กระดูกแขนติดผิดรูป พร้อมแนวทางรักษาเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ

กระดูกแขนติดผิดรูป พร้อมแนวทางรักษาเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ

กระดูกแขนติดผิดรูป อีกหนึ่งข้อควรกังวลหลังการรักษากระดูกแขนหัก เกิดได้จากทั้งการรักษากระดูกแขนหักแบบไม่ผ่าตัด ใส่เฝือกแต่ไม่ได้มีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิด รวมถึงการรักษากับหมอชาวบ้าน ไม่ได้จัดระเบียบกระดูกให้เหมาะสม ปล่อยทิ้งไว้จนกระดูกติดกันอย่างผิดรูป ส่งผลต่อการใช้งาน การขยับแขนที่จำกัด รวมถึงอาการปวด อาการตึง บวม บริเวณที่กระดูกผิดรูปด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ยังส่งผลในระยะยาว เพิ่มความเสี่ยงต่อกระดูกผิวข้อ และเส้นเอ็นยึดกระดูกเสื่อม ใช้งานได้ไม่ปกติ ควรรีบรักษาก่อนสายเกินแก้

บทความนี้จะพาไปรู้จักภาวะกระดูกแขนติดผิดรูปว่าคืออะไร เกิดจากอะไร รวมถึงแนวทางการรักษากระดูกแขนติดผิดรูปว่าทำได้อย่างไรบ้าง และผลการรักษาในระยะยาว ไปดูกันเลย

ภาวะกระดูกแขนติดผิดรูป อันตรายแทรกซ้อนหลังกระดูกหัก

ภาวะกระดูกแขนติดผิดรูป อันตรายแทรกซ้อนหลังกระดูกหัก

ภาวะกระดูกแขนติดผิดรูป คือ อาการที่กระดูกหัก แล้วไม่ได้ผ่านกระบวนการเรียงแนวกระดูกให้กลับไปเป็นปกติ เมื่อปล่อยไว้รอให้กระดูกติดเอง เมื่อตัวกระดูกมีการเคลื่อนแล้วงอกมาเชื่อมกัน จะทำให้กระดูกติดผิดรูปได้

กระดูกแขนติดผิดรูป เกิดจากอะไร

กระดูกติดผิดรูป มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับเคสกระดูกหักทุกส่วนของร่างกาย ในบริเวณแขน เกิดขึ้นได้จากการรักษากระดูกแขนหักอย่างผิดวิธี อาจจะด้วยวิธีภูมิปัญญาชาวบ้าน ใช้ไม้ดามแขนจนกระดูกที่หักหายเองแต่ไม่มีการจัดกระดูกร่วมด้วย ก็เพิ่มความเสี่ยงทำให้กระดูกแขนติดผิดรูปได้

นอกจากนี้การรักษาด้วยวิธีการใส่เฝือกแต่ไม่ได้ติดตามอาการ ปล่อยไว้จนกระดูกเคลื่อนและติดผิดรูปได้ โดยทั่วไปแล้ว หากรักษากระดูกแขนหักแบบไม่ผ่าตัด จะมีการดูแลอย่างใกล้ชิด มีการนัดตรวจการเคลื่อนของกระดูก 1-2 สัปดาห์หลังใส่เฝือก หากพบว่ากระดูกไม่เคลื่อนก็สามารถใส่เฝือกต่อไปได้ แต่หากกระดูกเคลื่อน แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูก ป้องกันการเคลื่อนและลดโอกาสกระดูกแขนติดผิดรูปหลังการรักษา

