ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) แก้ปัญหาข้อเข่าได้ดี พักฟื้นหายไว

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) แก้ปัญหาข้อเข่าได้ดี พักฟื้นหายไว

ข้อเข่า ประกอบไปด้วยกระดูก 3 ส่วน คือ กระดูกข้อเข่าด้านใน (Medial Compartment) กระดูกข้อเข่าด้านนอก (Lateral Compartment) และกระดูกสะบ้า (Patella) โดยบริเวณที่พบว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมบ่อยที่สุด ประมาณ 90% ของผู้ป่วย คือกระดูกข้อเข่าด้านใน ส่วนอีก 10% คือบริเวณกระดูกข้อเข่าด้านนอก สาเหตุของโรคข้อเข่าเสื่อม มักเกิดจากอายุที่มากขึ้น ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บบริเวณข้อเข่า และข้อเข่าส่งเสียงดังเมื่อยืนหรือนั่ง

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) จึงเป็นการผ่าตัดเพื่อแทนที่ข้อเข่าที่เสื่อมด้วยข้อเข่าเทียม แต่ยังสามารถเก็บบริเวณกระดูกที่ยังใช้งานได้ดีอยู่เอาไว้ได้ แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก และกระบวนการฟื้นฟูตัวเองหลังผ่าตัดเร็วกว่าการผ่าตัดข้อเข่าเทียมทั้งหมด (TKA)

บทความนี้จะมาแนะนำว่า UKA หรือ Unicompartmental Knee Arthroplasty คืออะไร พร้อมข้อควรรู้อื่นๆ เกี่ยวกับการผ่าตัด UKA เพิ่มเติม ไปดูกัน

Table of Contents

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) คืออะไร

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) คืออะไร

ข้อเข่าเสื่อมเกิดจากการที่กระดูกผิดรูป กระดูกอ่อนสึก และถูกทำลาย ทำให้กลไกการของข้อเข่าเสีย ไม่สามารถกระจายแรงของข้อเข่าที่รับน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระดูกข้อเข่าบางส่วนจึงต้องรับน้ำหนักเยอะกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการข้อเข่าเสื่อมตามมาได้ 

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) หรือ Unicompartmental Knee Arthroplasty คือกระบวนการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนข้อเข่าเฉพาะส่วนที่เสื่อม หรือส่วนที่สึกหรอ จากนั้นจึงแทนที่กระดูกที่เสื่อมด้วยข้อเข่าเทียม สามารถทำได้ทั้งบริเวณกระดูกข้อเข่าด้านใน และกระดูกข้อเข่าด้านนอกได้ ดังนั้น สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการข้อเข่าเสื่อมแบบปฐมภูมิ หรือเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเฉพาะกระดูกข้อเข่าด้านนอก แต่กระดูกข้อเข่าด้านใน รวมถึงกระดูกสะบ้ายังใช้งานได้ดี แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดแบบ UKA เพื่อเก็บกระดูกที่ยังใช้งานได้ดีไว้ ไม่จำเป็นต้องผ่าตัดออกทั้งหมด ลดอาการข้างเคียง รวมถึงลดความเสี่ยงจากการรักษาได้อีกด้วย

ผ่าตัด UKA แล้วบริเวณกระดูกส่วนอื่นจะเสื่อมได้ไหม

ผ่าตัด UKA แล้วบริเวณกระดูกส่วนอื่นจะเสื่อมได้ไหม

หลายคนอาจจะสงสัยว่าหากผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมแบบ UKA เฉพาะบริเวณกระดูกข้อเข่าด้านในไปแล้ว บริเวณอื่นๆ อย่างกระดูกข้อเข่าด้านนอก และกระดูกสะบ้า จะมีโอกาสเป็นข้อเข่าเสื่อมในอนาคตไหม โดยแพทย์ได้ให้คำตอบไว้ว่ามีโอกาสเป็นไปได้ แต่มีน้อยมาก โดยโอกาสที่กระดูกข้อเข่าด้านนอกจะเสื่อมหลังจากผ่าตัด UKA อยู่ที่ 2.5% ที่ 15-20 ปี และกระดูกสะบ้า 0.002% ที่ 15-20 ปี

