อาการกล้ามเนื้อฉีกขาด พร้อมแนวทางการรักษาและวิธีฟื้นฟู

กล้ามเนื้อฉีกขาด

อาการกล้ามเนื้อฉีกขาดเป็นภาวะที่เกิดจากกล้ามเนื้อยืดเหยียดมากจนเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อฉีก และมีอาการปวด และบวมตามมา ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบาก ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดขึ้นกับนักกีฬา หรือผู้ที่เคลื่อนไหวท่าเดิมซ้ำๆ 

สำหรับใครที่เข้าข่ายจะกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ง่าย บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ อาการ การรักษา รวมถึง การฟื้นฟูกล้ามเนื้อฉีกมาให้อ่านกัน

อาการกล้ามเนื้อฉีกขาดที่มากกว่าแค่ปวด

อาการกล้ามเนื้อฉีกขาดที่มากกว่าแค่ปวด

กล้ามเนื้อฉีกขาดเป็นอาการที่กล้ามเนื้อมีการยืดเหยียดมากเกินไป จนทำให้เกิดการฉีกขาด และเกิดเลือดเลือดคั่งอยู่ในบริเวณดังกล่าว ส่งผลให้เกิดอาการปวดตึงในบริเวณนั้นๆ และบริเวณกล้ามเนื้อมัดข้างๆ ร่วมด้วย 

โดยส่วนใหญ่แล้ว บริเวณที่กล้ามเนื้อฉีกนั้น มักจะพบบ่อยในกล้ามเนื้อที่ใช้งานเป็นประจำ ที่สำคัญพบได้ในกล้ามเนื้อขามากกว่ากล้ามเนื้อแขน โดยเฉพาะกล้ามเนื้อโคนขาหลังที่จะพบได้บ่อยเป็นพิเศษ นอกจากอาการปวดแล้ว กล้ามเนื้อฉีกขาดยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ดังนี้

  • มีอาการปวดตึง
  • เกิดรอยบุ๋มบริเวณที่ฉีกขาด
  • รอยเขียวช้ำ (Bruise) ในช่วง 2-3 วันแรก

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาด

สาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาด

สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อฉีกขาดนั้น เกิดได้จากหลายๆ ปัจจัย ทั้งอุบัติเหตุ การเคลื่อนไหวท่าเดิมซ้ำๆ ตลอดจนไม่วอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกาย ดังนี้

เกิดจากการบาดเจ็บ

เมื่อเกิดอุบัติเหตุที่ถูกชนหรือกระแทกเข้าอย่างแรงๆ จนทำให้เกิดการบาดเจ็บ หรืออยู่ๆ ก็ยืดหรือเหยียดอย่างรวดเร็ว อาจเป็นจังหวะที่ทำให้เกิดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ อย่างกระทันหัน จนทำให้กล้ามเนื้อฉีกได้

สาเหตุที่มาจากการออกกำลังกาย

โดยปกติการออกกำลังกายควรเริ่มจากเคลื่อนไหวร่างกายแบบเบาๆ ก่อน เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อเกิดการตื่นตัว แล้วค่อยเร่งจังหวะหรือความเข้มข้นในการออกกำลังกายขึ้นเรื่อยๆ แต่สำหรับผู้ที่เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วในทันที อาจทำให้เกิดแรงกระชากจนกล้ามเนื้อหดตัว จนกล้ามเนื้อฉีกขาดได้ โดยเฉพาะการออกวิ่งแบบสปรินท์ตั้งแต่ครั้งแรกที่ออกกำลังกาย 

การเคลื่อนไหวท่าเดิมซ้ำ

การเคลื่อนไหวในท่าเดิมซ้ำๆ เช่น การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การงอหรือเหยียดข้อศอก และหัวไหล่ตลอดเวลา อย่างในการเล่นกีฬาเทนนิส หรือเบสบอล จะทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเกิดการเสียดสีกับกระดูกที่อยู่ใกล้ๆ อย่างสม่ำเสมอ หรือเกิดการเสียดสีเป็นเวลานาน จนทำให้กล้ามเนื้อฉีกขาดตามมาได้

