กระดูกข้อมือหักมีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุไหน และรักษาได้อย่างไร

กระดูกข้อมือหัก เกิดขึ้นได้อย่างไร สามารถรักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง

เมื่อกระดูกข้อมือหักจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีโดยแพทย์เฉพาะทาง เพื่อให้ข้อมือสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ และป้องกันปัญหาที่อาจเกิดตามมาจากการบาดเจ็บได้ บทความนี้จะพาไปรู้จักกับกระดูกข้อมือหักให้มากขึ้น ว่าควรดูแลรักษาอย่างไร

กระดูกข้อมือหัก คืออะไร 

กระดูกข้อมือหัก มักเป็นคำที่ใช้เรียกการหักของกระดูก 2 ส่วนที่ใกล้เคียงกัน ได้แก่ ส่วนที่เป็นกระดูกข้อมือเอง (carpal bone fracture) และกระดูกส่วนปลายของกระดูกแขนท่อนล่าง (distal radioulnar joint) ซึ่งกระดูกส่วนนี้เองเป็นกระดูกส่วนที่หักบ่อยที่สุดในร่างกาย

กระดูกข้อมือหัก เกิดจากอะไร

กระดูกข้อมือหัก เกิดจากอะไร

อุบัติเหตุที่เป็นสาเหตุหลักของกระดูกข้อมือหัก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่

  1. อุบัติเหตุทั่วไป อุบัติเหตุทั่วไปที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น การล้มพลัดตก หกล้ม พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุ เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอาการกระดูกบางหรือกระดูกพรุนร่วมด้วย ทำให้เมื่อเกิดอุบัติเหตุแม้เพียงเล็กน้อยก็มีโอกาสที่กระดูกข้อมือจะหักได้
  2. อุบัติเหตุแบบรุนแรง การบาดเจ็บรูปแบบนี้มีความรุนแรงมาก โดยเวลาที่เกิดอุบัติเหตุเรามักจะเอามือค้ำป้องกันตัวเองไว้ ทำให้กระดูกข้อมือหักตามมา ซึ่งรูปแบบการหักในกรณีนี้นั้นจะแตกหักได้มาก รูปแบบการหักซับซ้อนมากขึ้น อุบัติเหตุในกรณีนี้ ได้แก่ การตกจากที่สูง อุบัติเหตุจราจร อุบัติเหตุจากการกีฬา กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้มักมีอายุน้อยลงมากว่ากลุ่มแรก

กระดูกข้อมือหัก หากปล่อยไว้ อันตรายไหม?

เราต้องใช้ข้อมือในแทบทุกกิจกรรมของการดำเนินชีวิตประจำวัน ข้อมือเป็นข้อที่สามารถทำการเคลื่อนไหวได้หลากหลายทิศทาง เช่น การงอ เหยียด เอียง หมุนมือ พลิกมือ เป็นต้น ดังนั้นเมื่อกระดูกข้อมือหักแล้วไม่ได้รับการรักษาอยากถูกวิธี ส่งผลให้ข้อมืออาจผิดรูป ข้อติด ขยับข้อมือได้ไม่สุด มีแรงมือลดลง เจ็บ ส่งผลให้ทำกิจกรรมในชีวิตประจำวันได้ลำบาก นอกจากนี้ในระยะยาวกระดูกที่ติดผิดรูปนั้นอาจทำให้เกิดข้อเสื่อมตามมาในอนาคตได้

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

ข้อมือหักกับข้อมือซ้น ต่างกันอย่างไร?

ข้อมือหักกับข้อมือซ้น ต่างกันอย่างไร?

เมื่อรู้สึกเจ็บข้อมือหลังจากเกิดอุบัติเหตุ สาเหตุแบ่งออกเป็น 2 อย่าง คือ กระดูกข้อมือหัก อาการเจ็บที่เมื่อเอกซเรย์ดูแล้วพบรอยเเตกหักของกระดูกและข้อมือซ้น ที่มีอาการเจ็บบวมคล้ายๆ กัน จากการตรวจร่างกาย แต่เอกซเรย์ไม่มีรอยหักที่กระดูก ซึ่งการเจ็บแบบนี้เกิดจากการบาดเจ็บของเอ็นข้อมือ ดังนั้นหากเกิดการบาดเจ็บที่ข้อมือ มีการปวดบวมควรมาพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโดยละเอียด 

อาการกระดูกข้อมือหัก

กระดูกข้อมือหัก หากรุนแรงสามารถสังเกตได้ชัดว่าข้อมือมีความผิดรูป เอียงจากปกติ แต่หากกระดูกที่หักนั้นเคลื่อนน้อย ผิดรูปไม่มาก จะไม่เห็นความผิดรูป แต่สามารถสังเกตได้จากอาการอื่นแทน เช่น รอยฟกช้ำ บวมเร็วอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้หากเกิดอุบัติเหตุที่รุนแรงจนมีแผลร่วมด้วย ผู้ป่วยไม่ควรประเมินและทำการรักษาแผลด้วยตัวเอง แต่ควรรีบปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาอย่างถูกวิธี เนื่องจากการสังเกตแต่เพียงเบื้องต้นไม่สามารถทำให้รู้ได้แน่ชัด เพราะหากบาดแผลที่เกิดขึ้นนั้นติดต่อกับกระดูกที่หักภายในอาจเป็นนำไปสู่การติดเชื้อที่กระดูกได้

