ไขข้อสงสัย ข้อมือหักต้องใส่เหล็กดามข้อมือกี่เดือน ถึงจะหายเป็นปกติ

ไขข้อสงสัย ข้อมือหักต้องใส่เหล็กดามข้อมือกี่เดือน ถึงจะหายเป็นปกติ

เมื่อคนไข้เข้ามารักษากระดูกข้อมือหัก ไม่ว่าจะเป็นจากอุบัติเหตุทั้งแบบทั่วไปและอุบัติเหตุรุนแรง หลังจากการผ่าตัดแล้ว คนไข้อาจสงสัยว่า หลังจากผ่าตัดข้อมือหักต้องใส่โลหะกี่เดือน รักษาตัวกี่เดือนจึงจะหายเป็นปกติ บทความนี้จะพาไปไขข้อข้องใจว่ามีกระบวนการฟื้นฟูหลังผ่าตัดกระดูกข้อมือหักอย่างไร ต้องดูแลตัวเองอย่างไรบ้าง พร้อมท่ากายภาพภายหลังผ่าตัดเพื่อให้กลับมาใช้งานข้อมือได้อย่างใกล้เคียงตลอดจนกลับมาเป็นปกติมากที่สุด

การผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหัก สำคัญอย่างไร?

การผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหัก สำคัญอย่างไร?

การรักษาอาการข้อมือหักให้ดีมีสำคัญอย่างมาก เพราะหากปล่อยไว้กระดูกข้อมือที่หักอาจจะเคลื่อนจนกระดูกติดผิดรูป การเคลื่อนไหวของคนไข้ทำได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้ใช้ชีวิตประจำวันลำบาก และอาจมีอาการเจ็บร่วมด้วย ยิ่งปล่อยไว้นานก็อาจจะส่งผลให้ข้อเสื่อมในอนาคตได้

อ่านเพิ่มเติม: กระดูกข้อมือหักรักษาอย่างไร? หากปล่อยเอาไว้ มีอันตรายกว่าที่คิด!

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

ข้อมือหักต้องใส่เหล็กดามกระดูกกี่เดือน ถึงจะหายเป็นปกติ

ไม่ต้องกังวลว่าข้อมือหักกี่เดือนหาย ต้องใส่เหล็กดามกระดูกกี่เดือน หรือหลังการผ่าตัดจะสามารถใช้งานมือได้เลยหรือไม่? เนื่องจากโดยส่วนใหญ่หากการผ่าตัดนั้นสามารถดามกระดูกได้เเข็งเเรง กระดูกไม่เปราะบาง และไม่มีการบาดเจ็บอื่นร่วม ผู้ป่วยสามารถใช้งานมือเบาๆ ตั้งแต่วันแรกๆ ของการผ่าตัด สามารถค่อยๆเริ่มทำกิจวัตรประจำวันได้ เช่น ทำงานในคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์ รับประทานอาหาร อาบน้ำเเต่งตัว หลังจากผ่าตัดเเล้วจะเริ่มการฟื้นฟูโดยเน้นการลดอาการบวม เพิ่มการขยับข้อมือเเละนิ้ว โดยปกติแล้วกระดูกข้อมือที่หักจะใช้เวลาประมาณ 6 สัปดาห์ ถึงจะติดกัน ส่วนแผ่นเหล็กดามนั้นไม่จำเป็นต้องเอาออก

กระบวนการฟื้นฟูหลังผ่าตัดข้อมือหักเป็นอย่างไร กี่เดือนหาย?

กระบวนการฟื้นฟูหลังผ่าตัดข้อมือหักเป็นอย่างไร กี่เดือนหาย?

