การฟื้นฟูและกายภาพบำบัดที่ kdms
รักษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือ หมอฟื้นฟู และทีมสหสาขาวิชา ได้แก่ นักกายภาพบำบัดและนักเวชศาสตร์การกีฬา
เพราะที่ kdms เราใส่ใจกับคุณภาพชีวิตของคุณ เราจึงให้ความสำคัญกับทุกความต้องการของผู้มารับบริการแม้เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยก็ตามและเพื่อให้ท่านหายปวด หรือสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด เราจึงเตรียมทีมสหสาขาวิชาชีพที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระดูกและข้อ ได้แก่ นักกายภาพบำบัด และนักเวชศาสตร์การกีฬา เพื่อเป็นทีมงานร่วมกับแพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู หรือหมอฟื้นฟูซึ่งเป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคของกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท รวมทั้งกระดูกและข้อ ที่เน้นการรักษาแบบประคับประคองตั้งแต่ระยะเฉียบพลันจนถึงระยะเรื้อรัง
ซึ่งการให้การรักษาของทีมฟื้นฟูและกายภาพบำบัดของ kdms นั้น เราเน้นการรักษาแบบ Active Rehab กล่าวคือเน้นการออกกำลังกายด้วยวิธีและเครื่องมือต่างๆ ที่ไม่เพียงแต่ซ่อมแซมระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่บาดเจ็บเท่านั้น แต่จะช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและข้อในระยะยาว ป้องกันการบาดเจ็บซ้ำ และเราเน้นการวิเคราะห์สาเหตุของการบาดเจ็บอย่างจริงจัง เช่น วิเคราะห์ท่าทางที่ผิดที่อาจกระตุ้นให้เกิดการบาดเจ็บซ้ำ เป็นต้น ดังนั้นจึงมั่นใจได้ว่าด้วยทีมการดูแลที่ครบวงจรจะช่วยดูแลสุขภาพกระดูกและข้อของคุณในระยะยาว
โรคหรืออาการที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูและกายภาพบำบัด
- โรคที่เกี่ยวกับการปวดกล้ามเนื้อต่างๆ เช่น กล้ามเนื้อยึดตึงเป็นพังผืด Myofascial pain syndrome
- โรคออฟฟิศซินโดรม หรือโรคที่เกี่ยวช้องกับการทำงานซ้ำๆ เช่น เอ็นข้อมืออักเสบ นิ้วล็อค เป็นต้น
- ปวดตึงต้นคอ คอแข็ง หน้ายื่นไหล่ห่อ หรืออาการปวดต้นคอจากกระดูกคอเสื่อม
- โรคที่เกิดจากความเสื่อมของข้อต่างๆ เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม เป็นต้น
- โรคกระดูกสันหลังเสื่อม กระดูกสันหลังยุบ หมอนรองกระดูกปลิ้นหรือหลังคด
- อาการปวดหลังจากการใช้งานที่ผิด ท่าทางที่ไม่เหมาะสม
- โรคที่ทำให้เกิดอาการอ่อนแรงจากสาเหตุต่างๆ โดยเฉพาะจากการถูกกดทับของเส้นประสาท อาการชาจากการกดทับของเส้นประสาท
- อาการชา ปวดเสียว จากเส้นประสาทบาดเจ็บ หรือการถูกตัดขา
- ภาวะข้อติดจากสาเหตุต่างๆ ข้อผิดรูป
- อาการปวดข้อไหล่ หรืออาการข้อไหล่ติด
- การบาดเจ็บจากกีฬา ที่เน้นการรักษาแบบประคับประคอง หรือการทำกายภาพบำบัด
- การฟื้นฟูภายหลังการผ่าตัดทางกระดูกและข้อต่างๆ รวมทั้งภายหลังจากการส่องกล้องต่างๆ
- อาการปวดฝ่าเท้า ข้อเท้าพลิก โดยเน้นที่การรักษาแบบประคับประคอง
- ภาวะโรคทางกระดูก ข้อและกล้ามเนื้อที่พบในเด็ก เช่น ขาสั้นยาวไม่เท่ากัน เท้าแบน เท้าปุก หลังคด เป็นต้น