สังเกตอาการกระดูกแขนติดผิดรูปได้อย่างไร

สังเกตอาการกระดูกแขนติดผิดรูปได้อย่างไร

อาการปวดเรื้อรัง เป็นอาการเบื้องต้นของกระดูกแขนติดผิดรูป ไม่ว่าจะขยับแขนแบบไหนก็รู้สึกปวด อาการปวดไม่หายไปสักที หรือเป็นๆ หายๆ อาการเหล่านี้มักเกิดหลังจากรักษากระดูกแขนหักแบบไม่ผ่าตัด นอกจากนี้ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น พิสัยการขยับ หรือการใช้งานแขนที่จำกัด รวมไปถึงการใช้งานข้อมือที่เปลี่ยนไปจากเดิม เช่น การงอแขน การหมุนแขน การขยับข้อมือ หรือการขยับข้อศอกที่ทำได้ไม่สุด และในกรณีที่กระดูกติดผิดรูปมากจนเห็นได้ชัด สามารถสังเกตได้จากอาการปูด และอาการบวมออกมาจนเห็นได้ชัดในบริเวณกระดูกที่เคยหัก

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

ผลกระทบจากกระดูกแขนติดผิดรูป

ผลกระทบจากอาการกระดูกแขนติดผิดรูป หากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง จะทำให้บริเวณกระดูกแขนทั้งสองฝั่ง ทั้ง Radius และ Ulna มีความยาวไม่เท่ากัน เพราะมีตำแหน่งที่กระดูกหักเบี้ยวไป ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ไปจนถึงสูญเสียการทำงานของแขนบางส่วนอย่าง เช่น การงอเหยียดข้อศอก งอเหยียดข้อมือ การหมุนข้อมือ และการหงายหรือคว่ำมือ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการทำงานของข้อมือ เพราะเส้นเอ็นที่ยึดกระดูกทั้งสองบาดเจ็บ เป็นสาเหตุของข้อมือหลวม หยิบจับสิ่งของไม่ได้ พร้อมกับอาการปวดข้อมือเรื้อรัง นอกจากนี้ หากกระดูกต้นแขนหัก โดยเฉพาะในบริเวณใกล้ข้อศอก เมื่อปล่อยไว้จนกระดูกแขนติดผิดรูป ยังสามารถส่งผลให้การขยับข้อศอกทำงานผิดปกติ เช่น การงอเหยียดข้อศอกได้ไม่สุดได้เช่นกัน

นอกจากการใช้งานที่ผิดปกติของบริเวณกระดูกแขนแล้ว กระดูกแขนหักติดผิดรูปยังส่งผลให้แนวกลไกการเคลื่อนไหวของกระดูกข้อมือเปลี่ยนไป เพิ่มความเสี่ยงกระดูกข้อมือเสื่อม กระดูกข้อมือทรุดหรือล้ม เอ็นภายในกระดูกข้อมือเสีย ส่งผลในระยะยาวได้ ควรรีบรักษาก่อนเกิดอาการเหล่านี้

ตรวจวินิจฉัยกระดูกแขนติดผิดรูป

ตรวจวินิจฉัยกระดูกแขนติดผิดรูป

ในการวินิจฉัยเพื่อรักษาอาการกระดูกแขนติดผิดรูปเบื้องต้นนั้น โดยปกติแล้วแพทย์จะเริ่มตรวจร่างกายเในบริเวณที่เคยกระดูกหัก มีการใช้งานผิดปกติ สงสัยว่ากระดูกแขนจะติดผิดรูป หรือตรวจด้วยการ X-ray เพื่อหาว่ามีกระดูกติดผิดรูปที่บริเวณใด หรือในกรณีที่กระดูกผิดรูปที่มีความซับซ้อน แพทย์จะทำการส่งตรวจด้วยคอมพิวเตอร์สแกน (CT Scan) เพื่อตรวจบริเวณกระดูกอย่างละเอียดมากขึ้น ประกอบเป็นแนวทางการรักษากระดูกแขนติดผิดรูปให้คนไข้ต่อไป

นอกจากนี้ แพทย์จะทำการตรวจประเมินความไม่มั่นคงของกระดูกข้อมือและเอ็นข้อมือ หากพบภาวะดังกล่าว แพทย์อาจส่งตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพิ่มเติมร่วมกับการตรวจที่กล่าวไปข้างต้น

