บทความ /

รักษาโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาทอย่างไร? ให้ “ตรงจุด ปลอดภัย และหายขาด”

อาการปวดหลัง ปวดร้าวลงขา ขาชา หรือขาอ่อนแรง คืออาการของโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาท ซึ่งเป็นโรคที่พบได้บ่อยในกลุ่มวัยทำงาน หากมีอาการที่รุนแรงมากขึ้นจะส่งผลต่อ ระบบการขับถ่ายปัสสาวะอุจจาระ

ในปัจจุบันแนวทางการรักษาของผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่เริ่มมีอาการของโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาทเริ่มต้นการรักษาด้วยวิธีการแบบไม่ผ่าตัด คือการรับประทานยาแก้ปวด ยาลดการอักเสบ หรือยาลดอาการปวดเส้นประสาท รวมถึงการทำกายภาพบำบัด ซึ่งวิธีการรักษาดังกล่าวผู้ป่วยบางรายอาจะไม่ตอบสนองต่อการรักษา ทำให้มีอาการที่รุนแรงมากขึ้นจนไม่สามารถทำกิจกรรมและเป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวันได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงต้องอาศัยการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการให้หายขาด และลดโอกาสเสี่ยงที่จะกลับมาเป็นอีกครั้ง

บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับการรักษาในรูปแบบของการผ่าตัดเปรียบเทียบกับวิธีการรักษารูปแบบอื่นในปัจจุบัน เพื่อให้ผู้ป่วยมีข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจและเลือกการรักษาที่ตอบโจทย์มากที่สุด ซึ่งในแต่ละวิธีมีข้อดี ข้อควรระวัง และความเหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละคน

หนึ่งในทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญกระดูกสันหลังของโรงพยาบาลกระดูกและข้อ ข้อดีสุข รศ.นพ.กู้พงษ์ ศิริบำรุงวงศ์ จะมาอธิบายและให้ความรู้เกี่ยวกับการวิธีรักษาโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาททั้งหมด 3 วิธี ได้แก่ การฉีดยาสเตียรอยด์​เข้าโพรงไขสันหลัง การรักษาโดยวิธีการเลเซอร์​  และการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย

วิธีการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง (Epidural Steroid Injection)

การฉีดสเตียรอยด์ หรือที่หลาย ๆ ท่านรู้จักกันดีคือ ยากลุ่มต้านการอักเสบ (Steroid) เข้าไปยังบริเวณเส้นประสาทไขสันหลังที่ถูกกดทับ เพื่อลดอาการอักเสบของเส้นประสาทเพื่อช่วยลดอาการปวดร้าวและอาการชาจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับ

ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษา

  • ผู้ป่วยที่มีอาการปวดเฉพาะเพียงอย่างเดียวไม่มีอาการอ่อนแรงหรืออาการผิดปกติทางระบบขับถ่าย
  • ผู้ป่วยที่ต้องการเลี่ยงการผ่าตัด
  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวค่อนข้างเยอะ

ขั้นตอนและวิธีการรักษาด้วยวิธีการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง มีดังนี้

  • ทำการ X – Ray เพื่อระบุตำแหน่งเข็มในขั้นตอนของการฉีดสเตียรอยด์เข้าที่บริเวณเส้นประสาทไขสันหลัง
  • นอนพักเพื่อดูอาการหลังจากการฉีดสเตียรอยด์เป็นเวลา 30 นาที เมื่อไม่มีอาการผิดปกติสามารถกลับบ้านได้
  • อาการปวดร้าวลงขาจะค่อยๆลดลงหลังจากการฉีดสเตียรอยด์ประมาณ 3 – 5 วัน

ข้อดีของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง

  • การฉีดสเตียรอยด์เข้าโพรงสันหลังนั้นช่วยให้สามารถวินิจฉัยรอยโรคที่เป็นต้นเหตุให้เกิดอาการเช่น ในกรณีที่พบหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาทหลายระดับแต่ก่อให้เกิดอาการเพียงแค่ระดับเดียว การฉีดยาจะช่วยในการระบุระดับที่ก่อให้เกิดอาการและรักษาการไปในคราวเดียวกัน
  • สามารถลดอาการปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะสั้นและสามารถช่วยให้ผู้ป่วยกลับมาทำกิจวัตรประจำวันได้มากขึ้น (improve activities of daily living)
  • อาจใช้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเยอะมากทำให้เสี่ยงสูงถ้าต้องได้รับการผ่าตัด

ข้อควรระวังของการฉีดยาสเตียรอยด์เข้าโพรงไขสันหลัง

  • ไม่สามารถใช้กับผู้ป่วยที่มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ หรือ พบความผิดปรกติทางระบบขับถ่าย
  • ออกฤทธิ์ในระยะสั้นในระยะเวลาประมาณ 2 – 3 เดือน