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบ เมื่อกระดูกข้อมือหัก

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบ เมื่อกระดูกข้อมือหัก

ภาวะแทรกซ้อนทั่วไปที่อาจพบได้ คือเมื่อได้รับการรักษาอย่างผิดวิธี อาจจะทำให้กระดูกที่หักติดกันแบบผิดรูป ส่งผลทำให้เจ็บ ข้อมือใช้งานไม่ได้ตามปกติ ข้อมือและข้อนิ้วติด ทำให้เคลื่อนไหวได้ไม่เต็มที่ มีผลต่อการใช้งานในอนาคต หากบริเวณผิวข้อกระดูกอ่อนติดแบบไม่เรียบร้อย ในระยะยาวก็อาจทำให้ข้อเสื่อมตามมา

กระดูกหัก อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่ากระดูกพรุน

หากเกิดอุบัติเหตุแบบไม่รุนแรง เช่น การล้มจากระยะยืน ปกติกระดูกไม่ควรหัก แต่หากกระดูกข้อมือหักจากเหตุนี้เเล้ว อาจเป็นสัญญาณของอาการกระดูกบางหรือกระดูกพรุน นอกจากจะต้องรักษากระดูกที่หักแล้ว ยังต้องตรวจเพิ่มเติมด้วยการตรวจมวลกระดูกเพื่อหาภาวะกระดูกบางหรือพรุนที่ซ่อนอยู่

วินิจฉัยกระดูกข้อมือหัก ทำอย่างไรบ้าง

การวินิจฉัยเบื้องต้น แพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกาย หากสงสัยว่ากระดูกข้อมืออาจจะหัก จะส่งคนไข้ไปเอกซเรย์เพื่อดูว่ากระดูกข้อมือหักหรือร้าวบริเวณใดบ้าง

หากเอกซเรย์แล้วพบว่ารอยร้าวหรือรอยแตกตรงกระดูกข้อมือมีความซับซ้อนแพทย์ผู้รักษาอาจจะพิจารณาใช้เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) ร่วมวินิจฉัยด้วย เช่น ในกรณีที่กระดูกหักเข้าข้อ (intraarticular fracture) หรือกระดูกข้อมือ (carpal bones) แตกหัก ซึ่งในการรักษากระดูกหักเช่นนี้ต้องอาศัยความถี่ถ้วนในการวินิจฉัยและรักษา เพื่อให้กระดูกบริเวณข้อมือกลับมาเรียบตรงใกล้เคียงปกติ ซึ่งแพทย์ออร์โธปิดิกส์เฉพาะทางมือ จะมีความคุ้นเคยกับกระดูกบริเวณนี้ สามารถช่วยให้การวินิจฉัยและรักษาได้อย่างเหมาะสม

การรักษากระดูกข้อมือหัก

การรักษากระดูกข้อมือหัก

การรักษากระดูกข้อมือหัก แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือแบบไม่ผ่าตัด และแบบผ่าตัด โดยแพทย์จะพิจารณาว่ากระดูกข้อมือหักในการเคลื่อนที่ยอมรับได้หรือไม่ โดยการรักษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม มีรายละเอียดดังนี้

การรักษากระดูกข้อมือหัก แบบไม่ผ่าตัด

การรักษากระดูกข้อมือหักส่วนใหญ่สามารถทำได้โดยไม่ต้องผ่าตัด โดยการจัดกระดูกและใส่เฝือกข้อมือรักษา ซึ่งแพทย์จะต้องพิจารณาว่าเมื่อจัดกระดูกและใส่เฝือกข้อมือแล้วกระดูกอยู่ในแนวที่ยอมรับได้หรือไม่ หากแนวกระดูกดี และประเมินแล้วว่ากระดูกไม่น่าทรุดต่อ ก็จะใส่เฝือกต่อจนครบ 6 สัปดาห์ หลังจากถอดเฝือกข้อมือแล้วทำกายภาพบำบัดต่อสักระยะเพื่อรักษาข้อที่ยึดหลังการใส่เฝือก เพื่อให้บริเวณข้อมือกลับมาใช้งานได้อย่างปกติ ซึ่งหากผู้รักษาพิจารณาแล้วรักษาแบบนี้ได้ก็จะมีข้อดีในแง่ที่ไม่ต้องผ่าตัด แต่มีข้อจำกัดคือคนไข้ไม่สามารถขยับบริเวณแขนหรือข้อมือได้อย่างอิสระในช่วงเวลาที่ใส่เฝือกข้อมือ และยังต้องดูแลเฝือกในช่วงที่ใส่