การผ่าตัด UKA ต่างจากการผ่าตัด TKA อย่างไร

การผ่าตัดข้อเข่าเทียม มีด้วยกัน 2 แบบคือ การผ่าตัดข้อเข่าทั้งหมด (TKA) และการผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) โดยการผ่าตัดข้อเข่าทั้งหมด หรือ Total Knee Arthroplasty (TKA) คือกระบวนการผ่าตัดเพื่อเอากระดูกข้อเข่าทั้งสามส่วน (ด้านใน ด้านนอก และสะบ้า) ออกทั้งหมด แล้วแทนที่ด้วยข้อเข่าเทียม เพื่อรักษาอาการข้อเข่าเสื่อม แม้จะมีข้อจำกัดหลังการรักษาอย่างการเหยียด หรืองอเข่า รวมถึงความเสี่ยง กับอาการข้างเคียงหลังผ่าตัดที่มากกว่าการผ่าตัดแบบ UKA แต่จะให้ผลลัพธ์ที่เทียบเท่ากับการผ่าตัดแบบ UKA ในแง่ของการบรรเทาอาการปวด ที่มีประสิทธิภาพเท่ากัน

ใครที่ควรผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

ผู้ป่วยทุกคนที่มีอาการข้อเข่าเสื่อม เมื่อ X-ray แล้วพบว่ามีกระดูกอ่อนที่เสียไปทั้งหมดแล้ว มีกระดูกชนกัน ร่วมกับมีอาการเจ็บปวด รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน เมื่อรักษาด้วยการรักษาข้อเข่าเสื่อมโดยไม่ต้องผ่าตัด เช่น การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อต้นขา รวมไปถึงการรับประทานยาแก้ปวด แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หมอจะแนะนำให้ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) เพื่อให้กระดูกข้อเข่ากลับมาใช้งานได้ตามปกติ

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) ไม่เหมาะกับใคร

ผู้ป่วยที่ X-ray แล้วพบว่ากระดูกยังไม่ชนกัน กระดูกอ่อนยังไม่สึกมาก อาการเจ็บปวดบริเวณเข่าอาจมีสาเหตุมาจากที่อื่น เช่น กระดูกบริเวณสะโพกจากกระดูกสันหลัง หลังร้าว กระดูกหลังทับเส้น แพทย์จะแนะนำให้รักษา รวมถึงกินยา แล้ว X-ray ดูอาการอีกรอบว่าสาเหตุมาจากข้อเข่าจริงๆ ก่อนพิจารณาผ่าตัด UKA 

กินยาแก้ปวดเข่าแทนการเข้าผ่าตัด UKA ได้ไหม

กินยาแก้ปวดเข่าแทนการเข้าผ่าตัด UKA ได้ไหม

สามารถรับประทานยาแก้ปวดเพื่อรักษาอาการข้อเข่าเสื่อมได้ ควบคู่กับการออกกำลังกายเพื่อสร้างกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้ในเบื้องต้น แต่ในกรณีที่ทำแล้วยังไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยถึงสาเหตุที่ถูกต้อง

การวินิจฉัยของแพทย์ก่อนผ่าตัดข้อเข่าเทียม

ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นทางเลือกหลังจากที่รักษาแบบไม่ต้องผ่าตัด เช่น การกินยาแก้ปวด การลดน้ำหนัก การออกกำลังกายเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ แล้วไม่หายปวด ผู้ป่วยยังมีอาการเจ็บ ยังไม่สามารถกลับมาใช้ได้ดีดังเดิม X-ray แล้วพบว่าอาการปวดเข่ามีสาเหตุมาจากกระดูกข้อเข่าโดยตรง แพทย์จึงจะแนะนำให้ผ่าตัดข้อเข่าเทียม ทั้งนี้ การพิจารณาว่าจะผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบ TKA หรือ UKA ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วย รวมไปถึงดุลยพินิจของแพทย์ด้วยเช่นกัน

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

ก่อนการผ่าตัด UKA ที่เป็นการผ่าตัดใหญ่ แพทย์จะมีการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนผ่าตัดดังนี้

  • ตรวจร่างกายทั่วไปโดยหมออายุรกรรม เพื่อวินิจฉัยปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถผ่าตัด UKA ได้หรือไม่
  • ตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ เจาะเลือด X-ray ปอด ทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ซักประวัติผู้ป่วยเกี่ยวกับเรื่องยาประจำที่ผู้ป่วยใช้