วิธีการเลเซอร์ในโรคทางกระดูกสันหลัง (Laser in Spine surgery)

เลเซอร์ (Laser) ย่อมาจาก Light Amplification by Stimulated Emission of Radiation เป็นแสงที่ปล่อยออกมาและสามารถส่งผลกับเนื้อเยื่อของร่างกายแตกต่างกันไป ทำให้มีคุณสมบัติและการใช้งานที่หลากหลาย

ในส่วนของการนำเลเซอร์เข้ามาใช้ในกระบวนการรักษาทางแพทย์พบมากในปัจจุบันและเป็นวิธีการรักษาที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศให้ความสนใจ โดยเฉพาะการรักษาในรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการรักษาแบบ Laser Spine Surgery Minimally Invasive Spine Surgery และ Artificial Disk Replacement

โดยเฉพาะการรักษาในรูปแบบของ “Laser Spine Surgery” ซึ่งได้รับความสนใจจากผู้ป่วยเป็นอย่างมาก โดยที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่อาจจะยังไม่ทราบถึงกระบวนการรักษา ซึ่งมีทั้งข้อดี ข้อเสีย และภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยวิธีเลเซอร์

ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษา

  • การรักษาด้วยเลเซอร์ส่วนมากมักใช้กับการผ่าตัดหมอนรองกระดูก (Laser Discectomy)

ขั้นตอนการและวิธีการรักษาด้วยวิธีการเลเซอร์ในโรคทางกระดูกสันหลัง มีดังนี้

  • ต่อส่วนของเลเซอร์เข้ากับกล้องจุลทรรศน์ (Microscope) เพื่อเข้ามาจี้ (ablation) หมอนรองกระดูกสันหลังที่เคลื่อนเข้ามากดทับเส้นประสาท โดยใช้หลักการการส่งผ่านความร้อนเข้ามายังหมอนรองกระดูกเพื่อให้หมอนรองกระดูกที่เคลื่อนทับเส้นประสาทเกิดการหดตัว

ข้อดีของการเลเซอร์ในโรคทางกระดูกสันหลัง

  • ใช้ในกรณีที่หมอนรองกระดูกสันหลังเสื่อมและเคลื่อนกดทับเส้นประสาทแบบเล็กน้อย

ข้อควรระวังการเลเซอร์ในโรคทางกระดูกสันหลัง

  • มีอัตราการผ่าตัดซ้ำสูงเมื่อเทียบกับการผ่าตัดปกติ
  • การใช้เลเซอร์ในการรักษาโรคทางกระดูกสันหลังยังมีงานวิจัยและข้อมูลสนับสนุนไม่มากและหากเปรียบเทียบงานวิจัยจากเหตุไปหาผลแบบไปข้างหน้า (Prospective Cohort Study)พบว่าการรักษาโดยการผ่าตัด ได้ผลดีกว่าเลเซอร์ในเรื่องลดอาการปวดร้าวลงขาและการผ่าตัดซ้ำ
  • ไม่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนออกมามาก

วิธีการรักษาโดยใช้เลเซอร์ในการผ่าตัดโรคทางกระดูกสันหลัง ยังมีไม่มากและตัวอย่างการรักษามีน้อยมากเมื่อเทียบกับการรักษาวิธีอื่น ๆ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ซึ่งได้ผลที่มีประสิทธิภาพมากกว่า และโอกาสที่จะกลับมาเกิดซ้ำน้อยกว่า รักษาได้เฉพาะกลุ่มผู้ป่วยที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนเล็กน้อยเท่านั้น

ดังนั้น วิธีการรักษาด้วยเลเซอร์ในโรคทางกระดูกจึงไม่ใช่วิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน หากผู้ป่วยต้องการรักษาโดยวิธีนี้ควรศึกษาเพิ่มเติมหรือปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

วิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย

วิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย เป็นวิธีการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Spine Surgery ซึ่งเป็นแนวทางในการรักษาแบบใหม่ ที่ทำให้การบาดเจ็บลดลงกว่าเทคนิคการผ่าตัดแบบดั้งเดิม โดยอาศัยเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาช่วยในการรักษา ซึ่งการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Spine Surgery มีหลายวิธีการในการรักษา โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือการผ่าตัดแบบไม่ใส่เหล็กและไม่เชื่อมข้อ (Non – Fusion) และการผ่าตัดแบบใส่เหล็กเชื่อมต่อข้อ (Fusion)

การผ่าตัดแบบไม่ใส่เหล็กและไม่เชื่อมข้อ (Non – Fusion)