การรักษากระดูกข้อมือหัก แบบผ่าตัด

การรักษากระดูกข้อมือหัก แบบผ่าตัด ทำในกรณีที่แพทย์วินิจฉัยแล้วว่ากระดูกที่แตกข้อไม่เรียบ แนวกระดูกยอมรับไม่ได้ หรือกระดูกที่หักมีความซับซ้อนไม่มั่นคง การรักษาด้วยการผ่าตัดมีความมุ่งหมายเพื่อเข้าไปจัดกระดูกให้ตรงและดามกระดูกไว้ ซึ่งทำได้หลายวิธีแต่วิธีที่เป็นที่นิยมและได้ผลดี คือการใส่แผ่นโลหะดามกระดูก มีข้อดีคือคนไข้สามารถเริ่มกลับมาใช้ข้อมือใกล้เคียงปกติได้เร็ว สามารถทำกายภาพควบคู่ไปได้เลยทันที โดยมีขั้นตอนการรักษา ดังนี้

  • แพทย์พิจารณาแล้วว่าข้อไม่เรียบ หักหรือร้าวเยอะ มีความซับซ้อน ไม่สามารถรักษาแบบไม่ผ่าตัดได้
  • แพทย์จะผ่าตัดจัดกระดูกและดามกระดูกโดยอุปกรณ์ยึดตรึงกระดูก  
  • หลังจากผ่าตัด คนไข้สามารถเริ่มกลับมาใช้ข้อมือเบาๆ ได้เลย

ที่ โรงพยาบาล KDMS เราดำเนินการรักษาและผ่าตัดโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านมือ ข้อมือ และแขน มีความเชี่ยวชาญกับกายวิภาคเฉพาะส่วน และมีประสบการณ์ในการรักษาการบาดเจ็บส่วนข้อมือ เราใช้ประสบการณ์เหล่านี้ในการรักษากระดูกข้อมือหัก ร่วมกับการใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม รวมถึงการใช้กล้องส่องข้อช่วยผ่าตัดเพิ่มเติม (arthroscopic assist) เพื่อตรวจสอบผิวข้อเเละข้อที่บาดเจ็บร่วมของเอ็นข้อในมือเมื่อจำเป็น เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยและกลับไปใช้ชีวิตใกล้เคียงปกติที่สุดได้โดยเร็ว

อ่านเพิ่มเติม: ไขข้อสงสัย ข้อมือหักต้องใส่เหล็กดามข้อมือกี่เดือน ถึงจะหายเป็นปกติ

กระดูกข้อมือหัก กับผลเสียในระยะยาว

กระดูกข้อมือหัก กับผลเสียในระยะยาว

ในกรณีที่กระดูกผิวข้อไม่เรียบหรือแนวกระดูกไม่ดี จะส่งผลเสียต่อการใช้งานข้อมือข้างนั้นในระยะยาวได้ เพิ่มความเสี่ยงให้ข้อเสื่อมและการขยับข้อมือบริเวณลดลง ดังนั้นการผ่าตัดรักษากระดูกกับหมอเฉพาะทางมือ แพทย์จะสร้างความมั่นใจว่าคนไข้สามารถทำกายภาพได้เต็มที่ บริเวณข้อมือสามารถกลับมาใช้งานได้จนใกล้ปกติมากที่สุด

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

สรุป

กระดูกข้อมือหัก เกิดจากอุบัติเหตุทั้งเล็กและใหญ่ มีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย และอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงโรคกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนได้ เมื่อกระดูกข้อมือหักจึงควรรับมืออย่างถูกวิธี รักษาอย่างถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมือ เพราะมีโอกาสที่กระดูกจะแตกหักหรือร้าวในบริเวณที่มองไม่เห็น หากปล่อยไว้อาจจะทำให้กระดูกติดแบบผิดรูป ผิวข้อต่อกันไม่เรียบ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของข้อมือในระยะยาว 

บทความโดย ผศ.นพ.ชินกาจ บุญญสิริกูล ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และแขน

พฤหัส, 02 พ.ค. 2024

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดคลายพังผืดที่กดทับเส้นประสาทที่ข้อมือผ่านการส่องกล้อง แผลเล็ก อยู่ในตำแหน่งข้อมือ ซึ่งไม่ขัดขวางการใช้งานของมือ ทำให้ฟื้นตัวกลับไปใช้งานได้เร็ว...
package 61,500* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
การผ่าตัดคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือ เพื่อรักษาอาการเจ็บ นิ้วงอเหยียดสะดุดจากโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และเเขน...
package 18,500* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
บทความอื่นๆ
ไขข้อสงสัย ข้อมือหักต้องใส่เหล็กดามข้อมือกี่เดือน ถึงจะหายเป็นปกติ
ไขข้อสงสัย ข้อมือหักต้องใส่เหล็กดามข้อมือกี่เดือน ถึงจะหายเป็นปกติ
กระดูกข้อมือหัก เกิดขึ้นได้อย่างไร สามารถรักษาได้ด้วยวิธีไหนบ้าง
กระดูกข้อมือหักมีอาการอย่างไร เกิดจากสาเหตุไหน และรักษาได้อย่างไร
การดูแลหลังผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมืออย่างถูกวิธี
การดูแลหลังผ่าตัดพังผืดทับเส้นประสาทที่ข้อมืออย่างถูกวิธี
“ปวดข้อศอก” รักษาให้หายได้ อย่าปล่อยไว้จนเรื้อรัง
top line