การรักษากระดูกแขนติดผิดรูป

การรักษากระดูกแขนติดผิดรูป ขึ้นอยู่กับอาการ สามารถรักษาได้ทั้งวิธีการรักษาแบบผ่าตัด และวิธีการรักษาแบบไม่ผ่าตัด โดยทั้งสองวิธีมีรายละเอียดดังนี้

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

ในกรณีที่กระดูกแขนติดผิดรูปไม่ได้เยอะมาก และไม่รบกวนการใช้งานในชีวิตประจำวัน แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาด้วยวิธีการไม่ผ่าตัด ให้ผู้ป่วยใช้งานแขนได้ตามปกติ โดยมีข้อระมัดระวังบางอย่างที่ควรเลี่ยงตามแต่ลักษณะของการผิดรูป

การกายภาพเพื่อลดปวด ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มระยะการเคลื่อนไหว เป็นอีกทางเลือกรักษากระดูกแขนติดผิดรูปได้เช่นกัน รวมถึงการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ต่างๆ เพื่อลดอาการปวด เช่น การทำเลเซอร์ อัลตร้าซาวน์ หรือ Shockwave แต่จะช่วยได้เพียงการลดปวด และช่วยให้ใช้ชีวิตได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ไม่สามารถแก้ไขกระดูกที่ติดผิดรูปให้กลับมาอยู่ในแนวปกติได้

การรักษาแบบผ่าตัด

ในกรณีที่กระดูกแขนติดผิดรูปค่อนข้างเยอะ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อแก้ไขแนวกระดูกให้เหมาะสม โดยผ่าตัดได้หลายวิธีเพื่อให้เหมาะสมกับลักษณะอาการของผู้ป่วย เช่น การตัดกระดูกให้สั้นลง การยืดกระดูกให้ยาวขึ้น เพื่อให้กระดูกมีความยาวที่เท่ากัน ร่วมกับแนวกระดูกที่เหมาะสม กลับมาใช้งานได้ดีขึ้นดังเดิม

การผ่าตัดรักษากระดูกแขนติดผิดรูป นอกจากจะช่วยแก้ไขให้กระดูกที่ดูผิดรูปอย่างเห็นได้ชัดกลับมาเป็นปกติแล้ว ยังทำให้แนวกระดูกใกล้เคียงกับปกติได้มากยิ่งขึ้น ช่วยให้การขยับและการเคลื่อนไหวที่เคยจำกัดกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่กระดูกแขนติดผิดรูปที่ถูกปล่อยไว้นาน อาจจะไม่สามารถทำให้การเคลื่อนไหวกลับมาเป็นเหมือนเดิมปกติได้เลย จำเป็นต้องมีการทำกายภาพร่วมด้วยเพื่อให้การใช้งานดียิ่งขึ้น และอีกหนึ่งข้อเสียคือการตัดกระดูกเพื่อปรับแนวกระดูก ต้องใช้เวลานานกว่ากระดูกจะติด ใช้เวลานานกว่าจะกลับมาใช้งานได้ปกติ และในกรณีที่กระดูกไม่ติด จำเป็นต้องมีการผ่าตัดอื่นๆ เพื่อช่วยให้กระดูกติดเพิ่มเติม

ผลการรักษาในระยะยาว

การผ่าตัดรักษากระดูกแขนติดผิดรูปในระยะยาว

การผ่าตัดรักษากระดูกแขนติดผิดรูปในระยะยาว ขึ้นอยู่กับก่อนผ่าตัดว่ามีอาการกระดูกแขนติดผิดรูปเยอะมากหรือน้อยเพียงใด ในกรณีที่มีการผิดรูปเยอะ และปล่อยเอาไว้นาน ก็อาจจะไม่สามารถทำให้กลับมาใช้งานได้เท่ากระดูกปกติแบบ 100% แต่ช่วยรักษาให้การทำงานดีขึ้นได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการทำกายภาพหลังผ่าตัด การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มพิสัยการขยับก็จะเป็นส่วนช่วยให้การทำงานของกระดูกแขน และการขยับแขนกลับมาดียิ่งขึ้นได้เช่นกัน