วอร์มไม่เพียงพอ

โดยปกติแล้วก่อนออกกำลังกายควรยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือวอร์มร่างกายด้วยการวิ่งเบาๆ ก่อน เพื่อให้อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นต่างๆ จะได้เกิดการยืดเหยียดมากขึ้น เมื่อออกกำลังกายกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นจะมีความยืดหยุ่น และสามารถยืดเหยียดได้อย่างเต็มที่ ที่สำคัญการวอร์มร่างกายยังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอาการกล้ามเนื้อฉีกได้มากถึง 10-20% เลยทีเดียว

ดังนั้น หากไม่วอร์มก่อนเริ่มออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวแบบเฉียบพลันในระหว่างที่กล้ามเนื้อยังตึงอยู่ ก็จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬาตามมาได้

ระดับความรุนแรงของกล้ามเนื้อฉีกขาดที่ควรรู้

อาการกล้ามเนื้อฉีกนั้น เป็นอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ที่มีระดับการบาดเจ็บที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับ ดังนี้ 

  • Grade I สำหรับกล้ามเนื้อฉีกในระดับความรุนแรงที่ 1 จะเป็นการฉีกขาดของไฟเบอร์เล็กๆ ของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีก ซึ่งจะไม่มีรอยเขียวช้ำให้เห็น แต่หากมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อเพิ่ม ก็จะทำให้เกิดอาการปวดเพิ่มขึ้น
  • Grade II ความรุนแรงของกล้ามเนื้อฉีกในระดับ 2 กล้ามเนื้อจะฉีกขาดไม่เกิน 50% ของความหนานแน่น แต่จะเห็นรอยบุ๋มจากการฉีกขาด หรือมีรอบเขียวช้ำตามผิวหนังหลังจากนั้น 2-3 วัน
  • Grade III ระดับที่ 3 เป็นระดับอาการกล้ามเนื้อฉีกที่รุนแรงที่สุด โดยในระดับนี้จะมีการฉีกขาดของกล้ามเนื้อมากกว่า 50% อีกทั้งมีรอยบุ๋มที่เห็นได้ชัดเจน นอกจากนี้ แรงในการต้านของกล้ามเนื้อมัดที่ฉีกขาดยังลดลงอีกด้วย

การปฐมพบายาลเบื้องต้นเมื่อกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด

การปฐมพบายาลเบื้องต้นเมื่อกล้ามเนื้อเกิดการฉีกขาด

ภาวะกล้ามเนื้อฉีกขาดเป็นภาวะที่เกิดขึ้นแบบฉับพลัน หากมีการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องจะช่วยลดความรุนแรงในการบาดเจ็บได้เป็นอย่างดี ซึ่งในทางการแพทย์จะมีตัวย่อที่เรียกกันอย่างง่ายๆ ว่า RICE ที่ย่อมาจากภาษาอังกฤษ 4 คำ ดังนี้

  • Rest หรือการพัก เมื่อกล้ามเนื้อฉีกขาดสิ่งแรกที่ควรทำคือการพัก เพราะยิ่งขยับมากจะยิ่งเพิ่มอาการบาดเจ็บบริเวณที่ฉีกขาดได้ ซึ่งจะทำให้เลือดออกมากขึ้น จนทำให้เกิดอาการบวม นอกจากนี้ หากยิ่งขยับจะทำให้ตำแหน่งที่ต่ำกว่าบริเวณที่บาดเจ็บเลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงได้ไม่เต็มที่จนเกิดอาการบวมมากขึ้นอีก
  • Ice หลังจากที่พักแล้ว สิ่งที่ควรทำต่อมา คือ การประคบเย็น ยิ่งประคบเย็นได้เร็วเท่าไรยิ่งดี โดยควรทำภายใน 48-72 ชั่วโมงแรกหลังเกิดการบาดเจ็บ เพราะการประคบเย็นจะช่วยให้กล้ามเนื้อบริเวณนั้นๆ หดตัว และช่วยให้เลือดหยุดไหลได้
  • Compression เป็นการใช้ผ้ายางยืดพันบริเวณที่ฉีกขาด เพื่อประคองไม่ให้มีการฉีกขาดมากขึ้น ที่สำคัญการพันผ้ายางยืดยังช่วยกดให้เลือดออกน้อยลง ซึ่งช่วยลดอาการบวมได้ด้วย
  • Elevation เป็นขั้นตอนการปฐมพยาบาลที่ต้องยกบริเวณที่บาดเจ็บไว้สูงกว่าระดับหัวใจในท่านอน เพื่อไม่ให้เลือดออกมากขึ้น และไม่ทำให้เกิดอาการบวม

สำหรับวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเหล่านี้เป็นการทุเลาอาการในช่วงแรกๆ ที่เกิดการบาดเจ็บ หลังจากนี้ควรเข้าพบแพทย์ เพื่อทำการประเมินอาการ และทำการรักษาในทันที

วิธีการรักษา และการฟื้นฟูกล้ามเนื้อฉีกขาด

สำหรับวิธีรักษากล้ามเนื้อฉีกนั้นขึ้นอยู่กับการประเมินอาการของแพทย์ ว่ากล้ามเนื้อฉีกรุนแรงในระดับใด หากกล้ามเนื้อฉีกในระดับที่ 1-2 แพทย์มักจะรักษาด้วยการประคับประคอง แต่หากกล้ามเนื้อฉีกรุนแรงในระดับ 3 แพทย์มักจะทำการผ่าตัด เพื่อซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่ฉีกขาด โดยการรักษา และฟื้นฟูกล้ามเนื้อฉีก มีหลายวิธีการ ดังนี้

การกินยา หรือฉีดยา ลดอาการปวด บวม

เมื่อกล้ามเนื้อฉีก ร่างกายจะเกิดกระบวนการอักเสบ ที่จะทำให้มีอาการปวดและบวม การกินยาจึงเป็นวิธีรักษากล้ามเนื้อฉีกในระดับแรกที่แพทย์เลือกใช้ โดยแพทย์มักจะจ่ายยากลุ่มต้านอักเสบในช่วง 3-5 วันแรกที่เกิดอาการ โดยจะไม่เกิน 7 วัน 

หากแพทย์ประเมินแล้วว่ากระบวนการอักเสบมีมากเกินไป แพทย์ก็จะทำการฉีดยาเพื่อบรรเทาอาการปวด พร้อมๆ กับการกินยาควบคู่กันไป แต่ปริมาณยาต้องกินตามที่แพทย์สั่งเท่านั้น ไม่ลดหรือเพิ่มปริมาณยาด้วยตัวเอง เพราะหากรับประทานยามากไป อาจทำให้เกิดการชะลอการซ่อมแซมของกล้ามเนื้อได้ 

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

เวชศาสตร์ฟื้นฟู

เวชศาสตร์ฟื้นฟูเป็นศาสตร์ทางการแพทย์แขนงหนึ่ง ที่เน้นการดูแลรักษาและฟื้นฟูสภาพร่างกายให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งกล้ามเนื้อฉีกขาดสามารถทำกายภาพบำบัดได้ตั้งแต่ 2-3 วันแรก เพราะจะช่วยควบคุมกระบวนการอักเสบ หากกล้ามเนื้อฉีกรุนแรงระดับ 1-2 แพทย์มักจะแนะนำให้กายภาพบำบัดแบบประคับประคอง โดยจะมีนักกายภาพสอนท่ายืดเหยียดที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดพังผืด นอกจากนี้ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อยิ่งเร็วยิ่งช่วยให้กล้ามเนื้อมีการเรียงตัวคล้ายเดิมมากที่สุด ซึ่งช่วยให้เคลื่อนไหวได้อย่างเหมาะสม

ผ่าตัด

ผ่าตัด

ในกรณีที่กล้ามเนื้อฉีกขาดรุนแรงแพทย์ อาจแนะนำให้ทำการผ่าตัด ซึ่งเป็นการเย็บซ่อมแซม โดยเอาเส้นเอ็นที่ขาดมาเย็บเชื่อมกัน ซึ่งระยะเวลาที่กล้ามเนื้อฉีกขาดกี่วันหายนั้น ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ฉีกขาด ระยะ และอาการของโรค 

