บทความ /

ควันหลงโอลิมปิก! กีฬาแบบไหนดีกับกระดูกอย่างไรบ้าง ?

จบไปแล้วอย่างยิ่งใหญ่สำหรับมหกรรมกีฬาโอลิมปิคโตเกียว 2020 (+1) ที่เรียกได้ว่ามีอุปสรรคและวิกฤติมากมายขวางทางอยู่ แต่ทางเจ้าภาพก็ได้แสดงศักยภาพในการจัดงานอย่างเต็มที่และได้สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับทั้งโลกในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และถึงแม้โอลิมปิคครั้งนี้จะมีเหตุการณ์สำคัญที่น่าประทับใจหลายอย่างเกิดขึ้น สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการแสดงศักยภาพทางร่างกายของมนุษย์ KDMS จึงชวนคุณหมอมาวิเคราะห์ว่าการออกกำลังกายแบบไหน เสริมสร้างทักษะด้านใดและจะมีประโยชน์อย่างไรบ้างต่อกระดูกของคุณ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นให้กับผู้ที่อยากจะออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพ และยังเป็นแรงบันดาลใจในการพัฒนาตัวเองต่อไป

กีฬาที่เน้นความว่องไว : ศิลปะการป้องกันตัว

เริ่มที่กีฬาสุดฮิตที่ทำให้ชาวไทยทุกคนประทับใจอย่างศิลปะการป้องกันตัว ซึ่งประเทศไทยได้เหรียญทองเทควันโดหญิงจากพาณิภัค วงศ์พัฒนกิจ หรือ “น้องเทนนิส” นักกีฬาเทควันโดหญิง ทีมชาติไทย และเหรียญทองแดงจากสุดาพร สีสอนดี หรือ “น้องแต้ว” ในโอลิมปิก 2020 ที่ผ่านมา โดยกีฬาศิลปะป้องกันตัวนั้นจะต้องฝึกความว่องไวของร่างกายเป็นหลัก งานวิจัยพบว่าผู้ที่เรียนศิลปะการต่อสู้ตั้งแต่อายุน้อยจะมีความหนาแน่นของกระดูกดีกว่ากลุ่มที่ไม่เคยฝึก กระดูกจะแตกหักยากขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นและยังเป็นส่วนสำคัญที่ป้องกันภาวะกระดูกพรุนหรือโรคกระดูกพรุน

งานวิจัยเพิ่มเติมจาก American Geriatric Society ยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างการออกกำลังกายศิลปะการต่อสู้และอัตราการหกล้มที่ลดลงสำหรับผู้เรียนรู้ศิลปะการต่อสู้ตอนที่อายุมากแล้ว การออกกำลังกายเทควันโดเน้นการเคลื่อนไหวแบบไดนามิกที่ฝึกกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการทรงตัวและการเดิน สำหรับประโยชน์ในกลุ่มผู้ใหญ่สูงอายุ นอกเหนือจากการป้องกันกระดูกสะโพกหักหรือกระดูกหักที่เกิดจากการหกล้มแล้ว ศิลปะการต่อสู้ยังช่วยชะลอการมองเห็นที่ลดลงตามอายุ การเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วที่เกี่ยวข้องกับเทควันโด หรือยูโดยังสามารถปรับปรุงการรับรู้และการมองเห็นรอบข้างในนักเรียนทุกวัย การเรียนศิลปะการต่อสู้จึงเป็นวิธีที่ดีในการรับมือกับผลกระทบของความชรา การฝึกศิลปะการต่อสู้ยังมีแนวโน้มที่จะปรับปรุงท่าทาง ความแข็งแกร่ง ความอดทน และความยืดหยุ่น ซึ่งจะเป็นประโยชน์กับคนทุกวัย

กีฬาที่เน้นความอดทน : การวิ่ง

แม้ทัพนักกีฬาไทยจะไม่ได้เหรียญ แต่ก็มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นอย่างเช่น การเทียบสถิติโลกในการวิ่ง 100 เมตรหญิง และเหตุการณ์ประทับใจที่นักวิ่งกลับมาช่วยเหลือเพื่อนนักกีฬาที่ล้มลงไป แต่การวิ่งก็เป็นกีฬายอดนิยมที่มีนักกีฬามือสมัครเล่นในบ้านเราเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และยังมีความนิยมอย่างต่อเนื่องในช่วงที่กีฬาชนิดอื่นเล่นได้ลำบากขึ้น คุณหมอได้เคยให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเล่นกีฬาชนิดนี้ไปบ้างแล้ว ดูเพิ่มเติมได้ที่ : https://kdmshospital.com/article/runner-injury

การศึกษาได้เชื่อมโยงการวิ่งเข้ากับสภาวะอารมณ์ที่ดีขึ้น (หรือที่เรียกกันว่า Runner’s High) การรักษาภาวะซึมเศร้า เสริมสร้างสุขภาพสมอง เพิ่มความจำ ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดความดันโลหิต และอื่นๆ อีกมากมาย

แต่นอกจากประโยชน์กับสภาวะอารมณ์แล้ว การวิ่งยังช่วยเรื่องความหนาแน่นของกระดูก เพราะโดยพื้นฐานแล้วการวิ่ง คือการออกกำลังกายแบบที่มีการลงน้ำหนักผ่านกระดูก เพราะเมื่อเราวิ่งเป็นประจำ การวิ่งจะทำให้เกิดแรงสะท้อนอย่างต่อเนื่อง เพราะทุกครั้งที่เราวิ่งและผลักขา กล้ามเนื้อจะหดตัวกลับไปกลับมา การเคลื่อนไหวซ้ำๆ จะกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อกระดูกใหม่ และช่วยให้กระดูกแข็งแรงขึ้น ซึ่งไม่เพียงส่งผลดีต่อกระดูกเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดด้วย ทั้งหมดนี้ช่วยในการสร้างกระดูกที่แข็งแรงและสุขภาพที่ดีนั่นเอง