ขั้นตอนการผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) แพทย์จะมีขั้นตอนในการผ่าตัดดังนี้

  • แพทย์จะใช้เลื่อยพิเศษเพื่อเอากระดูกที่สึกหรอ หรือกระดูกที่เสื่อมออก
  • แพทย์จะเปลี่ยนกระดูกอ่อนที่เสื่อม แล้วแทนที่ด้วยกระดูกข้อเข่าเทียม
  • จากนั้น แพทย์จะสอดแผ่นรอง Polyethylene ระหว่างข้อเข่าเทียมเพื่อให้การใช้งาน รวมถึงการเคลื่อนไหว มีประสิทธิภาพเทียบเท่าปกติ

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

  • 2 สัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ควรดูแลแผลผ่าตัดให้ดี หากแผลมีเลือดซึมออกมา แนะนำให้ไปเปลี่ยนผ้าปิดแผลที่โรงพยาบาล
  • 2 สัปดาห์แรก หลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ เพื่อลดโอกาสแผลติดเชื้อ
  • หากรู้สึกปวดบริเวณแผล แนะนำให้กินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการ
  • ออกกำลังกายด้วยท่า Ankle Pumping ในช่วงเช้าและเย็น ทำไปเรื่อยๆ หากรู้สึกตึงมากค่อยหยุด
  • สวมใส่อุปกรณ์ Stocking เพื่อลดโอกาสเส้นเลือดอุดตัน
  • เดินออกกำลังกาย ไม่มากเกินไปจนรู้สึกเจ็บ แต่ก็ไม่ควรน้อยเกินไปจนกระบวนการฟื้นตัวช้าลง
  • ออกกำลังกายต้นขาให้แข็งแรง

กายภาพหลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) ทำได้อย่างไร

แพทย์แนะนำให้ออกกำลังกายด้วยท่า Ankle Pumping ในช่วงเช้าและเย็น โดยทำได้ดังนี้

  1. ให้ผู้ป่วยนอนหงาย แล้วนำหมอนมารองที่บริเวณขาให้ยกขึ้นสูงเล็กน้อย
  2. กระดกข้อเท้าขึ้น และลงช้าๆ สลับไปเรื่อยๆ
  3. แนะนำให้ทำประมาณ 10-20 ครั้งต่อหนึ่งรอบ
  4. หากรู้สึกตึงบริเวณแผลหรือเท้า แนะนำให้หยุดทำทันที

ผลลัพธ์หลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน มีการใช้โลหะเข้าไปในร่างกายในปริมาณที่น้อย ทำให้กล้ามเนื้อสามารถฟื้นตัวได้เร็ว โดยผู้ป่วยจะเริ่มฟื้นตัวได้ดี รวมไปถึงกลับมาขยับตัวได้ดียิ่งขึ้นในช่วงหลังผ่าตัดประมาณ 6 สัปดาห์ นอกจากนี้ แผ่นรอง Polyethylene แบบเคลื่อนไหวได้ จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถงอเข่า และยืดเหยียดกล้ามเนื้อเข่าได้เหมือนปกติในระยะยาวได้อีกด้วย

เข่าจะกลับมาใช้ได้สมบูรณ์หลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) ไหม

เข่าจะกลับมาใช้ได้สมบูรณ์หลังผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) ไหม

หลังจากผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน จะช่วยเทาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วยได้มากกว่า 90% รวมถึงให้ประสิทธิภาพการใช้งาน รวมถึงการงอเข่า ที่ใกล้เคียงกับคนที่ไม่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อดีของการผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA)

การผ่าตัดแบบ Unicompartmental Knee Arthroplasty คือ การผ่าตัดขนาดเล็ก ลดความเสี่ยงจากผลข้างเคียงต่างๆ หลังผ่าตัดได้ ไม่ว่าจะเป็นโอกาสติดเชื้อ กระดูกหัก ลดเส้นเลือดอุดตันที่ขา หัวใจ และสมอง รวมทั้งช่วยเก็บกระดูกข้อเข่าในส่วนที่ยังใช้งานได้ดีให้อยู่ในสภาพเดิม นอกจากนี้หากใช้ แผ่นรอง Polyethylene แบบเคลื่อนไหวได้ จะช่วยให้ประสิทธิภาพการใช้งานเทียบเคียงกับคนที่ไม่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมอีกด้วย

