การดูแลหลังผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมืออย่างถูกวิธี

การดูแลหลังผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมืออย่างถูกวิธี

คนไข้พังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือจะมีอาการชาบริเวณนิ้วหัวแม่มือ ชี้ กลาง ไปจนถึงนิ้วนางครึ่งซีก มีสาเหตุมาจากเส้นประสาท Median Nerve ถูกกดทับ เกิดในกลุ่มคนที่มีการใช้งานมือเยอะ ใช้งานซ้ำๆ ทำงานที่ต้องงอข้อมือทั้งลงและขึ้นเยอะๆ ตลอดจนทำงานกับเครื่องจักรที่มีแรงสั่น เช่นขุดเจาะถนน ทั้งยังสามารถพบได้ในคนท้อง เพราะฮอร์โมนเปลี่ยนทำให้กล้ามเนื้อและเนื้อเยื่อต่างๆ บวมขึ้นทับเส้นประสาทได้ แต่ถ้าคลอดแล้วจะดีขึ้น นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่เป็นโรคต่างๆ ที่ส่งผลให้มีพังผืดที่ข้อมือ เช่น ไทรอยด์ เบาหวาน

ในกรณีที่แพทย์พิจารณาให้ผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ คนไข้ควรมีการเตรียมตัวก่อน และการดูแลหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมืออย่างถูกวิธี เพื่อให้กระบวนการฟื้นฟูเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

Table of Contents

ทำไมจึงควรรักษาพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ?

หากเกิดพังผืดกดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ แล้วปล่อยไว้ ไม่รีบเข้ารับการรักษา จะทำให้เส้นประสาทถูกกดเป็นระยะเวลานาน จนอาจทำให้เส้นประสาทบริเวณดังกล่าวถูกทำลายอย่างถาวร แม้ผ่าตัดพังผืดออกแล้ว คนไข้อาจไม่สามารถกลับมาใช้มือตามปกติได้

จำเป็นต้องผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือไหม?

คนไข้พังผืดทับเส้นประสาทจะมีอาการเริ่มแรกคือ ชาบริเวณมือในช่วงเช้า จะดีขึ้นในช่วงเวลากลางวัน การรักษาพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือโดยทั่วไป ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัด ในเบื้องต้น แพทย์จะแนะนำให้คนไข้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม หลีกเลี่ยงการงอข้อมือนานๆ ให้พักการใช้งานข้อมือเป็นระยะ ใส่อุปกรณ์ประคองข้อมือขณะนอนหลับ เพื่อช่วยประคองข้อมือให้อยู่ในท่าที่เหมาะสม รวมไปถึงแนะนำให้กินวิตามินบี หรือยาแก้ปวดปลายประสาท (สำหรับคนไข้ที่มีอาการปวดร่วมด้วย) หรืออาจจะฉีดสเตียรอยด์บริเวณใกล้เส้นประสาท ลดการอักเสบ ลดบวม แล้วคอยดูอาการไปอีก 3-6 เดือน

เมื่อไหร่ที่แพทย์แนะนำผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ?

เมื่อไหร่ที่แพทย์แนะนำผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ?

ในกรณีที่รักษาข้างต้นไปแล้วใน 3-6 เดือน แต่ยังไม่ดีขึ้น คนไข้อาจรู้สึกชาบริเวณมือทั้งวัน ไปจนถึงนิ้วหัวแม่มือลีบ ออกแรงไม่ได้ ในกรณีที่ปล่อยไว้นานอาจจะไม่สามารถงอนิ้วหัวแม่มือได้ ส่งผลให้หยิบจับของไม่ได้ หรือเมื่อมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย แพทย์จะแนะนำให้พิจารณาผ่าตัดเพื่อรักษา และหากคนไข้เป็นหนักมากจนกล้ามเนื้อลีบ การผ่าตัดพังผืดอย่างเดียวอาจจะไม่หายขาด จำเป็นต้องทำอย่างอื่นเพิ่มเติมตามการพิจารณาของแพทย์ 

