รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา

รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
สรุปเนื้อหาเกี่ยวกับ Tennis Elbow


  • Tennis Elbow (Lateral Epicondylitis) คือ อาการจุดเกาะเส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ เป็นคำเรียกง่ายๆ ของบริเวณจุดเกาะเส้นเอ็นกล้ามเนื้อที่ใช้กระดูกข้อมือเกิดการอักเสบ
  • Tennis Elbow เกิดจากพฤติกรรมการใช้งานข้อมือ ในกลุ่มคนที่ทำงานยกของหนัก และการเล่นกีฬาบางประเภท หรือผู้ที่เคยเกิดอุบัติเหตุบางชนิด
  • สามารถสังเกตอาการของ Tennis Elbow ได้ เช่น จะมีอาการปวดบริเวณข้อศอกฝั่งด้านนอก เมื่อต้องหยิบจับของในท่าที่ต้องเกร็ง หรือกระดกข้อมือ
  • Tennis Elbow มักจะมีอาการเป็นหลักสัปดาห์ หรือหลักเดือน ใช้เวลานานกว่าจะกลับมาเป็นปกติ แต่การมาหาหมอจะช่วยลดระยะเวลารักษา ทำให้โรค Tennis Elbow หายได้เร็วยิ่งขึ้น
  • แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับการใช้งานข้อมือ ตรวจร่างกาย ดูจุดกดเจ็บ และการตรวจ Cozen Test หากคนไข้มีประวัติอุบัติเหตุร่วมด้วย แพทย์จะพิจารณาใช้การตรวจ X-Ray ร่วมด้วย
  • แนวทางการรักษา Tennis Elbow มีทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัดอย่างการกินยา ที่ใช้แนวทางการรักษาตามระดับความรุนแรงของอาการ ไปจนถึงการรักษาแบบผ่าตัด
  • หลังผ่าตัด Tennis Elbow หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำก่อนนัดตัดไหม ใส่ประคองแขนในช่วงแรก และหลีกเลี่ยงการใช้งานแขนหนักๆ พร้อมทำกายภาพเพื่อออกกำลังกาย เพิ่มกล้ามเนื้อต่อไป
  • ที่ kdms Hospital มีแพทย์เฉพาะทางด้านข้อมือเป็นผู้ตรวจ และวินิจฉัยอย่างละเอียด รวมถึงทีมนักกายภาพบำบัดมากฝีมือที่เป็นหัวใจหลักของการรักษา Tennis Elbow ให้เห็นผล กลับมาใช้งานข้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Tennis Elbow หรือ Lateral Epicondylitis คืออาการที่พบได้บ่อยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการใช้ข้อมืออย่างหนัก รวมถึงเกร็งข้อมือซ้ำๆ เมื่อมีการใช้งานเหล่านี้สะสมไปนานๆ จะทำให้รู้สึกบาดเจ็บ และปวดบริเวณข้อศอกฝั่งด้านนอก กระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อหาแนวทางการรักษา

บทความนี้จะพาไปทำความรู้จักอาการ Tennis Elbow หรือ Lateral Epicondylitis ภัยร้ายที่ส่งผลต่อการใช้งานแขน อันตรายอย่างไร มีสาเหตุจากอะไร และมีแนวทางรักษาอย่างไรบ้าง 

ทำความรู้จัก Tennis Elbow คืออะไร

ทำความรู้จัก Tennis Elbow คืออะไร

Tennis Elbow หรือ Lateral Epicondylitis หรือชื่อไทยคือ อาการจุดเกาะเส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ เป็นคำเรียกง่ายๆ ของบริเวณจุดเกาะเส้นเอ็นกล้ามเนื้อที่ใช้กระดูกข้อมือเกิดการอักเสบ โดยเส้นเอ็นกล้ามเนื้อดังกล่าวจะเกาะบริเวณปุ่มกระดูกด้านนอกของกระดูกข้อศอก วิ่งมาเกาะบริเวณข้อมือ มีหน้าที่ควบคุมการกระดกข้อมือ เมื่อมีการใช้งานเกร็ง หรือกระดกข้อมือซ้ำๆ ก็ทำให้เกิดการบาดเจ็บบริเวณจุดเกาะเส้นเอ็น ตรงปุ่มกระดูกข้อศอก เมื่ออาการบาดเจ็บเล็กๆ หรือฉีกขาดเล็กๆ เหล่านี้สะสมมากขึ้นเรื่อยๆ ก็จะเริ่มแสดงอาการปวดในบริเวณนั้น

