Fracture) จะมีอาการแบบไหน มีการพยาบาลผู้ป่วยเบื้องต้นอย่างไร รักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง ต้องกายภาพบำบัดหรือไม่ แล้วจะมีอาการอย่างอื่นแทรกซ้อนหรือไม่ มาหาคำตอบ พร้อมการรักษาที่ถูกต้องได้ในบทความนี้
Table of Contents
Toggleกระดูกต้นแขนหัก จะมีอาการอย่างไร
อาการทั่วไปของกระดูกต้นแขนหัก (Humerus Fracture) คืออาการปวดและบวมบริเวณต้นแขนหลังได้รับการกระแทก รู้สึกเจ็บเมื่อขยับแขน และอาจจะมีอาการแขนผิดรูป แขนคด แขนงอ ร่วมด้วยในกรณีที่กระดูกต้นแขนหักแบบสมบูรณ์ และในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุรุนแรง อาจมีแผลเปิดร่วมกับกระดูกหัก ซึ่งมีความเสี่ยงในการติดเชื้อร่วมด้วย ควรรีบเข้าพบแพทย์โดยด่วน
สาเหตุของกระดูกต้นแขนหัก(Humerus Fracture)
กระดูกต้นแขนหัก มีสาเหตุมาจากการถูกกระแทกบริเวณต้นแขนอย่างรุนแรง เช่น อุบัติเหตุทางจราจร การเกิดอุบัติเหตุหกล้มแล้วใช้บริเวณไหล่และข้อศอกค้ำยันเพื่อรับน้ำหนัก รวมไปถึงการเล่นกีฬาที่ต้องมีการปะทะรุนแรง นอกจากนี้ในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคกระดูกบาง และกระดูกเปราะ ควรระวังกระดูกต้นแขนหักเป็นพิเศษ เพราะการปะทะแบบไม่รุนแรง หรือการล้มแบบเบาๆ ก็อาจเพิ่มความเสี่ยงให้กระดูกหักได้ ควรตรวจมวลกระดูกอยู่เป็นประจำเพื่อรู้เท่าทันโรคกระดูกพรุน และใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเพื่อป้องกันกระดูกต้นแขนหัก
วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เมื่อกระดูกต้นแขนหัก (Humerus Fracture)
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อกระดูกต้นแขนหัก ทำได้โดยการนำไม้มาดามแขน แพทย์แนะนำให้ดามทั้งแขน ตั้งแต่บริเวณเลยหัวไหล่ ยาวไปจนถึงบริเวณข้อศอก ในกรณีที่ไม่มีไม้ดาม แนะนำให้ใช้ผ้ามาคล้องแขนและคอ ให้กระดูกต้นแขนแนบไปกับตัว ในการช่วยประคองไปให้แขนห้อยไปมา
และที่สำคัญคือ เมื่อกระดูกต้นแขนหัก นอกจากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้ว ไม่ควรขยับแขน เพราะเสี่ยงทำให้กระดูกหักเพิ่มขึ้นไปอีกได้
นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital
กระดูกต้นแขนหัก ไม่ผ่าตัดได้หรือไม่
กระดูกต้นแขนหัก (Humerus Fracture) แบ่งตามส่วนของกระดูก หากกระดูกบริเวณส่วนต้น ใกล้กับข้อไหล่หัก หากมีการเคลื่อนไม่เยอะ อยู่ในองศาที่รับได้ แพทย์จะพิจารณาใส่เฝือก หรือใช้ที่ห้อยแขน เป็นแนวทางในการรักษาแทนการผ่าตัด
เช่น เดียวกันกับบริเวณส่วนกลางต้นแขนที่มีการหักแบบทั้งหมด และมีการเคลื่อน สามารถใส่เฝือกและจัดแนวกระดูกดูก่อนได้ หากหลังใส่เฝือกแล้วแนวกระดูกอยู่ในแนวที่ยังรับได้ แพทย์จะพิจารณาใส่เฝือกในการรักษาต่อไปจนหาย