รักษากระดูกแขนติดผิดรูปที่ kdms Hospital ดียังไง

เมื่อกระดูกแขนติดผิดรูป แนะนำให้มารักษาที่โรงพยาบาล kdms Hospital ที่นี่มีการรักษากระดูกอย่างถูกวิธี จากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านแขนและมือโดยเฉพาะ พร้อมทั้งทีมกายภาพคอยให้ความช่วยเหลือ ให้กลไกการใช้งานของแขนและข้อมือกลับมาใช้งานได้ดี เป็นปกติมากยิ่งขึ้น

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

สรุป

กระดูกแขนติดผิดรูป มีโอกาสเกิดขึ้นได้จากการรักษากระดูกแขนหักอย่างผิดวิธี รวมไปถึงการรักษาด้วยวิธีการใส่เฝือกแต่ไม่ได้ติดตามอาการ ทำให้กระดูกที่เคลื่อนมาต่อกันจนผิดรูป ส่งผลต่อการใช้งานที่จำกัด สูญเสียพิสัยการขยับของแขนและข้อศอก ไม่ว่าจะเป็นการงอเหยียดข้อศอกหรือข้อมือ การหมุนข้อมือ การหงายหรือคว่ำมือ ในบางรายอาจรุนแรงจนไม่สามารถหยิบจับสิ่งของได้ ยิ่งปล่อยไว้นานอาจส่งผลต่อเส้นเอ็น และกระดูกข้อมือ ทำให้กระดูกข้อมือเสื่อม เอ็นภายในกระดูกข้อมือเสียอีกด้วย ควรรีบรักษาก่อนแก้ไข

สามารถรักษากระดูกแขนติดผิดรูปได้ด้วยวิธีการแบบไม่ผ่าตัดในกรณีที่กระดูกเคลื่อนไม่มาก โดยแพทย์จะแนะนำให้ใช้งานแขนอย่างระมัดระวัง รวมถึงการทำกายภาพลดปวด ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มพิสัยการใช้งานของแขน ประกอบกับการทำเลเซอร์ อัลตร้าซาวด์ หรือ Shockwave เพื่อเป็นตัวช่วยลดปวด แต่ไม่สามารถทำให้แนวกระดูกกลับมาเป็นปกติได้ และในกรณีที่กระดูกแขนติดผิดรูปค่อนข้างเยอะ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อจัดแนวกระดูกให้เหมาะสมเพื่อลดอาการปวด เรียงแนวกระดูกให้เป็นปกติ รวมถึงช่วยฟื้นฟูการใช้งานและการขยับแขนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

รักษากระดูกแขนติดผิดรูปที่โรงพยาบาล kdms Hospital จากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านแขนและมือโดยเฉพาะ พร้อมทีมกายภาพคอยให้ความช่วยเหลือ บรรเทาอาการเจ็บและปวดจากการขยับ รวมถึงเรียกคืนประสิทธิภาพการใช้งานของแขนให้กลับมาดียิ่งขึ้น

บทความโดย นพ.ศุภกร บูรณะวงศ์ตระกูล ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านมือและข้อมือ

จันทร์, 10 มิ.ย. 2024
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดคลายพังผืดที่กดทับเส้นประสาทที่ข้อมือผ่านการส่องกล้อง แผลเล็ก อยู่ในตำแหน่งข้อมือ ซึ่งไม่ขัดขวางการใช้งานของมือ ทำให้ฟื้นตัวกลับไปใช้งานได้เร็ว...
package 61,500* บาท
package สิ้นสุด 31/12/2024
การผ่าตัดคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือ เพื่อรักษาอาการเจ็บ นิ้วงอเหยียดสะดุดจากโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และเเขน...
package 18,500* บาท
package สิ้นสุด 31/12/2024
บทความอื่นๆ
อาการชาปลายนิ้วมือ สัญญาณอันตรายระบบประสาท ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ
อาการชาปลายนิ้วมือ สัญญาณอันตรายระบบประสาท ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
top line line