หาสาเหตุ Tennis Elbow เกิดจากอะไร

Tennis Elbow เกิดจากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • พฤติกรรมการใช้งานข้อมือ ทั้งการเกร็ง หรือกระดกข้อมือซ้ำๆ
  • กลุ่มคนที่ทำงานยกของหนัก เป็นเวลานาน และยกของหนักสะสมทุกวัน
  • การเล่นกีฬาบางประเภท ที่ต้องใช้งานหรือสะบัดข้อมือบ่อยๆ เช่นเทนนิส กอล์ฟ แบดมินตัน หรือกีฬาอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณข้อมือบ่อยๆ รวมถึงการยกเวทเทรนนิง หรือออกกำลังกายในท่ากระดกข้อมือบ่อยๆ
  • อุบัติเหตุบางชนิด ที่ส่งผลให้เกิดการกระแทกบริเวณข้อศอกฝั่งด้านนอก ก็อาจกระตุ้นให้เกิดอาการเทนนิสเอลโบได้เช่นเดียวกัน

สังเกตอาการ Tennis Elbow ได้อย่างไร

อาการหลักๆ ของ Tennis Elbow ที่พบบ่อย คืออาการปวดบริเวณข้อศอกฝั่งด้านนอก เมื่อต้องหยิบจับของในท่าที่ต้องเกร็ง หรือกระดกข้อมือ เช่น การถือของในท่าที่ต้องคว่ำมือ ผู้ป่วยมักจะรู้สึกเจ็บ หรือปวดบริเวณดังกล่าว ในบางกรณีหากอาการสะสมจนเป็นหนักมากๆ ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดได้ง่าย แม้หยิบจับของที่ไม่หนักมาก

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

Tennis Elbow ควรมาพบแพทย์ตอนไหน

Tennis Elbow ควรมาพบแพทย์ตอนไหน

โดยปกติแล้ว Tennis Elbow มักจะมีอาการเป็นหลักสัปดาห์ หรือหลักเดือน เมื่อมีอาการปวดมากขึ้นจนรู้สึกปวด กระทบต่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน รู้สึกใช้งานข้อมือไม่สะดวก ก็จะเริ่มรับรู้ถึงความผิดปกติ และเข้ามาปรึกษาแพทย์

อย่างไรก็ตาม Tennis Elbow เป็นอาการที่หายได้เองตามธรรมชาติ แต่ใช้ระยะเวลานานกว่าจะกลับมาเป็นปกติ โดยอาจใช้เวลาประมาณ 1 ปี หากไม่ได้รับการรักษาใดๆ แต่การมาหาหมอเป็นการช่วยลดระยะเวลารักษา ทำให้โรค Tennis Elbow หายได้เร็วยิ่งขึ้น

วิธีวินิจฉัยอาการ Tennis Elbow 

แพทย์จะซักประวัติเกี่ยวกับการใช้งานข้อมือที่อาจทำให้เกิดอาการ Tennis Elbow ได้ ทั้งในแง่ของการใช้งานในชีวิตประจำวัน การเล่นกีฬา รวมถึงการออกกำลังกายในท่าต่างๆ ที่เพิ่มโอกาสเกิดโรคนี้

รวมถึงตรวจร่างกาย ดูจุดกดเจ็บ ซึ่งก็คือบริเวณกระดูกข้อศอกด้านนอก และการตรวจ Cozen Test โดยให้คนไข้เหยียดแขน คว่ำมือลง กำมือ แล้วกระดกข้อมือขึ้น เพื่อให้แพทย์กดบริเวณหลังมือเมื่อเกิดอาการเกร็งอยู่ หากคนไข้รู้สึกปวดบริเวณข้อศอก นั่นหมายถึงคนไข้มีโอกาสเป็น Tennis Elbow ได้