ปกติแล้วการใส่เฝือกรักษากระดูกต้นแขนหัก จะใช้เวลาในการรักษาประมาณ 4-6 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับการ X-ray ติดตาม โดยหลังจากใส่เฝือกแล้วจะมีการ X-ray ติดตามสัปดาห์ละครั้งในช่วง 2 สัปดาห์แรก หากพบว่าแนวกระดูกไม่เคลื่อน ยังอยู่ที่เดิมก็ใส่เฝือกต่อได้ จนครบ 1 เดือน แพทย์จะนัด X-ray ดูลักษณะของกระดูกที่พอกขึ้นมา หากคนไข้ไม่รู้สึกเจ็บแล้วก็สามารถถอดเฝือกออกได้
ผ่าตัดรักษากระดูกต้นแขนหัก ทำได้อย่างไร
แพทย์จะพิจารณาผ่าตัดรักษากระดูกต้นแขนหัก ใน 3 กรณี ดังนี้
- กระดูกต้นแขนส่วนต้น มีการหักเป็นหลายชิ้นและมีการเคลื่อนเยอะ
- กระดูกต้นแขนส่วนกลาง ที่แนวกระดูกยังไม่ดี หลังได้การจัดกระดูกและใส่เฝือก
- กระดูกต้นแขนส่วนปลาย ที่เป็นกระดูกหักแบบสมบูรณ์ทั้งหมด
โดยทั้ง 3 กรณีควรได้รับการรักษาแบบผ่าตัด ยกเว้นกรณีที่เป็นกระดูกหักแบบไม่เคลื่อนเลย หรือสภาพร่างกายคนไข้ไม่เหมาะสมต่อการผ่าตัด โดยมีวิธีการผ่าตัด ดังนี้
- ตำแหน่งต้นกระดูกหรือตำแหน่งปลายแขนหัก แพทย์จะผ่าตัดเปิดแผลเพื่อจัดเรียงแนวกระดูก และใส่เหล็กดามแบบแผ่นเพื่อช่วยให้กระดูกสมานตัวได้รูป
- ตำแหน่งกระดูกกลางแขนหัก แพทย์จะพิจารณารูปแบบการหักก่อน หากมีการแตกหักหลายชิ้น รุนแรง แพทย์จะผ่าตัดแบบเปิดเพื่อรักษาผ่าตัดใส่เหล็กดามแบบแผ่น แต่ในกรณีที่มีการหักหลายชิ้น สามารถจัดแนวกระดูกให้กลับมาได้ แพทย์จะสอดเหล็กแท่งช่วยดาม ได้แผลที่เล็กลงมา
หลังจากผ่าตัดเสร็จเรียบร้อยในช่วงแรก แพทย์จะแนะนำให้ใส่ที่ห้อยแขนเพื่อช่วยในเรื่องของการรับน้ำหนัก ลดการปวดของแผล แต่ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่ได้ใช้งานแขนเยอะ หรือไม่จำเป็นต้องลุกขึ้นเดินไปไหน ผู้ป่วยสามารถถอดที่ห้อยแขนออกได้เช่นกัน
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดรักษากระดูกต้นแขนหัก
- ในช่วง 2 สัปดาห์แรกก่อนตัดไหม ควรเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ
- ในช่วง 2 สัปดาห์แรก สามารถขยับข้อมือและข้อศอกเบาๆ เพื่อลดบวม ลดตึงได้
- หลังผ่าตัด ถ้าคนไข้ไม่มีภาวะข้อติด ขยับได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องทำกายภาพต่อ กลับบ้านไปใช้งานได้ตามปกติ
- ในกรณีที่คนไข้มีภาวะข้อติด แพทย์แนะนำให้ทำกายภาพเพื่อเพิ่มการขยับของข้อให้มากขึ้น
อาการแทรกซ้อนหลังผ่าตัดกระดูกต้นแขนหัก (Humerus Fracture)
อาการแทรกซ้อนจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่หัก เช่น กระดูกต้นแขนส่วนต้น ใกล้กับบริเวณข้อไหล่หัก หลังผ่าตัดอาจมีความเสี่ยงข้อไหล่เสื่อมได้ กระดูกต้นแขนส่วนปลายหัก อยู่ใกล้บริเวณข้อศอก อาจมีความเสี่ยงกระดูกข้อศอกเสื่อมได้ และมีโอกาสเกิดข้อติดได้เช่นกัน
เพื่อลดความเสี่ยงอาการแทรกซ้อนดังกล่าว แพทย์จะจัดเรียงข้อให้เรียบที่สุดเพื่อลดข้อเสื่อมได้ ส่วนในกรณีที่ข้อติด คนไข้ควรออกกำลังการ ขยับบ่อยๆ ในขณะพักฟื้น เพื่อช่วยป้องกันข้อติดได้
สำหรับการผ่าตัดกระดูกต้นแขนส่วนกลาง มีความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทที่ใช้กระดกข้อมือได้ แต่ภาวะดังกล่าวมักจะหายได้เองเมื่อเวลาผ่านไป