กระบวนการฟื้นฟูหลังผ่าตัดข้อมือหักสามารถแบ่งกระบวนการฟื้นฟูออกมาเป็น 3 ช่วงเวลา ดังนี้

  • หลังผ่าตัดกระดูกข้อมือหักประมาณ 1-2 สัปดาห์แรก จะมีอาการบวม ตึง บริเวณที่ผ่าตัด แนะนำให้ผู้ป่วยใช้ข้อมือข้างที่ผ่าตัดบ่อยๆ เพื่อให้หายบวมตึง โดยสามารถเริ่มขยับข้อมือ ข้อนิ้ว ได้ตั้งแต่วันแรกหลังผ่าตัดได้เลย
  • หลังผ่าตัดกระดูกข้อมือหักประมาณ 2-6 สัปดาห์ ช่วงนี้มักจะไม่บวมและแผลหายดีแล้ว การฟื้นฟูจะเริ่มเน้นการขยับของข้อให้ได้มากที่สุด และฝึกการใช้มือในชีวิตประจำวันให้ได้มากขึ้น
  • หลังจากกระดูกติด การขยับของข้อช่วงนี้มักจะใกล้เคียงปกติเเล้ว ดังนั้นช่วงนี้จะเริ่มให้ฝึกกำลังมือเเละข้อมือให้ออกเเรงได้ใกล้กับก่อนบาดเจ็บ

ข้อควรระวังหลังการผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหัก

การใช้งานหลังผ่าตัดควรทำตามคำแนะนำของเเพทย์ ข้อควรระวังหลังการรักษาที่สำคัญ คือ การไม่ทำกายภาพบำบัด เพราะหลังจากที่ผ่าตัดรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว คนไข้บางคนมักจะกลัวการเจ็บ จึงไม่กล้าขยับบริเวณข้อมือ แต่ถ้าไม่ขยับตามคำแนะนำจะทำให้มือเเละเเขนยิ่งบวม ข้อยิ่งติด และหายช้า 

ดังนั้น ให้พยายามใช้มือบ่อยๆ หลังการรักษา และหมั่นทำกายภาพบำบัดด้วยตัวเอง เพื่อให้ข้อมือหายกลับมาเป็นปกติได้เร็ว ซึ่งหลังการผ่าตัดแพทย์จะนัดคนไข้มาทำกายภาพบำบัด ควบคู่ไปกับแนะนำท่ากายภาพบำบัดให้ผู้ป่วยทำบ้านควบคู่ไปด้วย เพื่อกระบวนการฟื้นฟูที่รวดเร็วยิ่งขึ้น 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังข้อมือหัก

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้หลังข้อมือหัก

ภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัด ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั่วไป มีดังนี้

  • ข้อติดยึด เกิดขึ้นเสมอจากการบาดเจ็บหรือผ่าตัดบริเวณใกล้ข้อมือ สามารถป้องกันและรักษาด้วยการหมั่นยืดเหยียดอย่างสม่ำเสมอ
  • กระดูกไม่ติด แนะนำให้งดปัจจัยที่ทำให้ให้กระดูกไม่ติด เช่น การสูบบุหรี่
  • ติดเชื้อหลังผ่าตัด เกิดขึ้นได้หลังการผ่าตัดทั่วไปทุกชนิด แต่มีโอกาสเกิดน้อย

กระดูกข้อมือหัก รักษากี่เดือนจึงออกกำลังกายได้

หลังการผ่าตัด คนไข้สามารถออกกำลังกายที่ไม่ใช้มือได้ทันที เช่นการเดิน การวิ่ง แต่แพทย์แนะนำให้รอจนกระดูกติดดีก่อนแล้วค่อยออกกำลังกายที่ต้องใช้มือโดยตรง เช่น แบดมินตัน ตีกอล์ฟ

ท่ากายภาพหลังจากการผ่าตัดข้อมือหัก

ท่ากายภาพหลังจากการผ่าตัดข้อมือหัก

แพทย์แนะนำท่ากายภาพหลังผ่าตัดข้อมือหัก โดยคนไข้สามารถทำท่ากายภาพเบาๆ อย่างท่า Six Pack Exercise โดยประกอบไปด้วยท่าดังนี้

