“นิ้วล็อก” โรคยอดฮิต รักษาผิด เสี่ยงบาดเจ็บเพิ่ม
|
นิ้วล็อก หรือ Trigger Finger คือโรคที่พบได้บ่อยขึ้นในปัจจุบัน เกิดจากการที่เราใช้มือทำกิจกรรมอย่างหนัก โดยมีการงอ เกร็ง เหยียดนิ้ว บ่อยๆ ซ้ำๆ ด้วยความรุนแรง เอ็นจึงมีการเสียดสีจนเกิดการอักเสบบวมขึ้น ไม่สามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้สะดวก ซึ่งเมื่อเอ็นเกิดการอักเสบจนไปขัดกับปลอกหุ้มเส้นเอ็นแล้ว จะเกิดอาการสะดุด เจ็บ หรือถ้าเป็นหนักๆ นิ้วจะล็อกติด ทำให้กำ หรือเหยียดนิ้วออกได้ไม่สุด หากปล่อยทิ้งไว้นานเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัด ซึ่งไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆ คนคิด
Table of Contents
Toggleนิ้วล็อก (Trigger Finger) คืออะไร
อาการนิ้วล็อก (Trigger Finger) คืออาการล็อก หรือสะดุดบริเวณเส้นเอ็น เมื่อมีการกำ หรือแบมือ โดยจะมีอาการติดขัดเมื่อเคลื่อนไหวนิ้ว ไม่สามารถเคลื่อนไหวนิ้วได้อย่างสะดวกแบบปกติ และอาการนิ้วล็อกมักจะเกิดที่บริเวณโคนนิ้ว หรือข้อนิ้ว สามารถเกิดขึ้นได้ทุกนิ้ว
อาการของนิ้วล็อก มีกี่ระยะ
อาการนิ้วล็อก แบ่งออกเป็นระยะความรุนแรงที่แตกต่างกัน ดังนี้
- ระยะที่ 1: อาการปวดบริเวณโคนนิ้วด้านฝ่ามือ
- ระยะที่ 2: มีอาการปวด ร่วมกับอาการสะดุดบริเวณโคนนิ้ว อาจจะไม่ต้องถึงกับนิ้วล็อกเลยทันที
- ระยะที่ 3: เริ่มมีอาการนิ้วล็อก เมื่องอนิ้วแล้วไม่สามารถเหยียดกลับได้ สามารถแบ่งความรุนแรงได้อีก 3 รูปแบบ ดังนี้
- อาการนิ้วล็อก แต่ยังสามารถออกแรงเยอะๆ เพื่อเหยียดนิ้วได้
- อาการนิ้วล็อก เมื่อพยายามออกแรงกางมือก็ยังเหยียดไม่ออก จำเป็นต้องใช้มืออีกข้างเข้ามาช่วย
- อาการนิ้วล็อกค้าง ไม่สามารถง้างมือออกมาได้
นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital
นิ้วล็อกเกิดจากอะไรได้บ้าง
สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการนิ้วล็อก มักเกิดจากการใช้งานมือแบบเดิมซ้ำๆ ไปมา ไม่ว่าจะเป็นการกำมือแน่น เป็นเวลานาน การออกแรงกดนานๆ รวมถึงการออกแรงกดบ่อยๆ ซ้ำๆ เมื่อมีการใช้งานนิ้ว หรือมือในลักษณะนี้บ่อยๆ เป็นเวลานาน ทำให้เอ็นบริเวณนิ้วมือเกิดการอักเสบ บวมขึ้นจบไปขัดกับปลอกหุ้มเอ็น และกลายเป็นอาการนิ้วล็อกได้ในที่สุด
ใครบ้างที่มีความเสี่ยงนิ้วล็อก
อาการนิ้วล็อก มักพบในกลุ่มผู้ป่วยที่เป็นเพศหญิง และกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคเบาหวาน และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ รวมถึงกลุ่มนักกีฬาที่จำเป็นต้องใช้มือจับไม้แน่นๆ เช่นนักกอล์ฟ นักเทนนิส หรือนักแบดมินตัน นอกจากนี้ ในกลุ่มพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานโดยใช้คีย์บอร์ดในทุกวันก็มีความเสี่ยงเกิดอาการนิ้วล็อกได้เช่นเดียวกัน
วิธีป้องกันความเสี่ยงภาวะนิ้วล็อก
อาการนิ้วล็อก สามารถป้องกันได้ง่ายๆ ด้วยการหลีกเลี่ยงการใช้งานบริเวณมือ และนิ้วมือ ที่หนักเกินไป อย่ากำอะไรแน่นๆ เป็นระยะเวลานานๆ เพราะอาการหดเกร็งอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงนิ้วล็อกได้
การรักษานิ้วล็อก ทำได้อย่างไรบ้าง?