หากคนไข้มีประวัติอุบัติเหตุร่วมด้วย แพทย์จะพิจารณาใช้การตรวจ X-Ray ร่วมด้วย เพื่อให้มั่นใจว่ากระดูกไม่ได้มีรอยหัก หรือร้าวจากอุบัติเหตุ

แนวทางการรักษา Tennis Elbow 

แนวทางการรักษา Tennis Elbow

แนวทางการรักษา Tennis Elbow มีทั้งการรักษาแบบไม่ผ่าตัด ที่ใช้แนวทางการรักษาตามระดับความรุนแรงของอาการ ไปจนถึงการรักษาแบบผ่าตัด ที่พิจารณาผ่าตัดเมื่ออาการไม่ดีขึ้นภายใน 6-12 เดือน โดยมีรายละเอียดดังนี้

การรักษาแบบไม่ผ่าตัด

การรักษา Tennis Elbow แบบไม่ผ่าตัด มีแนวทางการรักษาขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ โดยเรียงลำดับจากอาการปวดน้อย ไปมาก ดังนี้

  1. การรักษาโดยการกินยา เป็นการรักษาข้างต้น รักษาในกรณีที่มีอาการปวด หรืออาการอักเสบร่วมด้วย โดยแพทย์จะจ่ายยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ที่เป็นยากิน บรรเทาอาการปวด หรือเจ็บเหล่านั้นในระยะสั้น
  2. การรักษาโดยการออกกำลังกาย ยืดกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บ ทำได้โดยการเหยียดแขนตรง คว่ำมือลง จากนั้นงอข้อมือเข้า 
  3. การรักษาโดยการทำกายภาพ เพื่อช่วยลดอาการปวด ลดระยะเวลาการเกร็งได้
  • การรักษาด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)
  • การรักษาด้วยคลื่นกระแทก (Shock Wave)
  • การฝังเข็มแบบตะวันตก (Dry Needling)
  1. การฉีดยา ทำในกรณีที่รักษาด้วยการใช้ยากิน ออกกำลังกาย หรือการทำกายภาพแล้วไม่เห็นผล อาจใช้การฉีดสเตียรอยด์เข้าที่บริเวณเส้นเอ็น เพื่อช่วยบรรเทาอาการในระยะสั้น แต่ก็ยังมีโอกาสทำให้กลับมาเป็นใหม่ได้ และไม่ควรฉีดบ่อย เนื่องจากอาจทำให้เส้นเอ็นเปื่อย และอ่อนแอลงได้

อย่างไรก็ตาม โดยปกติแล้วโรค Tennis Elbow ไม่ได้รักษาแล้วหายทันที ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาเป็นหลักเดือน จึงจะกลับมาใช้งานกล้ามเนื้อบริเวณที่มีอาการปวดได้อย่างปกติได้

การรักษาแบบผ่าตัด

ในกรณีที่รักษาแบบไม่ผ่าตัดแล้วประมาณ 6 เดือนถึง 1 ปียังไม่เห็นผล แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อเข้าไปเอาเอ็นส่วนที่เสื่อมออก โดยการผ่าตัดมีตัวเลือก หรือเทคนิคการผ่าตัด ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์ผู้ผ่าตัด ดังนี้

  • ผ่าตัดแบบเปิดแผล (Open Surgery)
  • ผ่าตัดส่องกล้อง (Arthroscopic Surgery)
  • ผ่าตัดผ่านรูเข็มเล็ก (Percutaneous Surgery)

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด Tennis Elbow ได้อย่างไร

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด Tennis Elbow สามารถทำได้ ดังนี้

  • หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำก่อนนัดตัดไหม ประมาณ 10-14 วันหลังการผ่าตัด
  • ใส่ประคองแขนในช่วงแรก แต่ผู้ป่วยยังสามารถถอดตัวประคองเพื่อใช้งานไหล่ได้ตามปกติ
  • หลีกเลี่ยงการใช้งานแขนหนักๆ รวมถึงการยกของหนัก
  • หลังตัดไหม อาจมีการทำกายภาพเพื่อออกกำลังกาย เพิ่มกล้ามเนื้อต่อไป