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ

การผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ เป็นการผ่าตัดเล็ก ฉีดยาชาทำได้ ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล จึงไม่จำเป็นต้องมีการเตรียมตัวเป็นพิเศษอะไร โดยทั่วไปแล้วควรเตรียมตัวดังนี้

  • คนไข้ที่กินยาละลายลิ่มเลือด หรือยากดภูมิ จำเป็นต้องหยุดกินยา ปรึกษาเจ้าของไข้ที่จ่ายยาให้ ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะยาละลายลิ่มเลือดจะทำให้เลือกหยุดยาก และยากดภูมิจะทำให้แผลหายช้า ส่งผลให้แผลเสี่ยงติดเชื้อได้
  • ควรงดสูบบุหรี่ก่อนเข้ารับการผ่าตัด เพราะบุหรี่มีส่วนทำให้แผลหายช้า จึงควรงดสูบบุหรี่ก่อนผ่าตัดประมาณ 1 เดือน

ขั้นตอนการผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ

ในปัจจุบัน การผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือสามารถทำได้ 2 วิธี ขึ้นอยู่กับความต้องการของคนไข้ โดยการผ่าตัดทั้งสองจะมีความแตกต่างกัน ดังนี้

  • การผ่าตัดแบบเปิด แผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณฝ่ามือ มีขนาดประมาณ 2-3 เซนติเมตร หลังจากผ่าตัด 1 สัปดาห์ แพทย์จะนัดทำแผลและเปลี่ยนผ้า และในสัปดาห์ที่ 2 แพทย์จะนัดตัดไหม
  • การผ่าตัดแบบส่องกล้อง แผลผ่าตัดจะอยู่บริเวณรอยพับตรงข้อมือ มีขนาดเล็กไม่ถึง 1 เซนติเมตร มีข้อดีคืออาการเจ็บ และปวดหลังผ่าน้อยกว่า กลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วกว่าการผ่าตัดแบบเปิด แพทย์จะนัดตัดไหมใน 7-10 วันหลังการผ่าตัด

หลังผ่าตัดทั้งสองแบบ จะมีการพันแผลให้ โดยผ้าพันแผลจะมีความหนาเพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใส่เฝือก 

คนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติและสามารถใช้งานมือได้เลย แต่แผลจะหายดีภายใน 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด นอกจากนี้ควรดูแลตัวเองหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือด้วยการหลีกเลี่ยงไม่ให้แผลโดนน้ำ ทำตามที่แพทย์แนะนำย่างเหมาะสม และหมั่นกำ-แบมือบ่อยๆ

ความเสี่ยงควรระวังหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ

ความเสี่ยงควรระวังหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ

ภาวะแทรกซ้อนที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ มีดังนี้

  • แผลติดเชื้อ คนไข้ที่รักษาโดยการฉีดสเตียรอยด์ควรเว้นการผ่าตัดไปก่อน 3 เดือน เพราะเสี่ยงแผลผ่าตัดติดเชื้อได้
  • โดนเส้นประสาทระหว่างผ่าตัด แต่โดยปกติแพทย์จะมีความระมัดระวังเป็นพิเศษอยู่แล้ว จึงมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย
  • มีเลือดออกจากแผล โอกาสเกิดน้อย

การดูแลป้องกันแผลเป็นหลังผ่าตัด

หลังจากตัดไหมแล้ว แพทย์แนะนำให้เริ่มนวดบริเวณแผลเป็น รวมกับการใช้ครีมวิตามินอี จะช่วยให้แผลนิ่มลงได้เร็ว และสำหรับคนไข้ที่กังวลเรื่องการเกิดคีลอยด์ แพทย์แนะนำให้ใช้ซิลิโคนชีทแปะ เพื่อลดรอยแผลเป็นและลดโอกาสเกิดคีลอยด์

การฟื้นตัวหลังผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมือ

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ คนไข้สามารถใช้งานมือได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักเกิน 1-2 กิโลกรัม และหลีกเลี่ยงการกำมือแน่นๆ หรือใช้แรงมือเยอะ 

หลังจากประมาณ 4 สัปดาห์ คนไข้สามารถเพิ่มการใช้งานมือได้มากขึ้น และสามารถใช้งานได้เป็นปกติหลังจากผ่าตัด 2 เดือน

การบริหารหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ

การบริหารหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ

การดูแลหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ แพทย์แนะนำให้กำ-แบมือบ่อยๆ และทำท่า Six Pack Excercise เพื่อช่วยลดอาการบวม

ดูแลตัวเองหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือผิดวิธี ส่งผลเสียอย่างไร

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือผิดวิธีที่พบบ่อย คือการปล่อยให้แผลโดนน้ำ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงแผลติดเชื้อ แผลหายช้า และแผลอักเสบ 

หลังจากผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือแล้ว มีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำไหม

คนไข้ที่เคยผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือแล้ว มีโอกาสที่จะกลับมาเป็นพังผืดอีกได้ประมาณ 10-20% เพราะร่างกายอาจสร้างพังผืดขึ้นมาใหม่โดยที่เราไม่รู้ตัวได้ตลอด แม้จะผ่าตัดเสร็จจนหายดีแล้วก็ตาม

ผ่าตัดพังผืดข้อมือ ที่ KDMS ดีอย่างไร

ที่โรงพยาบาล KDMS มีแพทย์เฉพาะทางลงมือผ่าตัดเอง ทำให้มีความละเอียดในการผ่าตัด และเป็นไม่กี่โรงพยาบาลในไทยที่สามารถ​ผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือแบบส่องกล้องได้ ทำให้มีรอยแผลที่เล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิด มีระยะเวลาการฟื้นตัวหลังผ่าตัดที่สั้น ช่วยให้คนไข้กลับมาใช้งานมือปกติได้อย่างรวดเร็ว

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

สรุป

พังผืดที่ข้อมือ ต้นเหตุของอาการพังผืดกดทับเส้นประสาท ทำให้ชาบริเวณมือและนิ้วมือ คนไข้บางรายอาจกล้ามเนื้ออ่อนแรงร่วมด้วย หากปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษา จะทำให้ไม่สามารถกลับมาใช้งานมือได้ตามปกติ การรักษามีหลากหลายวิธี แต่หากไม่ผ่าตัดแล้วอาการไม่ดีขึ้น แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดพังผืดที่ข้อมือ โดยจะมีทั้งการผ่าตัดแบบเปิด และการผ่าตัดแบบส่องกล้อง โดยทั้งสองวิธีจะมีข้อดีที่แตกต่างกันออกไป ให้คนไข้เลือกได้ตามความต้องการ หลังจากผ่าตัด คนไข้ควรมีการดูแลตัวเองหลังผ่าตัดพังผืดที่ข้อมืออย่างถูกวิธีตามที่แพทย์แนะนำ เพื่อลดโอกาสแผลติดเชื้อ ช่วยให้ฟื้นฟูได้ตามเหมาะสม และควรหมั่นบริหารข้อมือโดยการกำ-แบมือบ่อยๆ รวมไปถึงทำท่า Six Pack Exercise เพื่อลดอาการบวมหลังผ่าตัด และช่วยให้กลับมาใช้งานมือปกติได้เร็วยิ่งขึ้น

บทความโดย นพ.ศุภกร บูรณะวงศ์ตระกูล ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และแขน

จันทร์, 29 เม.ย. 2024

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดคลายพังผืดที่กดทับเส้นประสาทที่ข้อมือผ่านการส่องกล้อง แผลเล็ก อยู่ในตำแหน่งข้อมือ ซึ่งไม่ขัดขวางการใช้งานของมือ ทำให้ฟื้นตัวกลับไปใช้งานได้เร็ว...
package 61,500* บาท
package สิ้นสุด 30/09/2024
การผ่าตัดคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือ เพื่อรักษาอาการเจ็บ นิ้วงอเหยียดสะดุดจากโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และเเขน...
package 18,500* บาท
package สิ้นสุด 30/09/2024
บทความอื่นๆ
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
กระดูกแขนติดผิดรูป พร้อมแนวทางรักษาเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ
กระดูกแขนติดผิดรูป พร้อมแนวทางรักษาเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ
top line