ข้อควรระวังหลังผ่าตัดกระดูกต้นแขนหัก
หลังจากผ่าตัดรักษากระดูกต้นแขนหักผ่านไป 3 เดือนหลังกระดูกติดเป็นปกติแล้ว สามารถใช้งานแขนได้ตามปกติ ไม่ต้องมีข้อควรระวังเป็นพิเศษ อีกทั้งผู้ป่วยสามารถกลับมานอนตะแคงได้เหมือนเดิม ไม่ต้องกังวลปัญหาตามมา
หากกระดูกต้นแขนหัก จะสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้หรือไม่
ผู้ป่วยที่เป็นนักกีฬาที่เสี่ยงต่อการปะทะ หากใส่เหล็กยึดกับกระดูก กระดูกบริเวณต้นและท้ายของเหล็กจะบางกว่าปกติ เพื่อให้กลับมาใช้งานได้ดีที่สุด ไม่เสี่ยงกระดูกหักง่าย หลังจากกระดูกติดดีแล้วแพทย์จะแนะนำให้มาเอาเหล็กออก จากนั้นควรรออีก 3 เดือนจึงจะกลับมาใช้งานได้ปกติที่สุด
นอกจากนี้ หลังการผ่าตัดรักษากระดูกต้นแขนหักแล้ว ผู้ป่วยที่ต้องการออกกำลังกายในฟิตเนส เช่น การยกเวท การดึงน้ำหนัก จะมีท่าที่จำกัดบางท่า เช่น ท่า Bench Press ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
ผ่าตัดรักษากระดูกต้นแขนหักที่ kdms Hospital ดีอย่างไร?
โรงพยาบาล kdms Hospital มีการรักษากระดูกต้นแขนหัก โดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เฉพาะทางด้านอุบัติเหตุกระดูกโดยเฉพาะ พร้อมให้คำแนะนำด้านการรักษากระดูกต้นแขนหักที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นแบบผ่าตัดหรือแบบไม่ผ่าตัด ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทีมกายภาพคอยให้คำแนะนำ ช่วยให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ฟื้นตัวไว ใช้งานได้ดี
นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital
สรุป
กระดูกต้นแขนหัก คือ กระดูกบริเวณหัวไหล่ไปจนถึงข้อศอกเกิดการแตกหัก ทั้งรูปแบบหักสมบูรณ์ หักบางส่วน หรือแตกร้าวก็ได้ สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการปะทะอย่างรุนแรงบริเวณต้นแขน รวมไปถึงการหักล้มแล้วเอาบริเวณศอกลงก่อน นอกจากนี้โรคเกี่ยวกับกระดูกในผู้สูงอายุยังมีส่วนทำให้เสี่ยงกระดูกต้นแขนหักมากขึ้นได้อีกด้วย โดยผู้ป่วยที่กระดูกต้นแขนหักจะมีอาการบวมและปวดบริเวณต้นแขน เมื่อยิ่งขยับแขนก็จะยิ่งรู้สึกเจ็บ ในบางรายอาจมีอาการกระดูกผิดรูป ต้นแขนคด ต้นแขนงอได้ด้วย และยิ่งกระดูกแขนหักจากอุบัติเหตุรุนแรง อาจจะทำให้กระดูกทะลุ เสี่ยงแผลติดเชื้อได้อีกด้วย ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน
ในด้านการรักษากระดูกต้นแขนหัก สามารถทำได้ทั้งแบบผ่าตัด และการใส่เฝือกโดยไม่ต้องผ่าตัด ทั้งนี้ วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย ลักษณะการหักของกระดูก องศาของกระดูก และวินิจฉัยของแพทย์ผู้รักษา เมื่อรักษาให้หายดีแล้ว ผู้ป่วยจะกลับมาใช้งานแขนได้ตามปกติ ได้ต้องกังวลเรื่องข้อควรระวังในระยะยาว
บทความโดย นพ.ศุภกร บูรณะวงศ์ตระกูล ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านมือและข้อมือ