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

รักษา Tennis Elbow ที่ kdms Hospital ดีอย่างไร

รักษา Tennis Elbow ที่ kdms Hospital ดีอย่างไร

การรักษา Tennis Elbow ที่ kdms Hospital จะมีแพทย์เฉพาะทางด้านข้อมือเป็นผู้ตรวจ และวินิจฉัยอย่างละเอียด พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำกายภาพ มีเครื่องมือกายภาพที่ครบครัน สามารถเลือกแนวทางการรักษาได้หลากหลายรูปแบบตามความเหมาะสม และทีมนักกายภาพบำบัดที่มากพร้อมด้วยความสามารถ เพราะอย่างที่กล่าวไปในบทความว่า แนวทางการรักษาเทนนิสเอลโบจะเน้นไปที่การทำกายภาพเป็นหลัก การมีทีมกายภาพที่พร้อมของ kdms Hospital จึงช่วยให้ผลการรักษาออกมามีประสิทธิภาพได้

สรุป 

Tennis Elbow มีชื่อทางการแพทย์ว่าอาการจุดเกาะเส้นเอ็นข้อศอกด้านนอกอักเสบ หรือ Lateral Epicondylitis คืออาการปวด หรือติดขัดเมื่อกระดกข้อมือ การยกหรือหยิบจับของหนักๆ โดยอาการนี้เกิดจากพฤติกรรมการใช้งานข้อมือ ทั้งการเกร็ง หรือกระดกข้อมือซ้ำๆ รวมถึงการเล่นกีฬาบางประเภท ที่ต้องใช้งานหรือสะบัดข้อมือบ่อยๆ และอุบัติเหตุบางชนิด ที่ส่งผลให้เกิดการกระแทกบริเวณข้อศอกฝั่งด้านนอกด้วยเช่นกัน โดยทั่วไปแล้วโรคนี้สามารถหายเองได้

อย่างไรก็ตาม การรักษา Tennis Elbow สามารถลดระยะเวลาในการฟื้นตัวของเส้นเอ็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บรรเทาอาการปวด และสามารถใช้งานข้อมือตามปกติได้เร็วขึ้น โดยสามารถรักษาด้วยการไม่ผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาโดยการใช้ยา การรักษาโดยการออกกำลังกาย การรักษาโดยการทำกายภาพ และการฉีดยา หากรักษาอย่างต่อเนื่องประมาณ 6-12 เดือนแล้วยังไม่หายดี แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อนำเส้นเอ็นที่เสื่อมออกเพื่อให้อาการหายได้เร็วขึ้นหลังผ่าตัด

ที่ kdms Hospital มีแพทย์เฉพาะทางด้านข้อมือเป็นผู้ตรวจ และวินิจฉัยอย่างละเอียด รวมถึงทีมนักกายภาพบำบัดมากฝีมือที่เป็นหัวใจหลักของการรักษา Tennis Elbow ให้เห็นผล กลับมาใช้งานข้อมือได้อย่างมีประสิทธิภาพ

บทความโดย นพ.ศุภกร บูรณะวงศ์ตระกูล ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านมือและข้อมือ

พุธ, 31 ก.ค. 2024
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดคลายพังผืดที่กดทับเส้นประสาทที่ข้อมือผ่านการส่องกล้อง แผลเล็ก อยู่ในตำแหน่งข้อมือ ซึ่งไม่ขัดขวางการใช้งานของมือ ทำให้ฟื้นตัวกลับไปใช้งานได้เร็ว...
package 61,500* บาท
package สิ้นสุด 31/12/2024
การผ่าตัดคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือ เพื่อรักษาอาการเจ็บ นิ้วงอเหยียดสะดุดจากโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และเเขน...
package 18,500* บาท
package สิ้นสุด 31/12/2024
บทความอื่นๆ
อาการชาปลายนิ้วมือ สัญญาณอันตรายระบบประสาท ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ
อาการชาปลายนิ้วมือ สัญญาณอันตรายระบบประสาท ที่ไม่ควรนิ่งนอนใจ
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
top line line