  • Arrow ยืดนิ้วให้ตรงที่สุด จากนั้นเคลื่อนนิ้วหัวแม่มือออกมาเล็กน้อยให้ลักษณะมือเหมือนกับลูกศรคว่ำ
  • Table-top ทำนิ้วให้ตรง จากนั้นงอข้อนิ้วทั้งสี่มาด้านหน้า ในขณะที่ปลายนิ้วยังเหยียดตรงอยู่
  • Claw ทำนิ้วและข้อมือให้ตรงเหมือนเดิม จากนั้นงอนิ้วทั้งห้าลงมา ให้เหมือนกับท่ากางกรงเล็บ
  • Fist กำหมัด โดยให้ข้อต่อนิ้วแต่ละข้องอให้ได้มากที่สุด
  • In and Out ทำนิ้วให้ตรงที่สุด จากนั้นกางนิ้วมือและหุบนิ้วมือสลับไปมา
  • Thumb to Tip ใช้ปลายนิ้วหัวเเม่มือเเตะปลายนิ้วเเต่ละนิ้วไล่เรียงกันไปจนถึงนิ้วก้อย 

นัดหมายแพทย์เพื่อปรึกษา และวินิจฉัยอาการได้ที่ 02-080-8999
Line @kdmshospital

https://lin.ee/PkZ8mk9

สรุป

การผ่าตัดรักษากระดูกข้อมือหักนั้นแพทย์จะพิจารณาเมื่อจำเป็น ซึ่งจะช่วยให้กระดูกเข้ารูป และกลับมาใช้งานได้ ข้อกังวลที่ว่าหลังผ่าตัดกระดูกข้อมือหัก จะรักษานานไหม และต้องใส่เหล็กนานเท่าไหร่ถึงจะหาย เพราะมีเหตุจำเป็นที่ต้องใช้มือ ไม่ต้องกังวลไป เพราะส่วนใหญ่เเล้วหลังการดามกระดูกหากดามได้เเข็งเเรงดีก็สามารถใช้งานข้อมือเบาๆ ได้หลังจากผ่าตัด 1-2 วัน ส่วนรอยหักนั้นจะติดกันเองราว 6 สัปดาห์ โดยระหว่างนั้น ผู้ป่วยสามารถทำกายภาพบำบัดตามที่แพทย์แนะนำเพื่อให้การเคลื่อนไหวและแรงของข้อมือฟื้นตัวกลับมา

บทความโดย ผศ.นพ.ชินกาจ บุญญสิริกูล ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ เฉพาะทางด้านมือ  

พฤหัส, 02 พ.ค. 2024

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
การผ่าตัดคลายพังผืดที่กดทับเส้นประสาทที่ข้อมือผ่านการส่องกล้อง แผลเล็ก อยู่ในตำแหน่งข้อมือ ซึ่งไม่ขัดขวางการใช้งานของมือ ทำให้ฟื้นตัวกลับไปใช้งานได้เร็ว...
package 61,500* บาท
package สิ้นสุด 30/09/2024
การผ่าตัดคลายปลอกหุ้มเส้นเอ็นนิ้วมือ เพื่อรักษาอาการเจ็บ นิ้วงอเหยียดสะดุดจากโรคนิ้วล็อก (Trigger Finger) โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านมือ ข้อมือ และเเขน...
package 18,500* บาท
package สิ้นสุด 30/09/2024
บทความอื่นๆ
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
Ganglion Cyst ก้อนถุงน้ำที่ข้อมือ เกิดจากอะไร พร้อมแนวทางรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
รู้เท่าทันอาการ Tennis Elbow คืออะไร หาสาเหตุพร้อมวิธีรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
กระดูกต้นแขนหัก กับการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และแนวทางการรักษา
กระดูกแขนติดผิดรูป พร้อมแนวทางรักษาเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ
กระดูกแขนติดผิดรูป พร้อมแนวทางรักษาเพื่อให้กลับมาใช้งานได้ปกติ
top line