หากกล้ามเนื้อที่เกิดการฉีกขาดเป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่จะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งในระหว่างที่พักฟื้น จำเป็นต้องมีการฟื้นฟูกล้ามเนื้อฉีกร่วมกันไปด้วย โดยการขยับข้อบริเวณที่ฉีกขาด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการข้อติด นอกจากนี้ ยังมีการใช้เครื่องมือต่างๆ ช่วยฟื้นฟูได้ด้วย ซึ่งการกายภาพทำให้เกิดการเรียงตัวของกล้ามเนื้อใกล้เคียงปกติมากที่สุด ส่งผลให้การใช้งานกลับมาปกติมากขึ้น ซึ่งทางทีมกายภาพมีส่วนสำคัญเช่นกันในการฟื้นฟูอาการบาดเจ็บ นอกจากนี้ อาจใช้เครื่องมืออื่นๆ เช่น อัลตราซาวนด์ หรือเลเซอร์ เพื่อกระตุ้นให้กล้ามเนื้อในบริเวณนั้นๆ ซ่อมแซมและฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

ป้องกันกล้ามเนื้อฉีกได้ง่ายๆ ด้วยวิธีเหล่านี้

กล้ามเนื้อฉีกขาดนั้นเป็นอาการที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งวิธีป้องกันไม่ให้เกิดอาการกล้ามเนื้อฉีกนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้

  • วอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายเสมอ 15-20 นาที
  • คูลดาวน์หลังออกกำลังกายทุกครั้ง เพื่อลดการแข็งตัวของกล้ามเนื้อ และไม่ทำให้เกิดตะคริว
  • ไม่ควรอยู่ในท่าเดิมซ้ำๆ เพื่อลดอาการตึงตัวของกล้ามเนื้อ
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อลดแรงกดทับ
  • ยกของในท่าทางที่ถูกต้อง เพื่อลดการตึงตัวของกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อฉีกขาดเป็นอาการบาดเจ็บบริเวณกล้ามเนื้อ ที่เกิดจากการเคลื่อนไหวบริเวณเดิมซ้ำๆ และการออกกำลังกายผิดท่า ทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเหยียดตึงและฉีกขาดในที่สุด ซึ่งอาการกล้ามเนื้อฉีกจะมีอาการปวด บวม และแดง สำหรับผู้ที่มีอาการกล้ามเนื้อฉีกจะเคลื่อนไหวได้ลำบาก นอกจากนี้ อาจมีรอยเขียวช้ำด้วย โดยปกติแล้ววิธีรักษากล้ามเนื้อฉีกแพทย์มักจะจ่ายยาบรรเทาอาการปวด ฉีกยาลดปวด แต่หากอาการรุนแรงมากๆ อาจต้องใช้การผ่าตัดเข้าช่วย นอกจากนี้ ขณะที่พักฟื้นควรมีการฟื้นฟูกล้ามเนื้อฉีกให้ถูกต้อง เพื่อให้กล้ามเนื้อเกิดการเรียงตัว และใช้งานได้อย่างปกติเหมือนเดิม

บทความโดย : พ.อ.ผศ.นพ.ณัฏฐา กุลกำม์ธร ศัลยแพทย์ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่

อังคาร, 29 พ.ย. 2022
แพทย์ที่เกี่ยวข้อง

แพ็กเกจและโปรโมชั่นที่เกี่ยวข้อง
ผ่าตัดส่องกล้องข้อเข่าจากอาการบาดเจ็บ เช่น เอ็นไขว้หน้าฉีกขาด (ACL Injury) หรือโรคเกี่ยวกับข้อเข่าอื่นๆ โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่...
package 245,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
ผ่าตัดส่องกล้องข้อไหล่ เพื่อรักษาอาการเอ็นข้อไหล่ฉีกขาด (Rotator Cuff Tear), ข้อไหล่เสื่อม หรือโรคเกี่ยวกับข้อไหล่อื่นๆ โดยทีมศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านเวชศาสตร์การกีฬาและข้อไหล่...
package 275,000* บาท
package สิ้นสุด 30/06/2024
บทความอื่นๆ
เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบคืออะไร? อาการบาดเจ็บที่คนชอบออกกำลังกายควรรู้ไว้
เอ็นต้นขาด้านข้างอักเสบคือ? คนออกกำลังกายควรรู้
ข้อเท้าหักต้องรักษาอย่างไร ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
ข้อเท้าหักต้องรักษาอย่างไร ให้กลับมาเดินได้อีกครั้ง
กล้ามเนื้อฉีกขาด
อาการกล้ามเนื้อฉีกขาด พร้อมแนวทางการรักษาและวิธีฟื้นฟู
กล้ามเนื้ออักเสบ รักษา
ตอบทุกข้อสงสัย! ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออักเสบ รักษาอย่างไร?
top line

Login