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) ที่ kdms Hospital ดียังไง

ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) ที่ kdms Hospital ดียังไง

การผ่าตัด Unicompartmental Knee Arthroplasty คือการผ่าตัดที่ต้องอาศัยความชำนาญ และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านของแพทย์ผู้ผ่าตัด จำเป็นต้องมีการฝึกเพื่อรับใบ Certificate ว่าสามารถผ่าตัด UKA ได้อย่างถูกต้อง และที่ kdms Hospital มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) สามารถผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมการดูแลหลังผ่าตัด แนะนำแนวทางการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสมเพื่อการฟื้นตัวที่ดี รักษาอาการข้อเข่าเสื่อมให้กลับมาใช้งานได้เทียบเท่าปกติมากที่สุด

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

สรุป

การผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วนหรือ Unicompartmental Knee Arthroplasty คือการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกข้อเข่าเฉพาะส่วนที่สึก หรือส่วนที่เสื่อมจนใช้งานได้ดี ส่งผลให้ผู้ป่วยรู้สึกปวดบริเวณเข่า โดยส่วนมากมักจะทำบริเวณกระดูกข้อเข้าด้านใน (Medial Compartment) เหมาะกับผู้ป่วยที่รักษาด้วยวิธีการแบบไม่ต้องผ่าตัดแล้วยังไม่ดีขึ้น โดยหมอจะแนะนำให้ผ่าตัดข้อเข่าเทียมแบบ TKA หรือ UKA ขึ้นอยู่กับอาการ และดุลยพินิจของแพทย์

ทั้งนี้ การผ่าตัดแบบ UKA แพทย์ผ่าตัดจำเป็นต้องมีใบ Certificate รับรองว่าสามารถผ่าตัดโดยวิธีเฉพาะนี้ได้ จำเป็นต้องเลือกโรงพยาบาลที่น่าเชื่อถืออย่าง kdms Hospital ที่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) พร้อมให้คำแนะนำตั้งแต่ขั้นตอนการปรึกษา ไปจนถึงบริการหลังการรักษา

บทความโดย ศ.นพ.บุญชนะ พงษ์เจริญ ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านการผ่าตัดข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม

พฤหัส, 06 มิ.ย. 2024
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมชนิดเต็มข้อ 1 ข้าง โดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด MAKO โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดข้อเข่าเเละข้อสะโพกเทียม  ...
package 330,000* บาท
package สิ้นสุด 30/09/2024
การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม โดยใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด MAKO เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการผ่าตัด โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านการผ่าตัดข้อเข่าเเละข้อสะโพกเทียม...
package 379,500* บาท
package สิ้นสุด 30/09/2024
บทความอื่นๆ
โรคข้อเข่าเสื่อม ภัยเงียบใกล้ตัวที่ส่งผลต่อการใช้ชีวิต มาหาคำตอบว่าโรคข้อเข่าเสื่อมมีวิธีการรักษาอย่างไรได้บ้าง จำเป็นต้องผ่าตัดไหม? และทำไมต้องรักษากับแพทย์เฉพาะทาง
โรคข้อเข่าเสื่อม มีวิธีรักษาอย่างไร ทำไมต้องรักษากับแพทย์เฉพาะทาง
ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ เลือกอย่างไร ให้เหมาะสมกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม
ข้อเข่าเทียมมีกี่แบบ เลือกอย่างไร ให้เหมาะสมกับปัญหาข้อเข่าเสื่อม
ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) แก้ปัญหาข้อเข่าได้ดี พักฟื้นหายไว
ผ่าตัดข้อเข่าเทียมบางส่วน (UKA) แก้ปัญหาข้อเข่าได้ดี พักฟื้นหายไว
วิธีดูแลและกายภาพหลังผ่าตัดหัวเข่าอย่างถูกวิธี ให้กลับมาเดินได้เร็วขึ้น
วิธีดูแลและกายภาพหลังผ่าตัดหัวเข่าอย่างถูกวิธี ให้กลับมาเดินได้เร็วขึ้น
top line