กีฬาที่เน้นพละกำลัง : การยกน้ำหนัก

ถึงแม้ทัพนักกีฬาไทยจะโดนลงโทษทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิคครั้งนี้ได้ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ากีฬายกน้ำหนักได้กลายมาเป็นกีฬาที่ผู้คนสนใจมากขึ้นเทียบกับในอดีต เนื่องจากผลงานของนักกีฬายกน้ำหนักไทยที่ได้สร้างชื่อเสียงมาอย่างต่อเนื่อง สำหรับบุคคลทั่วไป เราไม่ได้กำลังพูดถึงการยกลูกเหล็กหนักร้อยกิโลกรัมในท่ามาตรฐาน แต่หมายถึงการออกกำลังกายอย่างช้าๆ เพื่อเสริมสร้างพละกำลัง ซึ่งหลายคนมักเข้าใจผิดว่าเหมาะสำหรับนักเพาะกายที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อเท่านั้น แต่อายุที่มากขึ้น การไม่ใช้งาน และโภชนาการที่ไม่เพียงพอเป็นปัจจัยที่ทำให้มวลกระดูกลดลงในอัตรา 1% ต่อปีหลังจากอายุ 40 ปี เนื่องจากกระดูกจะเปราะบางมากขึ้น กระดูกจึงมีแนวโน้มที่จะแตกหักมากขึ้น การหกล้มเพียงเล็กน้อยหรือการใช้แรงในชีวิตประจำวันเช่นการก้มตัวเพื่อผูกเชือกรองเท้าก็เพียงพอที่จะทำให้กระดูกแตกได้

โรคกระดูกพรุนควรเป็นเรื่องที่ทุกคนกังวล กระดูกสะโพกหักมักเป็นอาการที่ร้ายแรงที่สุด

6 ใน 10 คนที่สะโพกหักไม่สามารถกลับมาเดินเหมือนเดิมได้อย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นปัญหากระทั่งเรื่องง่ายๆ แม้แต่การเดินข้ามห้องด้วยตัวเองก็อาจจะทำไม่ได้ การฝึกความแข็งแรงจะช่วยเพิ่มความหนาแน่นของกระดูกและลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้

ด้วยการเน้นการยกน้ำหนักที่ช่วยให้มีแรงผ่านกระดูก การฝึกความแข็งแรงยังช่วยเรื่องลดน้ำหนัก เพิ่มการเผาผลาญแคลอรีได้มากขึ้น ยกระดับคุณภาพชีวิตและพัฒนาความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเรื่องต่างๆ ได้คล่องแคล่วมากขึ้น การฝึกพละกำลังสามารถป้องกันข้อต่อจากการบาดเจ็บได้ และการสร้างกล้ามเนื้อยังช่วยให้ทรงตัวได้ดีขึ้นและอาจลดความเสี่ยงที่จะหกล้มอีกด้วย

การฝึกพละกำลังสามารถลดอาการและอาการของโรคเรื้อรังได้หลายอย่าง เช่น โรคข้ออักเสบ ปวดหลัง โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า และโรคเบาหวาน นอกจากนี้งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่า การฝึกพละกำลังและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเป็นประจำ อาจช่วยพัฒนาทักษะการคิดและการเรียนรู้สำหรับผู้สูงอายุได้ ทั้งหมดนี้สามารถช่วยรักษาอิสระในการเคลื่อนไหวและเพิ่มสมรรถภาพของร่างกายเมื่อเทียบกับคนวัยเดียวให้มากขึ้นเมื่อร่างกายเริ่มเข้าสู่วัยชรา

ทั้งหมดคือการออกกำลังกายประเภทต่างๆ ที่เราได้วิเคราะห์ความแตกต่าง ข้อดีที่จะเกิดขึ้น แต่อย่าลืมว่าถ้าหากคุณมีภาวะเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ควรปรึกษาหมอหรือผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติมและช่วยดูแลการออกกำลังกายอย่างใกล้ชิด อย่าลืมว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความสนุกกับการเล่นกีฬาโดยที่ไม่ฝืนจนเกินไปนั่นเอง

Tue, 31 Aug 2021
แท็ก
วิ่ง
โอลิมปิก
ศิลปะการป้องกันตัว
ยกน้ำหนัก
กระดูกพรุน
เทควันโด

Related packages
Minimally Invasive Surgery for knee joint injuries, for example, Anterior Cruciate Ligament (ACL) injuries or other related knee joint diseases performed by sports medicine and shoulder surgeons...
package 298,000* บาท
package สิ้นสุด 31/03/2024
Arthroscopic shoulder surgery to treat rotator cuff tear, shoulder osteoarthritis , or other shoulder-related diseases by a team of sports medicine and shoulder surgeons....
package 367,000* บาท
package สิ้นสุด 31/03/2024
บทความอื่นๆ
ทำไมต้องเสริมสมรรถภาพทางกายในการเล่นกีฬา?
[ถาม-ตอบ] อยากเริ่มวิ่งเทรล ต้องทำยังไง?
กล้ามเนื้อของคุณแข็งแรงแค่ไหน? ทดสอบด้วยตนเองง่ายๆ ในท่า Push Up
ไม่ต้องเป็นนักกีฬา ก็ใช้เวชศาสตร์การกีฬารักษาอาการบาดเจ็บได้
top line

Login