แนวทางในการรักษาโรคนิ้วล็อกนั้นจะมีหลักการสำคัญเป็นขั้นตอนการรักษา ดังต่อไปนี้
1. บริหารนิ้วมือ
ปัจจัยหลักในการบริหารนิ้วมือ เพื่อรักษา หรือบรรเทาอาการนิ้วล็อกด้วยวิธีธรรมชาติ ทำได้ดังนี้
- เริ่มต้นจากการนำมือไปแช่ในน้ำอุ่นประมาณ 5 นาที เพื่อให้เส้นเอ็น หรือเนื้อเยื่อคลายตัว
- เหยียดนิ้วไปในทิศทางตรงกันข้ามกับบริเวณที่มีอาการนิ้วล็อก
- ทำค้างไว้ประมาณ 10 วิ แล้วสลับมากำมือ
- ทำไปเรื่อยๆ จนรู้สึกว่าอาการปวดจากนิ้วล็อกเริ่มบรรเทาลง หรืออาการตึงเริ่มคลายตัว
2. หลีกเลี่ยงการใช้นิ้วอย่างไม่เหมาะสม
สิ่งสำคัญของการรักษาโรคนิ้วล็อก คือ ต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่เป็นต้นเหตุ ซึ่งได้แก่กิจกรรมที่ต้องใช้มือหนักๆ ออกแรงมากๆ ต้องเกร็ง งอมือหรือนิ้วบ่อยๆ เช่น ใช้โทรศัพท์มือถือติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ถือของหนักๆ เป็นต้น เพราะหากเราไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลีกเลี่ยงการใช้งานนิ้วมืออย่างหนักแล้ว โอกาสในการรักษาให้หายก็จะยากขึ้น หรือถึงหายดีแล้วก็อาจกลับเป็นซ้ำได้อีก
3. ใช้ยาต้านการอักเสบ
นอกจากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้มือให้เหมาะสม เพื่อรักษานิ้วล็อกแล้ว ก็จะใช้การแช่น้ำอุ่นร่วมด้วย เพื่อการยืดเหยียดคลายกล้ามเนื้อนิ้ว ซึ่งหากทำแล้วยังไม่ดีขึ้น และมีอาการเจ็บปวด แพทย์จะให้รับประทานยาต้านการอักเสบ โดยหากหลังจากได้รับยาต้านการอักเสบแล้ว ก็ยังไม่ได้ผล แพทย์จะพิจารณาฉีดยาลดการอักเสบชนิดสเตียรอยด์เข้าไปบริเวณที่บริเวณโคนนิ้วที่มีการอักเสบบวม
4. รักษานิ้วล็อกด้วยวิธีการผ่าตัด
ในกรณีที่นิ้วล็อกรุนแรง หากฉีดยาสเตียรอยด์แล้ว ได้รับการดูแลรักษาเบื้องต้นแล้ว แต่อาการนิ้วล็อกก็ยังไม่ดีขึ้น แพทย์ก็จะพิจารณาผ่าตัดรักษาที่ต้นเหตุ ซึ่งหลักการสำคัญของการผ่าตัดคือ การผ่าเข้าไปยังบริเวณรอยโรคเพื่อคลายปลอกหุ้มเอ็นออก ทำให้เอ็นสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างเต็มที่ ไม่มีการเสียดสี ไม่มีสะดุดอีก กลับมาใช้งานนิ้วมือได้ตามปกติ ซึ่งก่อนการผ่าตัดนั้น ก็มักจะทำการให้ยา และมีการทำกายภาพบำบัดควบคู่กันไป
การดูแลตนเองก่อนผ่าตัด
สำหรับผู้ป่วยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวอะไรเป็นพิเศษเพราะการผ่าตัดรักษานิ้วล็อก เป็นการผ่าตัดขนาดเล็ก ใช้เวลาเพียง 5-10 นาทีเท่านั้น แต่หากผู้ป่วยมีการกินยาโรคประจำตัวเป็นประจำ อาทิ ยาต้านเกล็ดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ยารักษาโรคที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน จำเป็นต้องปรึกษาแพทย์อายุรกรรมเพื่อหยุดยาก่อน
การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด
หลังจากผ่าตัดรักษานิ้วล็อก จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำประมาณ 10-14 วันระหว่างรอการตัดไหม แต่ในระหว่างนั้นผู้ป่วยสามารถใช้งานนิ้วมือได้ตามปกติ
หลังการผ่าตัดรักษานิ้วล็อกต้องทำกายภาพบำบัดหรือไม่
ไม่จำเป็นต้องทำกายภาพบำบัด แต่หากหลังผ่าตัดไม่ได้ขยับนิ้ว หรือขยับนิ้วน้อย ข้อนิ้วมีอาการตึง แพทย์แนะนำให้แช่นิ้วในน้ำอุ่น และกำแบมือ เพื่อบรรเทาอาการตึงได้
นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital
การผ่าตัดนิ้วล็อก มีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน
การผ่าตัดรักษาโรคนิ้วล็อก ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่หลายๆ คนกังวล เพราะการผ่าตัดที่ใช้กันเป็นมาตรฐานนั้น จะผ่าตัดด้วยวิธีเปิดแผลเล็กๆ ประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วเข้าไปคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นในช่วงที่มีการเคลื่อนไหวขัดกันอยู่ให้คลายออก
การผ่าตัดแบบเปิดแผลนี้จะทำให้แพทย์มองเห็นจุดที่เป็นปัญหาของโรคได้อย่างชัดเจน ช่วยลดโอกาสเสี่ยงที่จะผ่าตัดถูกเส้นประสาทบริเวณรอบๆ เสียหายได้เป็นอย่างดี ถือเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง เจ็บน้อย และใช้เวลาไม่นาน เพียงแค่ 5-10 นาทีเท่านั้น
หลังผ่าตัดเสร็จ ผู้ป่วยจะสามารถเคลื่อนไหวนิ้วมือได้เลยทันที เว้นแต่ในกรณีที่ผู้ป่วยนิ้วล็อกเรื้อรังมาเป็นเวลานาน ก็อาจจะมีภาวะข้อติดยึดร่วมอยู่ด้วย ซึ่งอาจต้องอาศัยการกายภาพบำบัดช่วยในช่วงแรกหลังผ่าตัด เพื่อให้ข้อที่ยึดติดอยู่คลายออก แต่ก็สามารถใช้มือทำกิจกรรมได้อย่างปกติเลยทันทีหลังผ่าตัดเช่นกัน
อาการนิ้วล็อกมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่
หากเป็นการรักษานิ้วล็อกด้วยวิธีธรรมชาติ จะมีโอกาสกลับมาเป็นอีกได้ ส่วนการผ่าตัดรักษานิ้วล็อก จะมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำน้อยมาก ประมาณ 2% เท่านั้น
อาการนิ้วล็อกหายเองได้หรือไม่
อาการนิ้วล็อก หากปล่อยไว้โดยไม่รักษาจะไม่สามารถหายเองได้ แต่หากมีอาการเพียงเล็กน้อย การรักษาด้วยวิธีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมถึงการบริหารนิ้วมือก็สามารถรักษานิ้วล็อกได้ แต่หากปล่อยเอาไว้เรื้อรังก็จำเป็นต้องมีการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการนิ้วล็อก
ผ่าตัดนิ้วล็อกที่ kdms Hospital ดีอย่างไร
ที่โรงพยาบาล kdms Hospital มีบริการด้านการรักษาอาการนิ้วล็อกอย่างครบครัน ในแง่ของการรักษานิ้วล็อกโดยการไม่ผ่าตัด ที่นี่มีเครื่องมือครบถ้วน สร้างทางเลือกการรักษานิ้วล็อกที่หลากหลาย และเหมาะสมสำหรับคนไข้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็น
- การบำบัดด้วยการใช้เลเซอร์
- การบำบัดด้วยคลื่นกระแทก (Shockwave Therapy)
- การบำบัดด้วยอัลตราซาวนด์
นอกจากนี้ ในแง่ของการผ่าตัด ทางโรงพยาบาล kdms Hospital เองก็มีแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกและข้อ มากประสบการณ์เป็นผู้ผ่าตัด ช่วยลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดจากการผ่าตัด และรักษาอาการนิ้วล็อกด้วยการผ่าตัดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital
สรุป
วิถีชีวิตในโลกยุคปัจจุบันที่ผู้คนติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต ที่มักพกถือติดมืออยู่ตลอดเวลา และใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ อย่างหนักตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน เพิ่มความเสี่ยงให้เกิดอาการนิ้วล็อกได้ง่ายมากขึ้น ดังนั้น หากสังเกตพบว่าตัวเราเองมีอาการผิดปกติที่นิ้วมือ เช่น เจ็บบริเวณโคนนิ้ว เหยียดหรืองอนิ้วได้ไม่สุด รู้สึกสะดุดเวลางอหรือเหยียดนิ้ว ก็ไม่ควรนิ่งนอนใจ แต่ควรรีบมาปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย เพื่อให้หากตรวจพบว่าเป็นนิ้วล็อกตั้งแต่เนิ่นๆ จะรักษาได้หายเร็วกว่าโดยที่อาจยังไม่ต้องทำการรักษานิ้วล็อกด้วยการผ่าตัดเลยก็ได้
บทความโดย นพ.ศุภกร บูรณะวงศ์ตระกูล ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านมือและข้อมือ