การผ่าตัดแบบไม่ใส่เหล็กและไม่เชื่อมข้อ คือ การผ่าตัดส่องกล้องขยายโพรงไขสันหลังและการผ่าตัดส่องกล้องนำหมอนรองกระดูกที่ทับเส้นประสาทออก การผ่าตัดแบบไม่ใส่เหล็กและไม่เชื่อมข้อ (Non – Fusion) เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดร้าวลงขา และไม่พบความไม่มั่นคงของข้อกระดูกสันหลัง

ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษา

ซึ่งปัจจุบันจากการงานวิจัยทางคลินิกให้ผลไปทางเดียวกันว่าการรักษาและการผ่าตัดในกลุ่มนี้ให้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพในการลดอาการปวดหลังและร้าวลงขาดีกว่าการผ่าตัดแบบเปิดในแง่ของระยะเวลาการผ่าตัดที่น้อยกว่า ผู้ป่วยเสียเลือดน้อยกว่า และระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลที่สั้นกว่า แต่ในระยะยาวสามารถให้ผลการรักษาที่เทียบเท่ากัน

การผ่าตัดแบบใส่เหล็กเชื่อมต่อข้อ (Fusion)

การผ่าตัดกระดูกสันหลังบริเวณเอวผ่านผิวหนัง (Minimally Invasive Surgery  : MIS TLIF) โดยการผ่าตัดเจาะรูด้านหลัง และทำการสอดอุปกรณ์เข้าไปยังกระดูกสันหลังและเชื่อมกระดูกสันหลัง โดยใส่อุปกรณ์แทนหมอนรองกระดูกสันหลัง หลังจากที่ผ่าตัดนำหมอนรองกระดูกที่กดทับเส้นประสาทออก

ผู้ป่วยที่เหมาะสำหรับการรักษา

  • ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังไม่มั่นคง
  • ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังเคลื่อน
  • ผู้ป่วยที่มีโพรงไขสันหลังตีบแคบและข้อเสื่อมมาก

ข้อดีการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย

  • ขนาดแผลลดลง
  • ลดการเลาะกล้ามเนื้อและเอ็นออกจากกระดูกสันหลัง ซึ่งทำให้เกิดการเจ็บปวดจากการผ่าตัดลดลง
  • ลดการเสียเลือด
  • ลดการติดเชื้อ
  • ลดระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล และฟื้นตัวได้เร็วมากยิ่งขึ้น

ข้อควรระวังการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อย

วิธีการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดแบบแผลเล็กและเนื้อเยื่อบาดเจ็บเล็กน้อยเป็นอีกวิธีที่เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ต้องการรักษาให้หายขาดและลดโอกาสที่จะเกิดโรคซ้ำ มีการฟื้นตัวได้เร็ว สำหรับวิธีการรักษานี้ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการรักษาร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีที่สุดในการรักษา

Reference

รศ.นพ.กู้พงษ์ ศิริบำรุงวงศ์,แนวทางการรักษาโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาท, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Wed, 18 Aug 2021
แท็ก
ปวดร้าวลงขา
ฉีดยาสเตียรอยด์
กระดูกเอวกดทับเส้นประสาท
ผ่าตัดแผลเล็ก
เลเซอร์
ขาอ่อนแรง
ขาชา
ปวดหลัง
Related doctors
Asst. Prof. Sirichai Wilartratsami, M.D.
Assoc. Prof. Rattalerk Arunakul, M.D.
Assoc. Prof. Weerasak Singhatanadgige, M.D.
Assoc. Prof. Gun Keorochana, M.D.
Assoc. Prof. Koopong Siribumrungwong, M.D.
Jirachai Pisutbenya, M.D.

Related packages
Endoscopic Discectomy used to treat a herniated or slipped disc, resulting in smaller incision, less pain and faster recovery performed by a team of spine surgeons....
package 451,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
1-Level Minimally Invasive Transforaminal Lumbar Interbody Fusion Endoscopic (MIS TLF) to treat Lumbar Disc Herniation performed by a team of spine surgeons....
package 492,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
Treatment of spinal disorders using steroid injections into the spinal cavity, performed by a team of spine surgeons....
package 49,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
บทความอื่นๆ
โรคกระดูกสันหลังคด ปัญหาที่ควรได้รับการรักษา
โรคกระดูกสันหลังเสื่อม
กระดูกสันหลัง “เสื่อม” หรือยัง ? สังเกตอาการเบื้องต้นกัน
รักษาโรคกระดูกเอวกดทับเส้นประสาทอย่างไร? ให้ “ตรงจุด ปลอดภัย และหายขาด”
หมอนรองกระดูกปลิ้นกดทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตที่รักษาได้ และไม่น่ากลัวอย่างที่คิด
top line

Login